“Move On” VS “Break” ทางแยกเรื่อง Digital Transformation ที่ธุรกิจต้องตัดสินใจ

              สถานการณ์โควิด 19 เริ่มคลี่คลายในหลาย ๆ ประเทศ ถึงแม้การระบาดจะยังคงมีอยู่ แต่ผู้คนเริ่มปรับตัวและเลือกที่จะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น นั่นทำให้ในมิติทางเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่จะฟื้นตัวมากน้อยอย่างไร และช้าเร็วแค่ไหนก็ยังไม่มีใครที่จะสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ นั่นทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ ยังคงไม่แน่ใจว่านับจากจุดนี้ไปจะขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางไหน บางองค์กรเริ่มต้นกระบวนการ Digital Transformation ไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ยังเป็นการปรับเปลี่ยนไม่เต็มรูปแบบ ภายใต้ภาวะที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ องค์กรควรเลือกอะไรระหว่าง Move On เดินหน้าไปต่อกับกระบวนการ Digital Transformation เพื่อให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ หรือ ควรจะ Break เพื่อชะลอการลงทุน รอให้ทิศทางของสถานการณ์ต่าง ๆ มีความชัดเจนมากกว่านี้ก่อน บทความนี้จะมีคำตอบให้คุณ

เมื่อความซับซ้อนของลูกค้า พิชิตได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จะพิชิตใจลูกค้าเพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ต้องเริ่มจากความ “เข้าใจ” โดยแบ่งความเข้าใจนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ

              1.เข้าใจในศักยภาพของธุรกิจDigital Transformation จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ผู้บริหารมองภาพรวมของธุรกิจออก ว่าขณะนี้องค์กรมีศักยภาพมากพอที่จะเติบโตและก้าวต่อไปหรือไม่ ศักยภาพที่กล่าวถึงนี้ก็หมายความถึงเทคโนโลยีดิจิทัลไอทีต่าง ๆ อย่างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่พร้อมสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบครบวงจร ทั้งเครือข่ายพื้นฐานปกติและเครือข่ายอัจฉริยะที่ทันสมัยอย่าง 5G แบบครอบคลุมทั้งองค์กร ระบบฐานข้อมูลพร้อมสำหรับการทำงานแบบ On Cloud และการทำงานของระบบต่าง ๆ ในแบบ IoT เป็นต้น ยิ่งองค์กรมีการวางแผนเรื่อง Digital Transformation อย่างเป็นระบบก็จะยิ่งทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ได้ลงทุนไปนั้นจะสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจในแต่ละขั้นอย่างไรบ้าง และจะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจและสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านั้นอย่างไร เมื่อมองภาพรวมได้แบบนี้ก็จะทำให้การลงทุนเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับธุรกิจตามเป้าหมายที่วางไว้

              2.เข้าใจลูกค้าของธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ความเข้าใจในข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อแรก คือ ผู้บริโภคหรือลูกค้าในยุคนี้มีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม และการที่จะทลายกำแพงที่ซับซ้อนเหล่านั้นก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย ซึ่งมีทั้ง

  • การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อการจับจ่าย
  • ช่องทางที่ลูกค้าเลือกซื้อ
  • รูปแบบสินค้าและบริการที่ลูกค้าเลือก
  • ช่องทางการชำระเงินที่ลูกค้าเลือก

              สิ่งที่น่าสนใจก็คือ วันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่มีข้อมูลลูกค้ามากมายอยู่ในมือ แต่ไม่สามารถที่จะบริหารจัดการและนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำความรู้จักลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นได้ ไม่เพียงจะนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่านั้น หลาย ๆ องค์กรยังต้องเสียงบประมาณไปกับการหาวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่กระจัดกระจายและบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นระบบเป็นจำนวนไม่น้อยด้วย

รูปประกอบจาก: mckinsey.com

              มีข้อมูลจาก Mckinsey ชี้ว่าองค์กรที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยดูแลเรื่อง Data Management ไม่เพียงแต่จะสามารถดึงเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำปีในเรื่องของการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลให้กับธุรกิจได้ถึง 5 – 15% ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเลยทีเดียว[1]
[1] Davide Grande and Jorge Machado, “Bryan Petzold, and Marcus Roth. Reducing data costs without jeopardizing growth”, From: https://www.mckinsey.com/business-functions/mckinsey-digital/our-insights/reducing-data-costs-without-jeopardizing-growth

สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่ายิ่งมีเทคโนโลยีดิจิทัลที่มากความสามารถ วิเคราะห์ประมวลผลจำนวนมากได้รวดเร็ว มีระบบที่อัจฉริยะมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้องค์กรธุรกิจเข้าใจและรู้จักลูกค้าในมุมที่ลึกซึ้งได้มากขึ้น เพราะระบบอัจฉริยะเหล่านี้จะช่วยบอกผู้บริหารองค์กรว่าควรจะผลิตสินค้าหรือออกแบบบริการใหม่ ๆ ไปในทิศทางใด ถึงจะตอบสนองลูกค้าในวันนี้และในอนาคตข้างหน้าได้ รวมถึงการออกแบบการให้บริการใหม่ เทคโนโลยีดิจิทัลก็ยังช่วยให้องค์กรสามารถสร้างรูปแบบการใหม่ของการบริการในแบบที่แตกต่างจากคู่แข่ง เป็นการมอบประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับลูกค้าได้ด้วย นั่นสะท้อนว่าหากองค์กรมีการตัดสินใจเดินหน้า Digital Transformation ให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเต็มรูปแบบ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสพิชิตใจลูกค้าได้มากขึ้น กลับกันยิ่งตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลช้า ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็ยิ่งดูห่างกันมากขึ้นเท่านั้น

ผู้นำด้านดิจิทัล คือ ผู้ที่อยู่รอดในทุกวิกฤต

              ถ้าองค์กรตัดสินใจ Move On เริ่มเดินหน้า Digital Transformation ธุรกิจในตอนนี้ อุปสรรคและความท้าทายที่องค์กรจะต้องเจอเลยก็คือ ทุกภาคส่วนขององค์กรตั้งแต่ผู้บริหารไปจนกระทั่งพนักงานทั้งหมด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคยหรือมีความซับซ้อน แต่ทั้งหมดนี้ก็จะดูเป็นอุปสรรคแค่ในช่วงแรกเท่านั้น เมื่อเข้าใจถึงความสามารถของเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้ว ก็จะพบว่าหลาย ๆ ระบบมีเทคโนโลยีที่อัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานไปด้วยกันอย่างเป็นระบบได้แบบอัตโนมัติ การบริหารจัดการจะง่ายและสะดวกขึ้น นั่นหมายความว่า ถ้า Move On เร็วเราก็จะปรับตัวกับเทคโนโลยีได้เร็ว และเมื่อปรับตัวกับเทคโนโลยีได้ก็จะทำให้ปรับตัวไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

              การที่ธุรกิจปรับตัวได้ก่อนใครก็จะทำให้ธุรกิจเกิดเสถียรภาพ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นความท้าทายแห่งอนาคต ธุรกิจก็จะไม่สั่นคลอน และจะไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลจะทำให้ธุรกิจเกิดความยืดหยุ่นสูง จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างไรก็จะไม่กระทบภาพรวมของการประกอบการธุรกิจ

เมื่อความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของธุรกิจ

              ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นประเด็นที่มีบทบาทและความสำคัญกับองค์กรธุรกิจทุกขนาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเราเข้าใกล้ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งต้องมีความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สูงขึ้น ในจุดนี้ไม่ใช่สำคัญเฉพาะในแง่มุมขององค์กรเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ยังสำคัญกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าขององค์กรอีกด้วย เพราะผู้บริโภคในยุคนี้ก็มีความกังวลใจในข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่ฝากให้องค์กรธุรกิจรักษาไว้ หากองค์กรธุรกิจสามารถยืนยันและแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่า องค์กรสามารถปกป้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นได้ดี ผู้บริโภคก็จะเกิดความมั่นใจและไว้ใจองค์กร อันเป็นผลให้ผู้บริโภคยอมรับในศักยภาพและพร้อมที่จะกลับมาซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์นั้น ๆ อีก

              แต่อุปสรรคสำคัญองค์กรธุรกิจก็คือ การจะรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก ยิ่งโดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน การจะทำให้ระบบมีความปลอดภัยสูงจนผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจจะต้องอาศัยทีมงาน ถึง 3 ฝ่ายในการช่วยกันดูแล นั่นคือ ฝ่าย Developer, ฝ่าย Security และ ฝ่าย Operation ซึ่งในทางปฏิบัติจริงแล้วกระบวนการทำงานของแต่ละฝ่ายก็มีความซับซ้อนมาก การจะสร้างสรรค์พัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ออกมาทันตามความต้องการก็ต้องใช้เวลามากอยู่แล้ว ยิ่งต้องให้แต่ละฝ่ายเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัยของระบบเข้าไปด้วยยิ่งทำได้ยากเข้าไปอีก แต่ถ้าวันนี้องค์กรตัดสินใจที่จะ Move On เริ่มเดินหน้า Digital Transformation ในทันที ปัญหาเรื่องความซับซ้อนในการใส่ความปลอดภัยเข้าไปในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามาช่วยอัปเกรดระบบการสร้างความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ โดยมีการทำงานภายใต้แนวคิด DevSecOps หรือการบูรณาการงานของ 3 ฝ่ายดังที่กล่าวมาเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ทีมงานทั้ง 3 ฝ่ายสามารถใส่ระบบความปลอดภัยเข้าไปในผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมากขึ้น[2]
[2] IBM Cloud Education, “What is DevSecOps”, From: https://www.ibm.com/cloud/learn/devsecops#toc-what-is-de-4dfNzJn-

              เมื่อองค์กรสามารถที่พัฒนาระบบหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูงออกมาได้ ผู้บริโภคก็จะมั่นใจและไม่เป็นกังวลกับการใช้งาน และความมั่นใจจากผู้บริโภคนี่เองที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจในวันนี้เติบโตตามเป้าที่วางไว้

              อย่างไรก็ดีรากฐานและศักยภาพ รวมถึงผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตที่ผ่านมา ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร และนั่นอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้บางองค์กรตัดสินใจที่ Break ชะลอการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจในช่วงนี้ไปก่อน และใช้ช่วงเวลานี้ในการศึกษาหาข้อมูลใหม่ ๆ จากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวต่อไป หรือเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก็นับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

              แต่จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด คงจะพอชี้ชัดและช่วยยืนยันได้ว่า Digital Transformation เป็นเรื่องที่ไม่ควรรอ ยิ่งตัดสินใจ Move On ก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเร็วมากแค่ไหน โอกาสใหม่ ๆ และความได้เปรียบในทางแข่งขันยิ่งจะเข้ามาหาองค์กรเร็วขึ้นเท่านั้น และไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเดินหน้านำองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัลแบบเต็มตัวในตอนนี้ หรือจะตัดสินใจชะลอการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ในช่วงนี้ออกไป เพื่อขอรับคำปรึกษาการชี้แนะแนวทางที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญก่อนก็ตาม AIS Business ร่วมกับ พาร์ทเนอร์บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ พร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยให้กับทุกองค์กรเสมอ ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลาย และด้วยทีมงานคุณภาพที่เชี่ยวชาญ จึงพร้อมอย่างยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนทุก ๆ องค์กรให้ก้าวสู่การเป็นองค์กรยุคใหม่ที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงตามที่ต้องการ

วันที่เผยแพร่ 4 สิงหาคม 2565

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที