การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 เป็นหนึ่งในนโยบายของ Thailand 4.0 ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนสถานะของประเทศไทย ให้กลายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” และในวารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ได้ระบุว่า “ Thailand 4.0 เปรียบดังเข็มทิศขนาดใหญ่ที่จะนำพาประเทศให้พัฒนาเทียบเท่าประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว ได้อย่างสมภาคภูมิ”
โดย Industry 4.0 เป็นการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ อีกทั้งยังเป็นตัวนำสำหรับใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมในยุคก่อน ๆ ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ดังนั้น Industry 4.0 จึงนับว่าเป็นการก้าวสู่ยุคเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลที่เหนือกว่า เพราะไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมการผลิต พนักงานในโรงงาน ผู้ประกอบการ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่จะได้รับผลของการเปลี่ยนแปลง แต่ยังรวมไปถึงภาคธุรกิจต่าง ๆ และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วย ที่จะต้องวางกลยุทธ์ใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เน้นความสะดวกและรวดเร็ว
ดังนั้นเพื่อให้ Industry 4.0 มีความสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง และเป็นรากฐานที่มั่นคง พร้อมที่จะส่งไม้ต่อไปยัง Industry 5.0 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงอีกหลากหลายองค์กรในอุตสาหกรรมการผลิต ได้ร่วมกันคิดค้นดัชนีสำหรับชี้วัดความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย หรือ Thailand i4.0 ขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการระบุความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน ช่วยให้การเข้าสู่ Industry 4.0 มีความเหมาะสม เป็นระบบ และมีขั้นตอน
ทำความรู้จักดัชนี Thailand i4.0 มาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต
ดัชนี Thailand i4.0 เป็นแพลตฟอร์มที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อชี้วัดความพร้อมของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตในยุค Industry 4.0 เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับประเมินศักยภาพความพร้อมของโรงงาน และผู้ประกอบการ รวมไปถึงบริษัทที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการจัดลำดับการปรับเปลี่ยนโรงงานอย่างเหมาะสมในแต่ละด้าน ช่วยตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจว่า ควรเริ่มต้นปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานอย่างไร ควรเลือกโซลูชันใดมาประยุกต์ใช้ หรือควรเลือกผู้รับเหมาระบบ System Integrator (SI) อย่างไร
จึงเรียกได้ว่า แพลตฟอร์ม Thailand i4.0 ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้อย่างครบถ้วนและตรงประเด็น เตรียมความพร้อมให้โรงงานสามารถพัฒนาศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่ Industry 4.0 ได้ โดยดัชนีชี้วัดความพร้อมของอุตสาหกรรมนี้ เป็นที่นิยมใช้ในหลายประเทศทั่วโลก อย่างในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีดัชนีที่ชื่อ Industry 4.0 Readiness และประเทศสิงคโปร์ มีดัชนี Smart Industry Readiness Index (SIRI)
และด้วยในแต่ละประเทศล้วนมีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีดัชนีชี้วัดความพร้อมของอุตสาหกรรมเป็นของตัวเอง ไม่สามารถนำมาใช้ด้วยกันได้ เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องของอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศ และข้อดีที่ประเทศไทยมีดัชนี Thailand i4.0 เป็นของตัวเองคือ ผู้ประกอบไม่ต้องพึ่งพาการประเมินศักยภาพจากแพลตฟอร์มของประเทศอื่น และผู้ประกอบการไม่ต้องใช้บริการผู้รับเหมาระบบจากต่างประเทศ อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล และประเด็นสำคัญคือ ก่อให้เกิดอาชีพใหม่อย่างผู้รับเหมาระบบ ลดอัตราการว่างงาน และเพิ่มเงินหมุนเวียนภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้
เข้าสู่ยุค Industry 4.0 ด้วย 6 แนวทางการพัฒนาจากดัชนี Thailand i4.0
ดัชนี Thailand i4.0 ช่วยยกระดับให้แก่ผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยผู้ประกอบการจะได้ทราบว่า ควรปรับเปลี่ยน หรือปรับปรุงองค์กรในด้านใด และจะต้องปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อให้องค์กรได้เปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมในยุค Industry 4.0 อย่างแท้จริง โดยสามารถแบ่งแนวทางการพัฒนาองค์กรเป็น 6 แนวทางดังนี้
โซลูชันอัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมการผลิต สู่การเป็นผู้นำในเวทีสากล
นอกจากดัชนี Thailand i4.0 จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ Industry 4.0 แล้ว ยังมีเทคโนโลยีและโซลูชันตัวช่วยอัจฉริยะ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ และช่วยให้การลงทุนปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ทำให้ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป หากผู้ประกอบการต้องการตอบโจทย์ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า จะต้องเร่งศึกษาและทำความเข้าใจดัชนี Thailand i4.0 และนำพาองค์กรไปสู่ Industry 4.0 เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรได้มีเวทีสากลสำหรับการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยให้องค์กรไปสู่เป้าหมาย ของการก้าวสู่ความเป็น Industry 4.0 ได้เร็วขึ้น AIS Business พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการด้วย เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (5G | FWA | Cloud & Platform) ที่สามารถต่อยอดสู่โซลูชันการผลิต และ ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ อาทิ 5G Infrastructure, 5G Factory Automation, Smart Digital Platform โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ สำหรับภาคการผลิต และช่วย Up-Skill และ Re-Skill เสริมศักยภาพในการทำงาน ช่วยแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นได้
โดย AIS Business คือผู้ช่วยที่ตอบโจทย์ด้านการให้บริการเพื่อก้าวสู่ Smart Manufacturing ด้วยโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุดครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมไปถึงแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก สนใจโซลูชันสำหรับภาพอุตสาหกรรมสามารถติดต่อทีมงาน AIS Business หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/industries/manufacturing
วันที่เผยแพร่ 12 มีนาคม 2567
ข้อมูลอ้างอิง
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business