การปรับปรุงคลังจัดเก็บวัตถุดิบและสินค้า ด้วยการผสานเทคโนโลยี 5G, IoT สู่ Smart Warehouse & Logistics แห่งอนาคต

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

ในขณะเดียวกัน การขนส่งหรือ Logistics ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ Warehouse เป็นอย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งต้นทุนสำคัญของธุรกิจหลายแห่งที่ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคง และสร้างความพึงพอใจแก่คู่ค้าหรือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่งจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ เองก็จะสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

ในบทความนี้ จะมุ่งเน้นถึงการนำเทคโนโลยี 5G และ IoT มาต่อยอดต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง ซึ่งทั้งสองเทคโนโลยีนี้ก็ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดไปสู่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่อื่นๆ อีกมากมายเข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการคลังสินค้าได้ในหลากหลายแนวทางด้วยกัน

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

5G & IoT: องค์ประกอบสำคัญของ Smart Warehouse และ Smart Logistics แห่งอนาคต

หากนึกย้อนถึงอดีตที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่งได้นั้นก็มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใดก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว หัวใจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพนั้น ก็ล้วนเกิดขึ้นจาก "ข้อมูล" ทั้งสิ้น

ข้อมูลภายในคลังสินค้านั้น ถือเป็นก้าวแรกที่จะทำให้การปฏิบัติงานภายในคลังสินค้าสามารถมีความถูกต้องและแม่นยำได้ จนในภายหลัง การต่อยอดด้านการนำข้อมูลคลังสินค้ามาใช้งานนั้นก็ได้แตกแขนงออกเป็นหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการคำสั่งการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าภายในคลัง, การทำนายแนวโน้มการใช้วัตถุดิบและสินค้าภายในคลังเพื่อนำไปต่อยอดสู่การเติมคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดการข้อมูลคลังสินค้าแบบอัตโนมัติ, การเชื่อมผสานระบบสู่เครื่องจักรในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำงานแบบอัตโนมัติ ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เพื่อนำข้อมูลในแต่ละส่วนมาผสานรวมกันและต่อยอดสู่การบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าในการรวบรวมและอัปเดตข้อมูลภายในคลังสินค้านั้น ย่อมต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายหรือ Network ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบต่างๆ ไปยังผู้ปฏิบัติงานหรือเครื่องจักรที่มีการใช้งาน ซึ่งก่อนหน้านี้ เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมนั้นก็คือ Wi-Fi และ Bluetooth ที่อาจจะเหมาะกับการใช้งานในบางพื้นที่สำหรับการติดตั้งในคลังสินค้า อันเต็มไปด้วยโลหะชิ้นใหญ่ๆ มากมาย ส่งผลให้เกิดการรบกวนกันของสัญญาณ และความครอบคลุมในการให้บริการเครือข่าย

ในขณะเดียวกัน สำหรับการขนส่ง ข้อมูลเองก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการขนส่งนั้นจะเป็นข้อมูลอีกประเภท ซึ่งก็คือข้อมูลของยานพาหนะ, ข้อมูลแผนที่การเดินทาง, ข้อมูลสภาพการจราจร, ข้อมูลสถานะของสินค้าที่ขนส่ง, ข้อมูลการขับขี่ยานพาหนะ ไปจนถึงข้อมูลรายการสินค้าและการจัดส่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดมาประมวลผลร่วมกันและจัดการกำหนดแผนการเดินทางที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละวัน และการวางแผนการลงทุนเพิ่มหรือลดยานพาหนะและเปิดคลังสินค้าใหม่ในระยะยาว

ในจุดนี้เองที่เทคโนโลยี 5G ได้เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในการทะลุทะลวงของสัญญาณที่ดี อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้งานในแบบ Private 5G สำหรับตอบโจทย์ด้านความเสถียร, ความเร็วในการตอบสนอง, การปกป้องข้อมูลธุรกิจจากภายนอก และการรองรับการใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบ สามารถเชื่อมต่อใช้งานได้กับอุปกรณ์และเครื่องจักรหลายชนิด อีกทั้งยังมีความครอบคลุมของสัญญาณเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ส่งผลให้การวางระบบเครือข่ายสำหรับคลังสินค้าแต่ละแห่ง หรือเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคารนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งกว่าในอดีต

สำหรับการรับข้อมูลจากบนยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้น 5G ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะของระบบเครือข่ายที่มีความครอบคลุมรับส่งข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องจากบนท้องถนนทั่วประเทศไทยเช่นกัน

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

ในขณะเดียวกัน IoT หรือ Internet of Things ก็กลายเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการของการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่งได้หลากหลายรูปแบบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Sensor เพื่อตรวจสอบข้อมูลสภาพแวดล้อมเฉพาะทางในบางส่วน, การใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่องจักรนำเข้ามาสู่ระบบบริหารจัดการคลังสินค้าในส่วนกลาง, การเชื่อมต่อข้อมูลจากยานพาหนะที่ใช้ภายในคลังสินค้าหรือใช้ในการขนส่ง, การเชื่อมต่อกล้องเพื่อนำข้อมูลภาพเคลื่อนไหวไปใช้ประมวลผล หรือแม้แต่การทำหน้าที่เป็นระบบเครือข่ายหลักสำหรับหุ่นยนต์และยานยนต์อัตโนมัติที่จะใช้งานภายในคลังสินค้าก็ตาม

การนำ 5G และ IoT มาใช้งานรวมกันภายในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่งนี้ จึงเป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก เพราะนอกจากจะทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน Network ภายในคลังสินค้ามีความเรียบง่ายและครอบคลุมมากขึ้นแล้ว ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าและการขนส่งแบบ Real-Time ก็ยังเป็นอีกสิ่งที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับการบริหารจัดการคลังสินค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ หรือการควบคุมเครื่องจักร, ยานพาหนะ และหุ่นยนต์ที่มีการใช้งานภายในคลังสินค้าและบนท้องถนนอย่างทันท่วงทีนั้นก็ยังกลายเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงแล้วในปัจจุบัน

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G & IoT ภายในระบบ Smart Warehouse และ Smart Logistics แห่งอนาคต

สำหรับปี 2024 และอนาคตที่กำลังจะมาถึงนี้ แนวทางในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G และ IoT ภายในคลังสินค้าที่น่าสนใจก็มีด้วยกันหลากหลายแนวทาง ได้แก่

1. การใช้หุ่นยนต์ภายในคลังสินค้า (Warehouse Robot)

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

หุ่นยนต์ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ Warehouse ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเป็นลำดับต้นๆ ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังได้อย่างอัตโนมัติ, รวดเร็ว, แม่นยำ, ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานได้ง่ายกว่าการใช้บุคลากรในการขนเคลื่อนย้ายสินค้าในหลายประเภท

หุ่นยนต์ที่มีการใช้งานภายในคลังสินค้านั้น มีทั้งหุ่นยนต์สำหรับหยิบจับยกสินค้า, หุ่นยนต์สำหรับการคัดแยกประเภทสินค้า และหุ่นยนต์สำหรับบรรทุกสินค้าและเคลื่อนย้ายภายในคลังสินค้า โดยทุกการทำงานจะมีการอัปเดตข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังระบบบริหารจัดการคลังสินค้าโดยอัตโนมัติ ทำให้การก้าวสู่ภาพของ Smart Warehouse นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง

นอกจากนี้ ด้วยศักยภาพของหุ่นยนต์ที่นับวันจะยิ่งเก่งกาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้การออกแบบคลังสินค้าในแบบ Smart Warehouse นั้นสามารถปรับสู่การออกแบบเพื่อรองรับการทำงานของหุ่นยนต์โดยเฉพาะได้ ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดพื้นที่ระหว่างชั้นวางให้เพียงพอต่อการทำงานของหุ่นยนต์, การเพิ่มความสูงของชั้นวางให้มากขึ้นโดยยังคงสอดคล้องต่อคุณสมบัติของหุ่นยนต์หยิบสินค้าที่เลือกนำมาใช้งาน และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้การใช้งานพื้นที่สำหรับคลังสินค้านั้นมีความคุ้มค่ามากขึ้น ภายในคลังสินค้าบนพื้นที่เท่าเดิม สามารถบรรจุสินค้าจำนวนมากกว่าเดิมได้ ซึ่งก็ตอบโจทย์ต่อคลังสินค้าของธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความกดดันของราคาที่ดินที่นับวันจะยิ่งมีราคาสูงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในประเทศไทยก็มีตัวอย่างของการประยุกต์ใช้งานในลักษณะนี้แล้ว เช่น Somboon Advanced Technology ที่มีการนำทั้งหุ่นยนต์ประเภท 3D Vision Robot สำหรับการหยิบจับคัดแยกชิ้นงาน และ Unmanned AGV สำหรับการลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ มาทำงานร่วมกับระบบ AS/RS Smart Warehouse หรือ Automated Storage & Retrieval System 3D Warehousing ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ ที่จะช่วยจัดเก็บ หรือ ค้นหาสินค้าที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์ [1]

2. การประยุกต์ใช้ AI และระบบวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงภายในคลังสินค้า (Warehouse AI & Advanced Analytics)

AI เองก็กำลังเป็นอีกเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองสำหรับการบริหารจัดการคลังสินค้าในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา AI ด้าน Computer Vision สำหรับการตรวจสอบ, คัดแยก, จำแนก หรือค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อมูลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในแง่มุมที่หลากหลาย, การพัฒนา Machine Learning เพื่อทำนายแนวโน้มในการบริหารจัดการคลังสินค้า การทำงานของเครื่องจักร และอื่นๆ หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Natural Language Processing (NLP) เพื่อให้ AI สามารถตอบสนองต่อผู้ปฏิบัติงานได้โดยง่ายในการเข้าถึงข้อมูลหรือสั่งการใดๆ ต่อเครื่องจักรและหุ่นยนต์

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

เทคโนโลยี AI บางประเภทนั้นอาจสามารถนำมาใช้งานภายในคลังสินค้าหลายแห่งร่วมกันได้ ในขณะที่เทคโนโลยี AI บางส่วนอาจต้องถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานในรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวสำหรับคลังสินค้าแต่ละแห่ง ซึ่งจุดนี้เองที่จะเป็นจุดสำคัญในการเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับคลังสินค้าในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

หลายครั้งนั้น การบริหารจัดการ Warehouse และ Logistics ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป ซึ่งทาง McKinsey ก็ได้วิเคราะห์ผลการสำรวจที่น่าสนใจว่า ธุรกิจที่สามารถใช้งาน AI ได้สำเร็จนั้น จะสามารถปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ดีขึ้น 15%, สามารถบริหารจัดการปริมาณวัตถุดิบและสินค้าในคลังได้ดีขึ้นถึง 35% และสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ดีขึ้นถึง 65% เลยทีเดียว [2, 3]

3. การบริหารจัดการยานพาหนะและการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Vehicle Management & Transportation Management System)

การจัดการยานพาหนะและเส้นทางการขนส่งก็ยังคงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานด้าน Transportation และ Logistics ของธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและคุ้มค่า ซึ่งแน่นอนว่าการมาของ 5G และ IoT พร้อมกับ AI นั้นจะยิ่งเร่งให้กระบวนการเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคย

ในแง่ของการบริหารจัดการยานพาหนะ การเปลี่ยนยานพาหนะให้กลายเป็นยานพาหนะอัจฉริยะหรือ Smart Vehicle ก็ยังเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผสานอุปกรณ์ IoT Sensor และ GPS สำหรับรวบรวมข้อมูลของเครื่องยนต์และการขับขี่ หรือการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อติดตามการขับขี่, ผู้ขับขี่ และการเคลื่อนย้ายสินค้าบนยานพาหนะ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการด้านการซ่อมบำรุง หรือควบคุมคุณภาพการขับขี่ยานพาหนะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งสำหรับสินค้าที่มีความละเอียดอ่อนในการขนส่ง ก็สามารถควบคุมคุณภาพการจัดเก็บและการขนส่งเพิ่มเติมได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยข้อมูลจำนวนมากจากทั้ง GPS, IoT Sensor และกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งนั้น การประยุกต์ใช้ AI สำหรับระบบเหล่านี้จึงเป็นการต่อยอดที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นจากภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI เพื่อทำนายแนวโน้มความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์เพื่อทำ Preventive Maintenance, การใช้ AI วิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ของเจ้าหน้าที่ในเชิงลึกมากขึ้น, การเรียนรู้ Pattern ในการขับขี่เพื่อตรวจจับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการขับขี่หรือการทำงานของเครื่องยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่, ยานพาหนะ และสินค้าที่กำลังขนส่ง

ทั้งนี้สำหรับธุรกิจขนส่งในแบบ Last Mile ที่มีการใช้จักรยานยนต์ในการดำเนินธุรกิจเป็นจำนวนมาก การใช้ Motor Tracker เพื่อตรวจสอบข้อมูลยานพาหนะและการขับขี่ รวมถึงตำแหน่งผ่าน GPS ในแบบ Real-Time ก็จะทำให้ธุรกิจมีข้อมูลในการสร้างประสบการณ์การขนส่งที่ดีแก่ลูกค้าปลายทาง และตรวจสอบคุณภาพของผู้ขับขี่ได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนการวางแผนเส้นทางการขนส่งในแต่ละวันด้วยระบบการขนส่งอัจฉริยะหรือ Transportation Management System ก็เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ธุรกิจซึ่งมีหน่วยขนส่งของตนเองเป็นจำนวนมากนิยมใช้งาน ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลแผนที่ เส้นทาง คำสั่งซื้อและคำสั่งขนส่ง พร้อมทั้งข้อมูลปัจจัยภายนอกอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำมาคำนวณประมวลผลหาเส้นทางที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดในการขนส่ง

อย่างไรก็ดี การมาของ AI ได้ยกระดับการคำนวณเหล่านี้ขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการค้นหาปัจจัยที่จะส่งผลต่อระยะเวลาและแผนการขนส่งที่เหมาะสมในแต่ละวัน เช่น หากเป็นวันที่มีแนวโน้มว่าฝนจะตก ควรมีการเผื่อเวลาในการเดินทางมากน้อยเพียงใด หรือหากยานพาหนะประสบกับการจราจรติดขัดที่ไม่คาดฝันหรือประสบอุบัติเหตุ ควรมีการแก้ไขเส้นทางการขนส่ง หรือแจ้งเตือนผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เป็นต้น

4. การตรวจสอบติดตามทรัพย์สินองค์กรแบบอัจฉริยะ (Smart Asset Tracking)

สำหรับทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่, มีมูลค่าสูง หรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการดำเนินธุรกิจ การนำเทคโนโลยี 5G และ IoT มาผสมผสานกับระบบ Asset Tracking นั้นถือว่ามีความจำเป็นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก โดยนอกจากการติดตามยานพาหนะดังที่ได้นำเสนอไปข้างต้นแล้ว การติดตามสิ่งอื่นๆ เช่น เครื่องจักร, ตู้คอนเทนเนอร์, ทรัพย์สินราคาสูงที่ถูกเคลื่อนย้ายภายในคลังสินค้าหรืออาคาร, สินค้าที่มีราคาสูงซึ่งเตรียมส่งมอบลูกค้า หรืออุปกรณ์ที่มีการนำไปติดตั้งใช้งานภายในพื้นที่อาคารของลูกค้า ล้วนจะช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบ ติดตาม และบริหารจัดการทรัพย์สินเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจไปด้วยในเวลาเดียวกัน

ในแง่ของการบริหารจัดการทรัพย์สิน การใช้เทคโนโลยี Smart Asset Tracking จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหรือสูญหายต่อทรัพย์สินเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีข้อมูลแวดล้อมที่ครบถ้วนสำหรับวิเคราะห์ตรวจสอบหาสาเหตุของความเสียหายหรือการสูญหาย อีกทั้งในหลายกรณี ยังสามารถนำมาต่อยอดเพื่อรวบรวมข้อมูลและทำ Preventive Maintenance ได้

ส่วนในแง่ของการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ การทำ Servitization เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากการขายผลิตภัณฑ์แบบขาด ไปสู่การเช่าใช้พร้อมคิดค่าใช้จ่ายเป็นการบริการแบบรายเดือนหรือรายปีแทน ก็ต้องอาศัยระบบ Smart Asset Tracking ในการติดตามผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ให้เกิดการสูญหาย และยังเป็นช่องทางในการรับส่งข้อมูลระหว่างผลิตภัณฑ์นั้นๆ และระบบ Cloud ของธุรกิจอีกด้วย

5. แพลตฟอร์มเชื่อมต่อและบริหารจัดการ IoT เอนกประสงค์ (IoT Connectivity Portal)

หากสำหรับธุรกิจทั่วไป Cloud คือระบบที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างอิสระ ในมุมของธุรกิจด้าน Warehouse และ Logistics การมีระบบ IoT Connectivity Portal ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ บน 5G และ IoT
สิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจองค์กรหลายแห่งเลือกที่จะเริ่มต้นวางโครงการด้านระบบ IoT พร้อมทั้งใช้แพลตฟอร์ม IoT กลางเหล่านี้ ก็เป็นเพราะวิสัยทัศน์ในการเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและอิสระของเหล่าผู้บริหาร ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถลองผิดลองถูกกับการนำอุปกรณ์ IoT รูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน และรับข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลต่อยอดได้อย่างคล่องตัว ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้มักรองรับการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลตามมาตรฐานสากลที่หลากหลาย พร้อมทั้งยังเปิดช่องทางให้ทำการปรับแต่งระบบสำหรับรับข้อมูลจากอุปกรณ์ที่มีความเฉพาะทางสูงได้

ด้วยเหตุนี้ ในอนาคตหลังจากนี้ ระบบ IoT Connectivity Portal จึงจะกลายเป็นอีกหัวใจสำคัญของการจัดการคลังสินค้าและการดำเนินการด้านคมนาคมขนส่งของธุรกิจ ไม่แตกต่างจาก Cloud ที่เป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจอย่างที่ผ่านมา

6. การตรวจสอบความเสียหายของหีบห่อ, วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ (Damage Detection / Inspection)

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการคลังสินค้านั้นก็คือการควบคุมคุณภาพในการขนส่งและการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสการเกิดความสูญเสียในการปฏิบัติงานให้น้อยลง ซึ่งส่งผลให้เทคโนโลยี Damage Detection หรือ Damage Inspection นั้นเริ่มถูกนำมาใช้ทั้งภายในสายการผลิตและภายในคลังสินค้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกเหนือจากข้อดีในแง่ของการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ข้อมูลที่ได้รับอย่างครบถ้วนรวดเร็วแม่นยำจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ยังสามารถนำไปต่อยอดใช้ในการตรวจสอบต้นตอของปัญหา และจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโดยรวม และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย

7. การวิเคราะห์แนวโน้มความเสียหายหรือการหยุดชะงักล่วงหน้า (Predictive Maintenance)

เมื่อคลังสินค้าเริ่มมีการใช้งานยานพาหนะ, เครื่องจักร และหุ่นยนต์มากขึ้น การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมก็กลายเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเทคโนโลยี Predictive Maintenance ที่มักถูกใช้ในสายการผลิตหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่เอง ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ได้เช่นกัน โดยสำหรับอุปกรณ์เก่าที่มีอยู่ดั้งเดิมนั้น ก็สามารถเสริมการใช้ IoT ทำหน้าที่เป็น Sensor ในการรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ได้

การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในคลังสินค้า จะสามารถช่วยลด Downtime ที่ไม่คาดฝันลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะสามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของธุรกิจได้ อีกทั้งยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงยานพาหนะ, เครื่องจักร และหุ่นยนต์ลงได้ ทั้งในแง่ของการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ และการลดรอบการตรวจสอบซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็นลง

8. การใช้อุปกรณ์สวมใส่พกพาในคลังสินค้า (Wearable & Mobile Technology)

หนึ่งแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในคลังสินค้านั้น ก็คือการนำอุปกรณ์ในกลุ่ม Wearable & Mobile Technology เข้ามาใช้งาน เช่น การสวมใส่นาฬิกาที่สามารถติดตามตำแหน่งและวัดข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ สำหรับในกรณีที่คลังสินค้าอาจมีความเสี่ยงหรืออันตรายจากปัจจัยต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบควบคุมความพร้อมในการปฏิบัติงาน, การใส่หมวกติดกล้องหรือแว่นอัจฉริยะ เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากมุมมของผู้ปฏิบัติงาน สื่อสารได้โดยไม่ต้องใช้มือ ประชุมงานแก้ไขปัญหาโดยส่งภาพจากหน้างานไปยังผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ได้ และอาจนำเทคโนโลยีอย่าง Mixed Reality (MR) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้มองเห็นข้อมูลต่างๆ ภายในคลังสินค้าได้ทันทีที่ต้องการ

คลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจองค์กรหลายแห่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน ดังนั้นการบริหารจัดการ Warehouse ที่มีประสิทธิภาพ จึงมักสะท้อนผลลัพธ์ต่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่ง หรือแม้แต่การให้บริการลูกค้าก็ตาม

9. Cold Chain Temperature & Humidity Integrity

สำหรับ Warehouse และ Logistics ที่เกี่ยวข้องกับ Cold Chain ซึ่งต้องมีการรักษาอุณหภูมิหรือความชื้นอย่างเหมาะสมนั้น การใช้ 5G และ IoT จะช่วยให้การตรวจสอบติดตามข้อมูลเหล่านี้เป็นไปได้อย่างง่ายดายและ Real-Time มากขึ้น ทั้งภายในคลังสินค้าเองหรือระหว่างขนส่งสินค้าระหว่างคลังก็ตาม รวมถึงยังสามารถที่จะรองรับการตรวจสอบติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้ตลอดทั่วทั้ง Supply Chain ตั้งแต่คลังสินค้า, สายการผลิต, การขนส่ง, การจัดเก็บปลายทาง ไปจนถึงหน้าร้านได้ ช่วยให้การควบคุมคุณภาพการจัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีความต้องการเฉพาะตัวนี้ดีขึ้นอย่างที่ไม่เป็นเป็นมาก่อน

10. Customer & Supplier Collaboration

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี AI ในการตอบสนองด้วยภาษาอย่างเช่น ChatGPT นั้น ได้เปิดโอกาสใหม่ในการปรับปรุงช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าและคู่ค้าของธุรกิจคลังสินค้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยการผสานเทคโนโลยี AI เหล่านี้เข้ากับช่องทางการสื่อสารออนไลน์อย่างระบบแชทของธุรกิจ ก็จะทำให้การเข้าถึงข้อมูล การโต้ตอบ การแนะนำแนวทางต่างๆ สามารถทำได้อย่างอัตโนมัติ

ทั้งนี้เมื่อผสานรวมเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ เข้ากับข้อมูลแบบ Real-Time ภายในคลังสินค้าที่รวบรวมได้จาก 5G และ IoT แล้ว ก็จะทำให้ AI มีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้นในการตอบสนองต่อแต่ละบทสนทนา อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในคลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

สนใจโซลูชัน Smart Warehouse หรือโซลูชันด้าน Smart Transportation & Smart Logistics ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันทีหรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/industries/transportation-and-logistic

วันที่เผยแพร่ 10 มกราคม 2567

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business