พลวัตของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความท้าทายให้กับองค์กรในการเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ส่งผลให้หลายองค์กรกำหนดนโยบายในการทำ Digital Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หลายองค์กรไม่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation เนื่องจากไม่มีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มาเร็วก่อนกาล หลายองค์กรเลือกเครื่องมือทางดิจิทัลที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าแท้จริง ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่มีประสิทธิผล
การทำ Digital Transformation อาจไม่ได้หมายถึงการที่องค์กรจะต้องลงทุนเพื่อซื้อระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ซื้ออุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว การนำทรัพยากรข้อมูลที่เป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าที่่มีอยู่แล้วในองค์กร หรือข้อมูลองค์ความรู้ เกร็ดสาระ อัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ ผ่านบทความที่น่าสนใจ ใน Smart Digital Insights สรรสาระแห่งเทคโนโลยี ที่จะเป็นดั่งคลังความรู้ จุดประกายให้องค์กรของท่านใช้เป็นแนวทาง เพื่อทำให้ Digital Transformation Journey ขององค์กรท่านประสบความสำเร็จลุล่วงได้ดังที่หวัง
เมื่อนำองค์ความรู้ มาผนวกรวมกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีดิจิทัล ผสานความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อดึงศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด สร้างประสบการณ์ที่ดี และส่งมอบสินค้า บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีเยียม คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กรธุรกิจอย่างยั่งยืน
เมื่อพูดถึงการผลิตยุคใหม่ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจจะเป็นหุ่นยนต์ 6 แกน เครื่อง CNC หรือนึกถึงสายพานอัตโนมัติ ไปจนถึงเครื่อง CMM ซึ่งก็เป็นภาพของเทคโนโลยีกายภาพที่ทุกคนจดจำได้ดี แต่ถ้าเราพูดกันถึงระบบหลังบ้านที่ทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานเข้าขากันได้ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การจัดเก็บข้อมูล แพลตฟอร์มออนไลน์ ไปจนถึง ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการต่าง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่ามีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมูลค่าสูงไม่แพ้เทคโนโลยีกายภาพที่กล่าวถึงในตอนแรก ซึ่งเดิมทีการวางรากฐานระบบนิเวศของเทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิตเป็นสิ่งที่มีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก และการลงทุนก็มีความซับซ้อนตลอดจนมูลค่าที่สูง แต่ในวันนี้ด้วย 5G Ecosystem และโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่ AIS Business และพันธมิตรร่วมมือกันพัฒนาขึ้นมาจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและลดต้นทุนให้กับระบบนิเวศดิจิทัล ทำให้ทุกโรงงานที่ต้องการทำ Digital Transformation หรือเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้จริงบนพื้นฐานของความคุ้มค่าและเรียบง่าย
รายละเอียดเพิ่มเติมการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 เป็นหนึ่งในนโยบายของ Thailand 4.0 ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนสถานะของประเทศไทย ให้กลายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” และในวารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ได้ระบุว่า “ Thailand 4.0 เปรียบดังเข็มทิศขนาดใหญ่ที่จะนำพาประเทศให้พัฒนาเทียบเท่าประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว ได้อย่างสมภาคภูมิ”
รายละเอียดเพิ่มเติมปัจจุบันเทรนด์การดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้มุ่งเน้นที่การสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไปเหมือนในอดีต โดยศูนย์วิจัยธนาคารกรุงเทพ ได้ทำการศึกษาและพบว่า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการอาคารอัจฉริยะด้วยแนวคิด Environment, Social, Governance หรือ ESG มากขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักลงทุน และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก
รายละเอียดเพิ่มเติมแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกในปี 2024 และปีต่อ ๆ ไปจะเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งของธุรกิจค้าปลีก คือ E-commerce ที่มีแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดังนั้นในปีนี้ธุรกิจค้าปลีกควรเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านจากการขายแบบเดิมไปสู่การขายแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มสัดส่วนในตลาด และรักษาลูกค้ากลุ่มเดิมเอาไว้
รายละเอียดเพิ่มเติมตลาดอสังหาริมทรัพย์กลายเป็นที่จับตามองท่ามกลางกระแสการเติบโตอย่างเต็มที่ของเทคโนโลยี ว่าในปี 2567 เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในธรุกิจกลุ่มนี้อย่างไร เพราะเมื่อโลกเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนตาม ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจใช้แผนการเดิมเพื่อดึงดูดผู้บริโภคได้อีกต่อไป ความจำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ คือ การเร่งหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อรองรับพฤติกรรมและความต้องการซื้อของลูกค้า
รายละเอียดเพิ่มเติมคลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม
รายละเอียดเพิ่มเติมเริ่มนับถอยหลังเข้าสู่ปี 2024 และเป็นการเริ่มต้นเปิดกล่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังจะออกมาพลิกโฉมวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยมีข้อมูลจากสภาหอการค้าไทยได้ระบุว่า “บริบทของเวทีโลกนับจากนี้ไป เทคโนโลยีคือสิ่งที่ควรค่าแก่การได้รับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มากกว่าที่จะปล่อยให้คงสภาพเดิม โดยเฉพาะความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI” จึงเป็นเครื่องยืนยันได้แน่นอนว่า ในปี 2024 เทรนด์เทคโนโลยี AI จะเป็นหนึ่งในหลากหลายเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานในธุรกิจเพื่อตอบรับความสนใจที่เป็นภาพรวมใหญ่ของเวทีโลก
รายละเอียดเพิ่มเติมจากดัชนีอาหารโลกที่แสดงให้เห็นว่า ราคาอาหารโลกยังคงมีการดีดตัวสูงขึ้นจากช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดือนกันยายนของปี 2565 กับเดือนกันยายน 2566 ราคาอาหารโลกมีความแตกต่างกันเพียง 0.8 % เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 30 ปีที่ได้มีการเก็บรวบรวมสถิติมา
รายละเอียดเพิ่มเติมการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเพียงช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดการแยกจากกันไม่ได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่นี้ ได้สร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก และมอบโอกาสให้ทุกธุรกิจได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนสูง สร้างเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความมั่นคงและทันสมัย ซึ่งถ้าหากมองในมุมกลับกัน หากบุคคลหรือธุรกิจใดไม่สามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี หรือไม่มีการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยี ก็มีความเสี่ยงที่จะล้าหลังคู่แข่งหรือผู้คนในสังคมได้ ดังนั้นเพื่อพาทุกคนร่วมเดินทางไปสู่อนาคต เรามาอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีปี 2024 ด้วยกันว่า ธุรกิจต่าง ๆ จะมีเทคโนโลยีใดเป็นตัวช่วยกำหนดอนาคตได้บ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเราพูดถึงแนวคิดของ Smart Manufacturing นั้นเรามักจะนึกถึงเรื่องของการใช้เทคโนโลยีและความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำงานได้อย่างเป็นอัตโนมัติ หรือนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เสริมกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการกันเป็นหลัก
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ E-Commerce ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รวมไปถึงธุรกิจคลังสินค้าได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หน่วยงานในกำกับของ กระทรวงพาณิชย์ ได้ระบุว่า ในเดือนกรกฎาคม 2566 มีผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์รายใหม่เพิ่มสูงขึ้นถึง 17.9% โดยเฉพาะธุรกิจคลังสินค้าที่กลายเป็นดาวเด่นที่มีนักลงทุนให้ความสนใจและเข้าสู่สนามธุรกิจ จนกลายเป็นภาพของการแข่งขันที่มีความจริงจังมากขึ้น และเหตุผลของการปรับตัวอย่างรวดเร็วนี้ เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการซื้อและคำสั่งซื้อบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด อุตสาหกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานนี้จึงเกิดการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่เกิดขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยกำลังกลายเป็นที่จับตามอง จากรายงานของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาประเมินว่า ภายในปี 2565-2567 ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนของประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 3-5% สอดคล้องกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หน่วยงานในกำกับของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยทั้งหมดในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นมูลค่า 827.12 ล้านบาท หรือ 9.97% ของการลงทุนในประเทศ
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2566 ธุรกิจค้าปลีกเริ่มส่งสัญญาณของการเติบโตที่ดีขึ้น ถึงแม้ทิศทางจะมีรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็นับว่าไม่ได้ตกเทรนด์ไปจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยอ้างอิงจากข้อมูลของศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2566 ธุรกิจค้าปลีกของไทยจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 2.8-3.6% จากปี 2565 เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่กลับมาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตและการให้บริการที่แม้ยังคงมีต้นทุนสูงอยู่ แต่ก็สามารถค่อย ๆ เติบโตไปได้
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติของอุตสาหกรรมการผลิต การเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มต้นขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเร่งตัวเองมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนในหลาย ๆ ด้านที่ส่งผลให้อุปสงค์เกิดความไม่แน่นอน ด้วยหลากหลายปัจจัยนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่างตัดสินใจ Transform ธุรกิจสู่ความเป็นดิจิทัล เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและให้เพื่อธุรกิจยืดหยุ่นต่อความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมการผลิตดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนในวันนี้หลายองค์กรได้ยกระดับตนเองไปสู่การเป็น Smart Manufacturing อย่างเต็มตัว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่องค์กรของคุณควรเดินหน้าสู่ Smart Manufacturing เพื่อสร้างศักยภาพใหม่ในการแข่งขันบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมการขนส่งและโลจิสติกส์นั้นถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจองค์กรและอุตสาหกรรมโรงงานและการผลิตสามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตได้อย่างมั่นคง อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ภาคขนส่งและโลจิสติกส์นั้นกลายเป็นส่วนแรกๆ ในหลายธุรกิจที่มีเป้าหมายในการทำ Digital Transformation ที่มีผลลัพธ์เด่นชัด
รายละเอียดเพิ่มเติมการเติบโตอย่างฉุดไม่อยู่ของเทคโนโลยี อาจทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกตั้งคำถามว่า จะอยู่รอดภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ได้อย่างไร ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามนี้ไม่ยากเลย นั่นคือ การรู้จักมองหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงและริเริ่มที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมภาคการผลิตทั่วโลกต่างมุ่งเป้าก้าวสู่ยุคการผลิตอัจฉริยะ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักที่ภาคการผลิตนำมาใช้ยกระดับภาพรวมการทำงานของอุตสาหกรรม ทั้งส่วนของเครื่องจักร กระบวนการผลิต ตลอดจนกระบวนการจัดหาวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่มีผลต่อสังคมและภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นความท้าทายใหม่ว่า การปรับตัวและการพัฒนาจะมีความรวดเร็วและเท่าทันมากเพียงใด
รายละเอียดเพิ่มเติมท่ามกลางกระแสของการทำ Digital Transformation นั้น หนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากการประยุกต์นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาผสานรวมนั้นก็คืออุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ทำให้โครงการด้านนี้กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก และมีเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดเพิ่มเติมในวันนี้อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายความไม่แน่นอนทั้งรูปแบบเก่าและใหม่ไปพร้อม ๆ กัน จากสถานการณ์โลกที่ผันผวนในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ดิจิทัลเทคโนโลยีกลายเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงได้ Digital Transformation จึงกลายเป็นประเด็นที่องค์กรธุรกิจภาคขนส่งและโลจิสติกส์จะต้องไม่มองข้าม ในทางกลับกันยิ่งต้องให้น้ำหนักและความสำคัญอย่างเท่าทวี เพราะภายใต้ความไม่แน่นอนเช่นนี้ องค์กรธุรกิจที่เตรียมความพร้อมมาอย่างดีเท่านั้นถึงจะชิงความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจได้ แนวโน้มสำคัญบางประการที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2023 นี้จะเป็นอย่างไรต่อไป และ Digital Transformation จะมีบทบาทสำคัญที่จะเปลี่ยนเกมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้มากน้อยเพียงใด มาหาคำตอบไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกในขณะนี้กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ นั่นคือ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน และมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ของสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนเกินคาดเดา สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอสังหาฯโดยตรง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ต้องรับมือกับความไม่แน่นอนที่มาพร้อมความคาดหวังใหม่ ๆ ของผู้บริโภค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศกำลังมุ่งเน้นการลงทุนไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ที่สามารถเข้ามาช่วยยกระดับธุรกิจด้านอสังหาตามแนวทางของการเป็น Smart Property เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมอสังหาและช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนได้เป็นอย่างดีมีอะไรบ้าง มาพบคำตอบกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประกอบกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่พลิกผัน เป็นปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมและรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากเดิมที่เราต้องไปที่สาขาของธนาคาร หรือตู้เอทีเอ็ม สู่การใช้แอปพลิเคชันในรูปแบบ Mobile Banking ที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทุกธุรกรรมจากที่ใดก็ได้ ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินต้องเร่งปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ และสิ่งที่จะมาเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินนับต่อจากนี้ไปก็คือ เทคโนโลยี Cloud และ AI ที่นับว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมการเงินทั่วทั้งโลก โดยตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป เทคโนโลยี Cloud และ AI จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรกับอุตสาหกรรมการเงินบ้าง เรามาวิเคราะห์ไปพร้อม ๆ กัน
รายละเอียดเพิ่มเติมวันนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิต สามารถนำเทคโนโลยีเครือข่าย 5G มาอัปเกรดขีดความสามารถให้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างน่าสนใจ เพราะการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีความเหนือชั้นและแตกต่าง รวมไปถึงยังเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภาคการผลิตก้าวสู่การเป็น Smart Manufacturing ได้อย่างสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ อาจเรียกได้ว่า 5G เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขสู่ประสิทธิภาพใหม่ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเลยทีเดียว ดังนั้นเรามาดูกันว่า บทบาทของ 5G จะช่วยสร้างการผลิตอัจฉริยะทั้งในวันนี้และในอนาคตข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมการค้าปลีกมีพัฒนาการกันมาต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษ แต่การเปลี่ยนแปลงมีความรวดเร็วมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ E-Commerce รวมไปถึงพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลก็ถือเป็นปัจจัยหลักอีกประการที่ทำให้อุตสาหกรรมการค้าปลีกมีวิวัฒนาการความล้ำหน้ามาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยี IoT มีการคาดการณ์จาก Grand View Research ว่า มูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี IoT ของอุตสาหกรรมการค้าปลีกจะเพิ่มสูงขึ้นไปแตะระดับ 182.04 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2028[1] จากการคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า จากนี้ไป IoT จะทวีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่จะนำมาซึ่งระบบค้าปลีกอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วทั้งโลก
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ ในวันนี้องค์กรแถวหน้าในภาคอุตสาหกรรมนี้กำลังก้าวไปอีกขั้น โดยกำลังเดินหน้าเต็มกำลังไปสู่ผู้ประกอบการ Smart Logistic เพื่อให้ธุรกิจมีศักยภาพสูงขึ้น สร้างความได้เปรียบทิ้งห่างคู่แข่ง และเทคโนโลยีเบื้องหลังที่ถือเป็นกลไกสำคัญอันจะทำให้องค์กรภาคอุตสาหกรรมนี้เดินไปถึงเป้าหมายการเป็น Smart Logistic ได้สมบูรณ์แบบก็คือ เทคโนโลยี 5G และ IoT เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้การส่งและประมวลผลข้อมูลมีความสามารถมากขึ้น และการส่งผ่านข้อมูลยังปลอดภัยมากขึ้นด้วย ทำให้ภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สามารถที่จะปรับปรุงการทำงานในด้านต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น 5G และ IoT จะเป็นกลไกที่นำภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไปสู่ Smart Logistic ได้อย่างไรมาติดตามกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงที่ผ่านมา Digital Transformation เป็นประเด็นที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ ให้ความสนใจและตื่นตัวกันมาก แต่นอกจากเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลที่นับเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของยุคนี้แล้ว เรื่องของ Sustainability หรือความยั่งยืน ก็เป็นเทรนด์หนึ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ให้ความสำคัญ และในปี 2023 นี้ Sustainability จะยิ่งเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นในแง่ของการดำเนินธุรกิจ การจะตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีใด หรือวางกลยุทธ์ใด ๆ เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับองค์กรจะต้องดำเนินไปพร้อมกับแนวทางการสร้างความยั่งยืนด้วย แล้วแนวทางขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความดิจิทัลพร้อมกับความยั่งยืนควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาติดตามกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อวันนี้ทุกการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคล้วนคือข้อมูลที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นฐานสำหรับการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้ แต่การที่ภาคธุรกิจจะสามารถใช้กลยุทธ์ Data Driven ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและวิเคราะห์ประมวลผล ดังนั้นการวางแผนเรื่อง Digital Transformation จึงจำเป็นอย่างมากต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล และในขณะนี้องค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังเร่งหาวิธีการที่จะเข้าใจถึง Insight ข้อมูลที่อยู่ในมือเหล่านั้นกันอย่างจริงจัง จากวันนี้ไปถึงปี 2025 แนวโน้มทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลจะเป็นอย่างไรกันบ้าง ลองมาวิเคราะห์ คาดการณ์ และร่วมมองไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
รายละเอียดเพิ่มเติมแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกภาพรวมจะอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลาย ๆ ด้านกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ จุดนี้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกมองเห็นโอกาส จึงเร่งเครื่องเดินหน้าเพื่อขยายศักยภาพการเติบโตในธุรกิจทันที โดยมุ่งเน้นปรับตัวไปสู่ระบบ Supply Chain 4.0 และเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมค้าปลีกปรับตัวสู่ความเป็นธุรกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบตามเป้าหมายก็คือ เทคโนโลยี 5G & Cloud ที่นับว่าเป็นโซลูชันสำคัญที่จะเข้ามาช่วยสร้างความแตกต่างอย่างเหนือชั้น เปลี่ยนทุกประสบการณ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิม นับจากนี้ 5G & Cloud จะสามารถยกระดับอุตสาหกรรมค้าปลีกในแง่มุมไหนได้บ้าง มาติดตามกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ภาคธุรกิจมีศักยภาพและเติบโตไปอย่างก้าวกระโดดได้ และ Digital Transformation ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างศักยภาพใหม่ในธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ดิจิทัลเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยเสริมสร้างและพัฒนาระบบการทำงานทั้งหมดให้เกิดความแตกต่างอย่างเหนือชั้น และทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตก้าวผ่านทุกความท้าทายได้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตในปีนี้จะมีอะไรบ้าง และผู้ประกอบการควรจะต้องโฟกัสสิ่งใด เป็นไปในทิศทางไหน มาพบคำตอบกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไว ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ องค์กรชั้นแนวหน้าของโลกต่างปรับตัวและให้ความสำคัญมากกับกระบวนการ Digital Transformation เพราะยิ่งปรับตัวไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำได้เร็วแค่ไหน โอกาสที่จะรักษาตำแหน่งหรือก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจก็ยิ่งมากขึ้น จึงต้องกล่าวว่าความก้าวล้ำของดิจิทัลเทคโนโลยีมีความหมายอย่างมากต่อการวางกลยุทธ์ต่าง ๆ ขององค์กร ยิ่งเทคโนโลยีมีความสามารถมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งเป็นปัจจัยส่งให้องค์กรต้องเร่งปรับให้เร็วขึ้นด้วย การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังล้ำหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไร เรามาวิเคราะห์สถานการณ์ไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมภาคธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid กันมาสักระยะแล้ว ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการเร่งกระบวนการ Digital Transformation ในธุรกิจของตนเองกันมากขึ้น เพื่อให้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจนั้นมีศักยภาพ รวมถึงให้รองรับกับรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid ของพนักงานมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Cloud System ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากในเรื่องนี้ หลายองค์กรได้มีการเคลื่อนย้ายการเก็บข้อมูล รวมไปถึงการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญต่อธุรกิจไว้บน Cloud แทบทั้งหมด ทำให้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลจึงกลายเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่องค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต้องนำมาพิจารณาก่อนการลงทุนในระยะต่าง ๆ ของธุรกิจด้วย ปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความปลอดภัยข้อมูลและจะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ในเรื่องของ Cloud Security ในปี 2023 มาวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมย่างเข้าปี 2023 ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในสายตาผู้บริหาร และแผนการลงทุนขององค์กรต่างๆ เพิ่มโอกาสยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และก้าวทันความท้าทายในสนามแข่งขันทางธุรกิจยิ่งขึ้น แต่เมื่อเจาะลึกลงไปที่โรดแมปขององค์กรในยุคที่ “ดิจิทัล” เข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนแทบทุกกิจกรรมของกระบวนการทำงาน และเร่งสปีดการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ จะพบว่า “ดิจิทัล ทรานสฟอร์เมชัน” ยังเป็นเทรนด์เทคโนโลยี “ยืนหนึ่ง” ต่อเนื่องจากปีก่อนๆ ด้วยอานิสงค์ของความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาใหม่ๆ ที่ไม่หยุดนิ่งของเทคโนโลยี และการขยายบทบาทครอบคลุมทุกส่วนของการปฏิบัติงาน ซัพพลายเชน จนถึงการตอบสนองโจทย์ความต้องการของลูกค้าปลายทาง ดังนั้นทุกองค์กรจำเป็นต้อง “ก้าวต่อไป” บนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และเกาะติดทุกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในกลุ่มนี้
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ องค์กรได้มีการกำหนดแผนงานในการทำ Digital Transformation องค์กรกันไว้ ซึ่งในบางองค์กรธุรกิจที่มีการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนหน้ามาสักระยะใหญ่ ๆ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลก็อาจจะราบรื่น แต่สำหรับบางองค์กรก็อาจจะพบอุปสรรค ทำให้การเปลี่ยนแปลงสัมฤทธิผลเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็ต้องค่อย ๆ ก้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่ว่ากระบวนการ Digital Transformation ในธุรกิจของคุณจะสำเร็จลุล่วงหรือไม่ สิ่งสำคัญก็คือเวลาไม่เคยคอยท่า เราจึงจำเป็นที่จะต้องมองไปข้างหน้า แล้วก้าวเดินต่อไปให้ไว แนวโน้มทิศทางของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันของอุตสาหกรรมสำคัญต่าง ๆ ในปี 2023 นี้และอาจจะส่งผลต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปีถัดไป จะมีอะไรบ้าง มาวิเคราะห์และร่วมมองไปข้างหน้าพร้อม ๆ กันเลย
รายละเอียดเพิ่มเติมรายงานคาดการณ์แนวโน้มด้านเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกของหลายแห่ง แทบเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปี 2023 การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นในอัตราเร่ง (accelerating) ที่เพิ่มความเร็วจากยุคที่ผ่านมา และบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เพื่อวางรากฐานทางเทคโนโลยี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีต่างๆ มาพร้อมกับพลังการประมวลผลที่แรงขึ้น แบนด์วิธสูงขึ้น และความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนา นวัตกรรม ตลอดจนรูปแบบธุรกิจ และธุรกิจใหม่ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมในวันนี้เรื่องของการดำเนินธุรกิจและเรื่องของเทคโนโลยีได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันไปแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เทคโนโลยีดิจิทัลยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อศักยภาพการแข่งขัน โดยจะนำความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่มีมาเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง ดังจะเห็นได้ว่าปี 2022 ที่เพิ่งผ่านไปนั้น องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่างมุ่งเน้นเรื่อง Digital Transformation กันเป็นอย่างมาก เพื่อเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับความก้าวล้ำใหม่ ๆ ตลอดปี 2023 และปีถัด ๆไป เราจึงขอสรุปภาพรวม Digital Transformation 2022 ที่ธุรกิจขนาดใหญ่ให้ความสำคัญ อันจะเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งชี้ว่าการแข่งขันในช่วงระยะ 2-10 ปีข้างหน้าควรโฟกัสไปที่อะไร เทคโนโลยีใดที่ควรให้ความสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อประเมินจากภาพรวมช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจต้องเผชิญหน้าความท้าทายใหญ่ๆ หลายครั้งจากความเปลี่ยนแปลงที่อยู่เหนือการคาดการณ์ และในบางสถานการณ์ ก็ยังคงไม่มีแนวโน้มว่าจะแผ่วลงโดยในปี 2023 ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับโลกยุคหลังเจอแรงเหวี่ยงจากผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความท้าทายทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในระดับความเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
รายละเอียดเพิ่มเติมวันนี้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ล้วนเข้าสู่กระบวนการ Digital Transformation ปรับเปลี่ยนตนเองให้ก้าวสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล เพื่อให้องค์กรมีศักยภาพที่ทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่วันนี้โรงงานอุตสาหกรรมในระดับต่าง ๆ กำลังมุ่งเร่งทำ Digital Transformation เพื่อเปลี่ยนแปลงโรงงานและระบบการผลิตของตนไปสู่การเป็น Smart Manufacturing อย่างเต็มตัว โดยอาศัย 5G Solutions เข้ามาช่วยให้การบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และหนึ่งในเทคโนโลยีที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตกำลังจับตามอง เนื่องจากในอีกไม่ช้าจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมการผลิตในทุกสาขา ก็คือ 3D Vision เทคโนโลยี 3D นี้จะช่วยยกระดับเพิ่มศักยภาพให้กับภาคการผลิตได้อย่างไรบ้างลองมาติดตามกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมต้องยอมรับว่าในวันนี้กระบวนการ Digital Transformation เป็นกระบวนการที่องค์กรชั้นนำต่างให้ความสำคัญ เพราะการจะนำธุรกิจเข้าสู่การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง และรักษาตำแหน่งผู้นำในกลุ่มธุรกิจนั้น ๆ ได้อย่างยาวนาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเครือข่ายอันทรงพลังอย่าง 5G ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรม 4.0 หรือ Smart Factory เกิดขึ้น เนื่องจาก IoT ในระบบการผลิตต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยพลังการเชื่อมต่อแบบ 5G ที่ตอบสนองได้ดีทั้งในแง่ความรวดเร็ว ระยะการเชื่อมต่อที่กว้างไกล และยังเต็มไปด้วยความยืดหยุ่น
รายละเอียดเพิ่มเติมรายงาน Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2023 ของการ์ทเนอร์ [1] คัดเลือกให้แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรม (Industry cloud platform) เป็น 1 ใน 10 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่องค์กรต่างๆ ห้ามตกขบวนสำหรับการวางแผนลงทุนด้านไอทีในปี 2023 เพื่อปรับองค์กรให้ก้าวทันทุกความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ หนุนเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ ในบริบทของการปรับรูปแบบกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)
รายละเอียดเพิ่มเติมปี 2022 นี้ที่แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นดูจะบรรเทาลงไปแล้ว แต่ก็อาจถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่การทำธุรกิจดำเนินไปได้ค่อนข้างยากลำบากพอสมควร ด้วยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด จนส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตมากมาย ทั้งเรื่องค่าเงิน พลังงาน และสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวพันกันไปทั้งหมด
รายละเอียดเพิ่มเติมCloud นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในระบบ IT Infrastructure หลักของธุรกิจองค์กรต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีแล้ว และแน่นอนว่าวงการ Cloud เองก็มีวิวัฒนาการใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของเทคโนโลยี, การบริการเชิงเทคนิค และรูปแบบในการให้บริการ Cloud
รายละเอียดเพิ่มเติมCyber Security หรือเรื่องการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กำลังเป็นประเด็นร้อนที่องค์กรธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ทั่วโลกกำลังจับตามอง เพราะอาชญากรไซเบอร์เริ่มมุ่งเป้ามาสร้างภัยร้ายทางไซเบอร์กับองค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ลุกลามไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ซึ่งความรุนแรงจากการคุกคามทางไซเบอร์อาจทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักจนสามารถกระทบกับระบบห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบได้เลยทีเดียว
รายละเอียดเพิ่มเติมในวันนี้เราอาจจะเริ่มคุ้นเคยกับว่า Cloud Computing กันมากขึ้นเพราะในภาคธุรกิจต่าง ๆ เริ่มปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมการผลิต Cloud ถือเป็นศูนย์กลางสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยี IIoT ในส่วนของเครื่องจักรการผลิตสามารถดำเนินงานไปได้แบบอัตโนมัติ แต่นอกจาก Cloud แล้วอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถือว่ามีบทบาทและความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในระบบการทำงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิต เป็นส่วนที่จะเพิ่มศักยภาพเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมให้ไปสู่ Smart Manufacturing แบบสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ก็คือ เทคโนโลยี Edge Computing แล้วผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเทคโนโลยีนี้หรือไม่ เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยภาคการผลิตในเรื่องใดได้บ้าง มาพบคำตอบกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Telco Cloud ซึ่งเทคโนโลยี Cloud สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกันมาบ้างแล้ว แต่ในทุกวันนี้เมื่อเทคโนโลยี Cloud ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว นิยามและขอบเขตความสามารถของ Telco Cloud เองก็ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อกระแสเศรษฐกิจโลกในวันนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การดำเนินธุรกิจในวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ผ่านมาอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว เป็นสิ่งที่เร่งให้องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับ Digital Transformation เพราะหากองค์กรไม่ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลก็จะก้าวไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในวันนี้ ที่ผ่านมาองค์กรชั้นนำต่างจับตามองในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคคือข้อมูลที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ประโยชน์ได้ ยิ่งองค์กรไหนมีข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในระดับ Big Data ยิ่งมีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี 5G เป็นสิ่งที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีและนวัตกรรมเปลี่ยนโลกอีกมากมาย อาจเรียกได้ว่า 5G เป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจในวันนี้ไปแล้ว แต่เชื่อเหลือเกินว่าองค์กร Enterprises จำนวนไม่น้อย มีความเข้าใจต่อเทคโนโลยี 5G เพียงแค่ว่ามอบความเร็วในการเชื่อมต่อที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังไม่เข้าใจในเชิงลึกว่า 5G จะมีบทบาทและสามารถนำมาสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจระดับ Enterprises ได้อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจในประสิทธิภาพรวมถึงบทบาทที่สำคัญที่จะมีต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของ 5G ไปพร้อม ๆ กันเลย
รายละเอียดเพิ่มเติมปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเข้าสู่ยุค Internet of Things หรือเทคโนโลยี IoT กันแล้ว จุดสำคัญที่น่าสนใจไม่ใช่แค่เพียงเทคโนโลยี IoT ที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบการผลิตเท่านั้น แต่เบื้องหลังที่เป็นเทคโนโลยีอันเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเชื่อมต่อ เก็บข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่ส่งมาจากอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ อย่างเทคโนโลยี Cloud ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่รู้จักกับเทคโนโลยี Cloud กันมาสักระยะหนึ่งแล้ว บางส่วนก็อาจเริ่มนำมาปรับใช้กับธุรกิจ แต่ก็มีอีกหลายองค์กรที่มองเห็นประโยชน์และรับรู้ถึงคุณค่าของเทคโนโลยีนี้ว่า จะเข้ามาช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจช่วยยกระดับอุตสาหกรรมให้ไปสู่ Smart Manufacturingได้ เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนย้ายระบบการทำงานแบบเดิมไปสู่ระบบ Cloud อย่างไร ถึงจะเกิดความคุ้มค่าเหมาะสม คำแนะนำในเรื่องนี้ก็คือ
รายละเอียดเพิ่มเติมขณะที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยกำลังเร่งปรับตัวไปสู่ก้าวแรกของการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศของตนให้ขยับไปอีกขั้น โดยใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็น Smart Manufacturing ซึ่งก็คือการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับระบบนิเวศการผลิตทั้งหมดในองค์กร เพื่อการทำงานที่ราบรื่นและการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าการผลิตอัจฉริยะนี้กำลังเป็นแนวโน้มใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกกำลังจะมุ่งไป จึงน่าสนใจว่าถ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปสู่ Smart Manufacturing กันเกือบทั้งหมด โฉมหน้าของธุรกิจการผลิตจะเป็นอย่างไร
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ Edge Computing ได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในฐานะของสถาปัตยกรรมที่เข้ามาเติมเต็มความสามารถของบริการ Cloud ให้การจัดเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลทั้งในรูปแบบของ Data Analytics และ AI เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วย Latency ที่ต่ำ
รายละเอียดเพิ่มเติมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับระบบการทำงานขององค์กรนั้น เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตาและให้ความสำคัญกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งหลังจากรูปแบบการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานแบบไฮบริด สลับการทำงานระหว่างภายในองค์กรกับการทำงานจากระยะไกลภายนอกองค์กร ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจมตีทางไซเบอร์จากผู้ไม่หวังดีมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการโจมตีทางไซเบอร์ก็ดูเหมือนว่าจะมุ่งเป้าไปที่องค์กรขนาดใหญ่เป็นอันดับแรก ๆ ดังนั้นเมื่อองค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต้องการที่จะก้าวไปสู่แถวหน้าในเรื่องการเป็น Digital Enterprise การนำเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ทันสมัย มาช่วยยกระดับและสร้างความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่ต้องรีบทำ ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่สนใจขององค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ในขณะนี้ก็คือ เทคโนโลยี SASE
รายละเอียดเพิ่มเติมในวันนี้ Internet of Things (IoT) กลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในธุรกิจอุตสาหกรรมไปแล้ว หากภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่สามารถที่จะนำองค์กรผ่านกระบวนการ Digital Transformation ได้สำเร็จ ธุรกิจก็จะขาดความยืดหยุ่นและเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัว อีกทั้งจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก IoT และเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อยกระดับองค์กรได้อย่างเต็มที่ การต่อยอดธุรกิจจากนวัตกรรมเดิมหรือสร้างนวัตกรรมใหม่บนเทคโนโลยี IoT นั้น ในปัจจุบันองค์กรชั้นนำของโลกหลายองค์กรได้พัฒนาไปถึงขั้นนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Digital Twins หรือ “คู่แฝดดิจิทัล” มาใช้กันแล้ว ไม่เพียงแค่นำมาใช้ แต่องค์กรต่าง ๆ ยังเชื่อกันว่า เทคโนโลยีนี้จะเป็นอนาคตของโลกธุรกิจอุตสาหกรรมในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย แท้ที่จริงแล้ว Digital Twins คืออะไรกันแน่ มาพบคำตอบกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมหลังจากที่ทุกโรงพยาบาลต่างต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และให้บริการด้านการฉีดวัคซีนแก่ผู้คนทั่วโลก พร้อมทั้งมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาใช้ภายในโรงพยาบาล และมีการปรับกระบวนการการให้บริการผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปแล้ว ในปี 2022 นี้ก็ถือเป็นปีที่วงการสาธารณสุขทั่วโลกกำลังจะมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ สู่การนำเทคโนโลยีมาผสานเพื่อรักษาผู้ป่วยกันอย่างเต็มตัวมากยิ่งขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมในภาคอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่คำนึงถึง จะเป็นเรื่องของ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ความยืดหยุ่น และคล่องตัว เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการในยุควิกฤตทางเศรษฐกิจ อย่างเช่นในปัจจุบันนี้ สภาวะโรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไป และเริ่มสนใจเปลี่ยนมาใช้งานระบบคลาวด์มากขึ้น จากแนวคิดในการใช้งานเครื่องมือ หรือบริการที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นบนระบบคลาวด์ จะสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรม 4.0 นั้นไม่เพียงแต่จะเป็นแนวคิดในการบูรณาการเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาช่วยบริหารจัดการวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และต้นทุนธุรกิจได้เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบการทำงานทุกส่วนของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย อย่างการนำเทคโนโลยี IIoT (Industrial Internet of Things) เข้ามาช่วยยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิต แม้ว่าระบบเดิมจะมีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว แต่การนำความสามารถใหม่ ๆ ของ IIoT เข้ามาช่วยอีก ก็ย่อมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องความปลอดภัยอันจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัยที่มากขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติงานและระบบการผลิตทั้งหมดปลอดภัย ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ผู้ประกอบการย่อมได้รับประโยชน์สูงสุด แล้วเทคโนโลยี IIoT จะช่วยยกระดับความปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมภาคธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอีคอมเมิร์ซ ที่เปิดฉากการแข่งขันด้วยการมอบประสบการณ์ที่แตกต่างไปในการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ นั่นทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมค้าปลีกพยายามเร่งปรับตัวให้ทันต่อเทรนด์การจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภคในวันนี้ กลยุทธ์หนึ่งที่ทางผู้ประกอบการอุตสาหกรรมค้าปลีกเลือกที่จะนำมาใช้ก็คือ การมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าด้วยประสิทธิภาพและความทันสมัยของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ยิ่งในขณะนี้เทคโนโลยีเครือข่ายอัจฉริยะอย่าง 5G ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสำคัญในการยกระดับธุรกิจทั่วโลกแล้ว ยิ่งสะท้อนว่า 5G เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความแตกต่างและมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน แต่ปัญหาก็คือ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากยังไม่ทราบว่าควรจะประยุกต์ใช้พลังของ 5G ไปใช้สร้างประสบการณ์ใหม่กับลูกค้าในธุรกิจได้อย่างไร ครั้งนี้จึงมีแนวทางในเรื่องนี้มามอบให้กับท่านผู้ประกอบการ
รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อโลกกำลังปรับเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ จากปัจจัยรอบด้านที่กำลังเป็นตัวเร่งให้ทุกภาคส่วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง จึงทำให้ภาคธุรกิจและองค์กรทุกขนาดจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล หรือ Digital Transformation เพื่อให้ธุรกิจและองค์กรของตนเองสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้แข่งขันและก้าวต่อไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง ในขณะที่โลกกำลังมุ่งไปสู่ความดิจิทัล ในอีกด้านหนึ่งที่ผู้คนมักมองข้ามไปก็คือ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ที่ดูเหมือนว่ายิ่งเทคโนโลยีมีความสามารถมากขึ้นเท่าไหร่ อาชญากรรมไซเบอร์ก็ดูจะทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว สิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ควรจะต้องให้ความสำคัญก็คือ Ransomware Attack หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่นับวันยิ่งมีความน่ากลัวมากขึ้น นั่นทำให้องค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ พยายามหาทางรับมือกับ Ransomware โดย Digital Transformation ถือเป็นก้าวแรกที่จะทำให้องค์กรสามารถต่อกรและรับมือกับ Ransomware ได้อย่างมั่นใจ
รายละเอียดเพิ่มเติมในปี 2022 นี้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน และยังมีเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับธุรกิจอุตสาหกรรม รวมไปถึงกระบวนการ Digital Transformation ที่จะต้องเกิดขึ้นในทุก ๆ องค์กรธุรกิจไม่ช้าก็เร็ว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบซัพพลายเชน ในวันนี้เทรนด์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กำลังมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงจาก Logistics 4.0 ไปเป็น Logistics 5.0 อันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น แต่ก้าวแรกที่จะทำให้การปฏิวัติความก้าวหน้าเพื่อเปลี่ยนผ่านยุคสมัยในอุตสาหกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่นก็คือกระบวนการ Digital Transformation ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมสถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลายในหลาย ๆ ประเทศ ถึงแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่ แต่ผู้คนเริ่มปรับตัวและเลือกที่จะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น นั่นทำให้ในมิติทางเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่จะฟื้นตัวมากน้อยอย่างไร และช้าเร็วแค่ไหนก็ยังไม่มีใครที่จะสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ นั่นทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ ยังคงไม่แน่ใจว่านับจากจุดนี้ไปจะขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางไหน บางองค์กรเริ่มต้นกระบวนการ Digital Transformation ไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังเป็นการปรับเปลี่ยนไม่เต็มรูปแบบ ภายใต้ภาวะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ องค์กรควรเลือกอะไรระหว่าง Move On เดินหน้าไปต่อกับกระบวนการ Digital Transformation เพื่อให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ หรือ ควรจะ Break เพื่อชะลอการลงทุน รอให้ทิศทางของสถานการณ์ต่าง ๆ มีความชัดเจนมากกว่านี้ก่อน บทความนี้จะมีคำตอบให้คุณ
รายละเอียดเพิ่มเติมMetaverse ได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองโดยเหล่าธุรกิจองค์กรทั่วโลกเป็นอย่างมากในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน หลังจากที่ Facebook ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และเผยวิสัยทัศน์ว่า Metaverse นั้นจะเป็นอนาคตของโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจทั่วโลกต่างรีบคว้าโอกาสในโลก Metaverse กันอย่างรวดเร็วด้วยการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในส่วนของ AR/VR, 3D, Web 3.0 และ Blockchain กันออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ Statista [1] ระบุว่าในการสำรวจบนโลกออนไลน์ พบว่าผู้คนสนใจที่จะเข้าร่วมใน Metaverse ด้วยหลากหลายเหตุผล โดยคำตอบที่ได้รับการเลือกมากที่สุดนั้นก็คือ การก้าวข้ามอุปสรรคที่ต้องเผชิญในชีวิตจริงอย่างเช่นความพิการ (39%), การเปิดโอกาสสู่การสร้างสรรค์และจินตนาการรูปแบบใหม่ๆ (37%), การท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทาง (37%), การสร้างทักษะทางด้านเทคโนโลยีและเรียนรู้สิ่งต่างๆ (34%) และการสร้างโอกาสใหม่ๆ ในด้านอาชีพและการทำงาน (30%) แต่ท่ามกลางกระแสที่กำลังร้อนแรงอยู่นี้ ธุรกิจองค์กรไทยจะนำ Metaverse มาใช้งานได้อย่างไรบ้าง? ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับแนวทางที่เป็นไปได้ในการนำ Metaverse มาประยุกต์ใช้งานกันดังนี้ครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมIndustrial IoT หรือ IIoT ถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในระบบอุตสาหกรรม 4.0 เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยเชื่อมโยงเครื่องจักรการผลิต เทคโนโลยีไอที และทรัพยากรบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ให้ทั้งหมดสามารถทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวและเป็นหนึ่งเดียว จุดนี้ถือเป็นภาพกว้าง ๆ ของ IIoT ที่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมพอจะมองออกกันอยู่แล้ว แต่หากจะมองข้อดีหรือประโยชน์ของ IIoT ที่มีต่อธุรกิจอุตสาหกรรมในเชิงลึกแล้ว เทคโนโลยีนี้จะมีความพิเศษอย่างไร และจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไรบ้าง ครั้งนี้จะมาเผย 7 ข้อดีของ IIoT ที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิตให้ทุกท่านได้ทราบกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมโลกธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นมีอุปสรรคและความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา องค์กรธุรกิจใดตัดสินใจช้าไปเพียงเสี้ยวนาที ก็อาจพลาดโอกาสสำคัญที่จะขึ้นเป็นผู้นำในตลาดไปได้เลยทันที องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต่างทราบว่า Digital Transformation เป็นเรื่องสำคัญและควรจะต้องทำ แต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจที่จะลงทุนในเรื่องนี้ เพราะไม่ชัดเจนว่ากระบวนการนี้จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยเพียงใด ข้อมูลจากบทความนี้อาจช่วยเปลี่ยนมุมมองและสร้างความมั่นใจต่อการตัดสินใจทำ Digital Transformation เพื่อยกระดับธุรกิจของคุณ
รายละเอียดเพิ่มเติมความท้าทายของโลกเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที จะส่งผลให้เกิดได้ทั้งโอกาสและความเสี่ยงในมิติของประสิทธิภาพที่สะท้อนไปสู่ความสามารถของการแข่งขันทางธุรกิจ และการที่ซีอีโอจะสามารถนำพาองค์กรให้มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีได้นั้น จำเป็นต้องมีการทำ Digital Transform ให้สำเร็จ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างที่สำคัญ แต่เคล็ดลับของความสำเร็จที่ผู้นำองค์กรเลือกใช้ในการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของวิธีการทำงานแบบดิจิทัลที่ครอบคลุมความคิดรอบด้านอย่างรู้เท่าทัน
รายละเอียดเพิ่มเติมองค์กรธุรกิจจำนวนมากพยายามที่จะนำ Digital Transformation มาใช้เพื่อเป็นกลยุทธ์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการที่มากขึ้นและซับซ้อนขึ้น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาตอบสนองความต้องการหรือใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภคจึงน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้น Digital Transformation จึงไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนแปลงทั่วไป แต่จัดว่าเป็นกลยุทธ์จำเป็นแห่งยุคสมัย นั่นทำให้แนวทางนี้ได้รับความสนใจจากองค์กรชั้นนำต่าง ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชีวิตรอดสำหรับธุรกิจทั่วโลก ซึ่งมีการศึกษาของ ESI ThoughtLab องค์กรวิจัยด้านเศรษฐกิจการเงิน และเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เผยข้อมูลการสำรวจผู้บริหารระดับสูง 1,200 คนทั่วโลก รวมถึงผู้บริหารมากกว่า 370 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ได้สะท้อนความเข้าใจว่า AI ถูกนำไปใช้ในโลกที่ไม่แน่นอนนี้จะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างไร โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าทำไมองค์กรถึงต้องจัดลำดับความสำคัญและขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้ AIภายในอุตสาหกรรมต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ให้มากยิ่งขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 71% มองว่า AI เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจ และประมาณ 45% พิจารณาว่าตนเองอยู่ในหมวดผู้นำหรือผู้ก้าวหน้า ซึ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตอย่างยั่งยืนของการนำ AI มาใช้ในภูมิภาคนี้
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมการเงินเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่มีบทบาทความสำคัญต่อการขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงยังเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง และต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องจากความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งภาพรวมในอุตสาหกรรมการเงินในปัจจุบันจะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกฎระเบียบ ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย และความผันผวนของตลาดการเงินระดับโลก ผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินจึงต้องเร่งเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อความอยู่รอดและเติบโตต่อไปภายใต้สภาวะเช่นนี้ และในขณะนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินระดับโลกกำลังขยับสู่ก้าวถัดไป คือ มุ่งสู่ความเป็นอุตสาหกรรมการเงินแบบอัจฉริยะ เม็ดเงินจำนวนมากจากอุตสาหกรรมนี้กำลังลงไปสู่เทคโนโลยีไอทีอันหลากหลาย เหตุผลใดที่ทำให้อุตสาหกรรมการเงินเร่งสปีดเดินหน้าสู่ความเป็นธุรกิจอัจฉริยะ และเทคโนโลยีใดที่ผู้นำด้านธุรกิจการเงินกำลังให้ความสำคัญ มาร่วมวิเคราะห์ไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมวันนี้ผู้คนสามารถปรับตัวกับชีวิตวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กันได้ดีมากขึ้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเป็น New Normal ได้กลายเป็น Now Normal ในขณะนี้ ทุกภาคส่วนพยายามปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลออนไลน์เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตในทุก ๆ แง่มุม เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปในภาวะที่โลกมีความผันผวนสูงเช่นนี้ นั่นจึงทำให้ผู้คนกับเทคโนโลยีมีการหลอมรวมกันอย่างแนบแน่นมากขึ้น เกิดประสบการณ์ใหม่ที่อยู่บนฐานของความเป็นดิจิทัลออนไลน์มากขึ้น และดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะดำเนินไปอย่างไม่มีทางที่จะหวนกลับไปเป็นแบบก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 อีกแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติมปัจจุบันธุรกิจองค์กรไทยหลายแห่งนั้นก็ได้เริ่มดำเนินกลยุทธ์และโครงการด้านการทำ Digital Transformation กันไปไม่น้อยแล้ว แต่โจทย์หนึ่งซึ่งยังคงเป็นประเด็นสำคัญต่อธุรกิจหลายๆ แห่งอยู่นั้นก็คือคำถามด้านการวัดผลความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ว่าควรจะวัดผลอย่างไร?
รายละเอียดเพิ่มเติมในยุคที่โลกทั้งใบถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล องค์กรธุรกิจต้องเผชิญโจทย์บังคับให้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่กระบวนการทำงานรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องทุ่มเททรัพยากร “ลงทุน” และแปลงผลลัพธ์จากการลงทุนนั้นสู่การสร้าง “มูลค่า” ให้กับข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อให้องค์กรเข้าใจข้อมูลเชิงลึก (Insight) และมี Information ในการจะเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้ เพื่อให้ก้าวทันกระแส Technology Disruption และความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกค้าที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
รายละเอียดเพิ่มเติมการนำกระบวนการ Digital Transformation เข้ามาปรับใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเปลี่ยนให้เป็น “เกษตรดิจิทัล” กำลังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เมื่อมองในภาพใหญ่มีการคาดการณ์ไว้ว่าเมื่อถึงปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน จำนวนประชากรโลกที่มากขึ้นย่อมทำให้ความต้องการอาหารและที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อมองภาพเล็กลงมาในระดับสังคมก็จะเห็นว่าทั่วโลกและประเทศไทยเองมีแนวโน้มที่สังคมเมืองจะขยายตัวมากขึ้น นั่นทำให้พื้นที่ทางการเกษตรมีจำนวนลดลงไปพร้อม ๆ กับการลดลงของจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร อีกทั้งวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัจจัยด้านต้นทุนในการดูแลพืชก็เพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมการเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทาย Digital Transformation จะมีบทบาทหรือส่วนช่วยอย่างไรในอุตสาหกรรมการเกษตรกันบ้าง มาติดตามกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเคยชินกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการได้รับบริการ หรือเข้าถึงทุกสิ่งที่ต้องการได้แค่คลิกเดียว ผ่านช่องทางออนไลน์/โซเชียลมีเดีย ที่มีให้เลือกหลากหลายแพลตฟอร์ม จึงเป็น “แรงส่ง” ที่ทรงพลังให้กับการเติบโตของวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า On-Demand Economy ซึ่งเป็นเทรนด์เศรษฐกิจที่เรียกได้ว่า เกิดขึ้นจากความล้ำหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแท้จริง
รายละเอียดเพิ่มเติมในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน (Disruption) จากอิทธิพลของทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เลือกใช้งานหลากหลายรอบตัว และการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนมาถึงมิติของการทำงานและการดำเนินธุรกิจ องค์กรธุรกิจที่เคยเตรียมกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) แบบค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะโครงการริเริ่ม อาจต้องกลับมาทบทวนแผนงานเพื่อคิดใหม่ ทำใหม่
รายละเอียดเพิ่มเติมอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ทั่วโลก กำลังเผชิญความท้าทายสำคัญในการ “เร่งความเร็ว” ยกระดับสู่การเป็น Smart Manufacturing ที่สามารถเกาะติดเทรนด์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรับมือแรงกดดันภายใต้บริบทโลกใหม่ หลังจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกผลักเข้าสู่กระแส New Normal ที่แทบทุกกิจกรรมถูกจัดระเบียบด้วยมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มีความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการทำงานรูปแบบเดิมๆ มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการทำงานระยะไกล (Remote Working)
รายละเอียดเพิ่มเติมหลายปีที่ผ่านมานี้ Cloud ได้กลายเป็นเทรนด์หลักของเทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจต้องเปิดรับและนำไปใช้งานเพื่อสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ส่งผลให้การย้ายระบบขึ้นสู่ Cloud นั้นเกิดขึ้นในแทบทุกองค์กรธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
รายละเอียดเพิ่มเติมจากปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี บวกกับปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างโควิด 19 ทำให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่างกำลังเร่งเปลี่ยนแปลงทุกองค์ประกอบทั้งหมดขององค์กรให้ไปสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างแท้จริง เพื่อให้ธุรกิจสามารถที่จะปรับตัวและก้าวทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว อันจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงไม่ว่าจะมีสถานการณ์วิกฤตใด ๆ เกิดขึ้นอีกหรือไม่ก็ตาม
รายละเอียดเพิ่มเติมการนำ 5G มาใช้ในเชิงธุรกิจนั้นกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากองค์กรธุรกิจไทยและทั่วโลก เนื่องจาก 5G จะสามารถนำมาใช้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการส่งมอบประสบการณ์แก่ลูกค้าในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดเพิ่มเติมก้าวเข้าสู่ปี 2022 เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลก็ยังคงเป็นประเด็นที่องค์กรธุรกิจระดับโลกจับตามองและให้ความสำคัญ เพราะทุกองค์กรชั้นนำต่างทราบดีว่าสิ่งนี้ก็คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคนี้ ในปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่ถูกพูดถึงมากก็คงจะหนีไม้พ้นเรื่องของ Metaverse แต่เทคโนโลยีที่จะเป็นเบื้องหลังสำคัญในการขับเคลื่อนก็คือส่วนของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) เรื่องของ AI จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่องค์กรชั้นนำให้ความสนใจเพราะเชื่อว่าเทคโนโลยี AI จะมีการก้าวล้ำและพัฒนาไปจากเดิมมากขึ้น แนวโน้มและทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี AI ในปี 2022 นี้จะเป็นอย่างไร และองค์กรจะสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจอุตสาหกรรมแบบไหนได้บ้าง มาติดตามไปพร้อมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมภาคธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid กันมาสักระยะแล้ว ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการเร่งกระบวนการ Digital Transformation ในธุรกิจของตนเองกันมากขึ้น เพื่อให้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจนั้นมีศักยภาพ รวมถึงให้รองรับกับรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid ของพนักงานมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Cloud System ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากในเรื่องนี้ หลายองค์กรได้มีการเคลื่อนย้ายการเก็บข้อมูล รวมไปถึงการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญต่อธุรกิจไว้บน Cloud แทบทั้งหมด ทำให้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลจึงกลายเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่องค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ต้องนำมาพิจารณาก่อนการลงทุนในระยะต่าง ๆ ของธุรกิจด้วย ปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความปลอดภัยข้อมูลและจะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนของธุรกิจขนาดใหญ่ในเรื่องของ Cloud Security ในปี 2023 มาวิเคราะห์ไปพร้อมกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ถือเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากการมาของภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้ต่างต้องเร่งปรับตัวรับมือกันอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อรองรับการรักษาโรคด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกในยุคปัจจุบันขับเคลื่อนไปได้ด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีไอทีที่ส่งผลต่อการเติบโตและการอยู่รอดของภาคธุรกิจองค์กร วันนี้โลกดูจะหมุนเร็วขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงเร็ว ยิ่งโลกมีสถานการณ์โควิด 19 มาเป็นตัวเร่ง ยิ่งทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตผู้คน จนกระทั่งถึงการสร้างเทรนด์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงธุรกิจทั่วโลกได้เลย องค์กรใดที่ตอนนี้กำลังมองทิศทางการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีสำหรับอนาคตข้างหน้า ลองมาดูกันดีกว่าว่า 5 เมกะเทรนด์เทคโนโลยีด้านไอทีที่น่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2025 จะมีอะไรกันบ้าง
รายละเอียดเพิ่มเติมในสถานการณ์โรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น ธุรกิจจำนวนมากเกิดการปรับตัว (และส่วนมากประสบผลสำเร็จ) ในการปรับใช้รูปแบบการทำงานแบบใหม่ ซึ่งรวมถึงการปรับใช้ระบบดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนการบริหารองค์กร และห่วงโซ่อุปทานในรูปแบบใหม่ แต่เพียงเท่านั้นคงยังไม่เพียงพอ ผู้นำองค์กรยังต้องการ การเตรียมตัวสำหรับโลกในยุคหลังโควิด-19 อีกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ปรับปรุงการดำเนินงานประจำวันเท่านั้น แต่ยังต้องมีความพร้อมและความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะ "คิดใหม่" ในการดำเนินงาน และความหมายในการดำรงอยู่ขององค์กร เสมือนการถอยหลังออกมา 1 ก้าว แล้วมององค์กรของตนในวิสัยทัศน์ที่ต่างออกไป
รายละเอียดเพิ่มเติมสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาจนย่างเข้าปีที่ 3 ได้ตอกย้ำบริบทใหม่ของการดำเนินธุรกิจยุคชีวิตวิถีใหม่ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจาก “New Normal Disruption” ที่จะเข้ามาผสานอยู่ในทุกมิติของการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ติดปีกความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเร่งเครื่องการเติบโตอย่างมั่นคงให้กับธุรกิจ
รายละเอียดเพิ่มเติมเราต่างทราบกันดีว่าโควิด 19 เป็นอุปสรรคที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการปรับตัวเพื่ออยู่รอดของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ในความท้าทายนั้นก็เผยให้เราทุกคนได้เห็นว่าองค์กรธุรกิจที่สามารถยืนหยัดรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ นั่นเพราะพวกเขามองไปข้างหน้าและเลือกที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจของตนเองตั้งแต่ก่อนวิกฤตจะเกิดขึ้น พวกเขาเฝ้าติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและต่างเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีไอที จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพลิกโฉมโลกธุรกิจอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้หากเกิดวิกฤตขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที