อุตสาหกรรมภาคการผลิตทั่วโลกต่างมุ่งเป้าก้าวสู่ยุคการผลิตอัจฉริยะ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักที่ภาคการผลิตนำมาใช้ยกระดับภาพรวมการทำงานของอุตสาหกรรม ทั้งส่วนของเครื่องจักร กระบวนการผลิต ตลอดจนกระบวนการจัดหาวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่มีผลต่อสังคมและภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นความท้าทายใหม่ว่า การปรับตัวและการพัฒนาจะมีความรวดเร็วและเท่าทันมากเพียงใด
โดยมีรายงานเชิงลึกจาก Deloitte ที่พบว่า 90% ของข้อมูลที่เกิดขึ้นในช่วงอุตสาหกรรม 4.0 ผู้ผลิตจำนวนมากยังไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้ครอบคลุมทั้งองค์กรได้ ซึ่งจากข้อมูลนี้ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า หากองค์กรยังไม่เร่งเปลี่ยนโฉมการผลิต และยอมรับในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล จะมีองค์กรภาคอุตสาหกรรมมากถึง 35% ที่จะต้องประสบปัญญาจนต้องเลิกกิจการในอีก 10 ปีข้างหน้า
ดังนั้นหนึ่งในเทคโนโลยีที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตก็คือ Cloud Computing อย่างเช่น ในปี 2564 เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีกับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล, เทคโนโลยีทางการแพทย์ และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างรายได้มหาศาลภายในปี 2573 นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในงานในหุ่นยนต์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบอัตโนมัติ โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของวงการการผลิตทั่วโลกต่อไปในอนาคต
ซึ่งไม่เพียงแต่จะมอบประโยชน์มากมายให้กับการดำเนินงานของภาคการผลิต แต่ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกสามารถเดินหน้าไปสู่การผลิตแบบอัจฉริยะได้ เราลองมาดูกันว่า Cloud Computing ได้มีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้างกับอุตสาหกรรมการผลิตในวันนี้ และจะมีความสำคัญอย่างไรต่อไปในวันข้างหน้า
จากประสิทธิภาพ Tech Cloud สู่แนวโน้มมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้น
เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เทคโนโลยี Cloud เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ในภาคการผลิตแล้ว การประมวลผลแบบ Cloud Computing ถือว่ามีบทบาทอย่างยิ่งในการเสริมศักยภาพในการดำเนินการผลิต เพราะเมื่อระบบอุปกรณ์เครื่องจักรการผลิตเป็นแบบ Internet of Things (IoT) จึงจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากผ่าน Cloud นอกจากจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลผ่าน Cloud แล้ว ยังจะต้องมีการกระจายข้อมูลเหล่านั้นออกไปประมวลผลและส่งกลับมายังระบบเครื่องจักรการผลิต เพื่อให้ระบบการผลิตดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามที่ต้องการ เทคโนโลยี Cloud จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการผลิต และอาจจะเรียกได้ว่า Cloud Computing เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ประกอบการชั้นนำของอุตสาหกรรมการผลิตนำมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนให้กับธุรกิจ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนำ Cloud Computing มาใช้ในภาคการผลิต ทำให้มูลค่าทางการตลาดภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น โดยประสิทธิภาพที่เทคโนโลยี Cloud สามารถมอบให้กับภาคการผลิตแบ่งออกได้ดังนี้
1. ลดความซับซ้อนของการบริหารจัดการสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน การหยุดชะงักของระบบห่วงโซ่อุปทานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตจะส่งผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะสินค้าบางชนิดขาดแคลน การบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในภาคการผลิตต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ แต่อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการภาคการผลิตไม่สามารถบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานได้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ก็คือ ความซับซ้อนของระบบห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในส่วนนี้การประมวลผลแบบ Cloud Computing สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและมอบประสิทธิภาพตามความต้องการให้กับผู้ประกอบการภาคการผลิตได้
การประมวลผลแบบ Cloud Computing ช่วยให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิตสามารถที่จะบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจได้สะดวกและลงตัวมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการติดตามสินค้าคงคลัง ติดตามและตรวจสอบคำสั่งซื้อ การจัดส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้า ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบดูแลได้แบบเรียลไทม์
2. การควบคุมคุณภาพการผลิต Cloud Computing สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการรับทราบถึงข้อมูลของสินค้าที่ผลิตได้อย่างละเอียดครบถ้วนมากขึ้น เซนเซอร์ IoT ในระบบการผลิตจะทำการส่งข้อมูลจำนวนมากของการดำเนินการผลิตในขั้นตอนต่าง ๆ ไปที่ศูนย์ข้อมูล และใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง AI ก็จะใช้การประมวลผลบน Cloud ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกจัดระเบียบและวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทราบได้ทันทีว่า การผลิตมีปัญหาหรือไม่ หากพบปัญหาควรจะปรับปรุงการผลิตอย่างไร
3. การจัดสรรทรัพยากรและแรงงาน เมื่อ Cloud Computing สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลการผลิตสินค้าอย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถออกแบบและวางแผนการผลิตได้ดีมากขึ้น ผู้ประกอบการจะมีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจและประเมินว่า ควรจะปรับเพิ่มหรือลดการผลิตในช่วงใดบ้าง จึงสะดวกต่อการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน และจัดสรรกำลังคน และเมื่อบริหารจัดการแผนการผลิตอย่างเหมาะสมได้ง่ายขึ้น ก็จะทำให้ธุรกิจประหยัดต้นทุนการใช้ทรัพยากรและพลังงานต่าง ๆ ไปได้มากนั่นเอง
ประสิทธิภาพที่เทคโนโลยี Cloud สามารถมอบให้กับอุตสาหกรรมการผลิตในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ภาคการผลิตสามารถที่จะดำเนินกระบวนการผลิตได้ดีขึ้น สอดรับกับความต้องการของตลาดและปรับตัวไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น เพิ่มความสามารถการทำกำไรให้กับธุรกิจภาคการผลิตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ภาพรวมของมูลค่าตลาดในอุตสาหกรรมการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเมื่อก่อนนั่นเอง
ก้าวสู่การผลิตอัจฉริยะ แตกต่างเพื่อศักยภาพการแข่งขัน
บทบาทอีกด้านหนึ่งของ Cloud Computing ที่ส่งผลดีอย่างยิ่งต่อภาคการผลิตก็คือ เป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ Smart Manufacturing ในอนาคต เพราะการประมวลผลแบบ Cloud สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการภาคการผลิตสามารถดึงเอาความสามารถของเทคโนโลยี AI มาใช้งานได้มากขึ้น เมื่อ AI สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทั้งความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะคิดค้น ออกแบบ และทดลองผลิตสินค้าใหม่ ๆ มานำเสนอแก่ผู้บริโภคได้รวดเร็วมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี 3D Vision และ Robot Vision ซึ่งเป็นกล้องอัจฉริยะประสิทธิภาพสูงร่วมกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มาช่วยผลิตสินค้าใหม่เพื่อทดลองออกสู่ตลาด และองค์กรภาคการผลิตใดสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือคุณค่าใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ก่อน ย่อมหมายถึงความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ในการแข่งขัน เพราะการผลิตแบบอัจฉริยะไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การผลิตที่รวดเร็วและมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่ต้องการเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาดอย่างลึกซึ้งด้วย
นอกจากนั้นแล้ว Smart Manufacturing ยังหมายถึงความสามารถในการทำงานร่วมกันของพาร์ทเนอร์และคู่ค้าขององค์กรด้วย ซึ่ง Cloud Computing เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้องค์กรภาคการผลิตสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลรวมถึงองค์ความรู้ที่จำเป็นในระบบห่วงโซ่อุปทานให้กับพาร์ทเนอร์และคู่ค้า เพื่อให้เกิดระบบการทำงานร่วมกันที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เมื่อองค์กรภาคการผลิตสามารถที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์และคู่ค้าได้อย่างสะดวก นั่นย่อมหมายถึงศักยภาพการแข่งขันที่เหนือชั้นขึ้นไปอีกระดับ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจโตอย่างก้าวกระโดด และทิ้งห่างจากคู่แข่งไปหลายก้าวได้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า Cloud Computing เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนในเทคโนโลยี Cloud นั้นจึงถือได้ว่าเป็นโอกาสและความคุ้มค่าที่ภาคการผลิตจะได้รับ ซึ่งภาคการผลิตสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานได้อย่าง ไร้รอยต่อ มีความจำเป็นต้องมีเครือข่าย 5G ที่ทรงประสิทธิภาพในการใช้งานร่วมกัน จึงจะทำให้ Cloud, AI และ IoT กลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแต่จะมอบประโยชน์อันหลากหลายให้กับผู้ประกอบการ แต่ยังจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตขับเคลื่อนไปสู่ Smart Manufacturing ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ AIS Business พร้อมอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นภาคการผลิตอัจฉริยะด้วยบริการ Digital Solutions ที่หลากหลาย ออกแบบไว้เพื่อรองรับการทำงานทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจในด้านอื่นแบบครบวงจร เราเดินหน้าสร้าง Digital Business Ecosystem เพื่อศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย ภายใต้แนวคิดเติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน เพื่อให้ภาคธุรกิจไทยมีขีดความสามารถใหม่และก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสได้ตามต้องการ
วันที่เผยแพร่ 23 สิงหาคม 2566
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที