5G MEC และ Edge ต่างกันอย่างไร? ธุรกิจควรเลือกวางระบบ Edge Computing อย่างไรให้ตอบโจทย์ธุรกิจ?

              ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ Edge Computing ได้มีบทบาทเป็นอย่างมากในฐานะของสถาปัตยกรรมที่เข้ามาเติมเต็มความสามารถของบริการ Cloud ให้การจัดเก็บ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลทั้งในรูปแบบของ Data Analytics และ AI เป็นจริงขึ้นมาได้ด้วย Latency ที่ต่ำ

              อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการวางระบบ Edge Computing นั้นมักยังเป็นไปในแบบการลองผิดลองถูกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อธุรกิจองค์กรเริ่มทดสอบการใช้งาน Edge Computing และเห็นถึงประโยชน์หรือศักยภาพของสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมต้องมองหาแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การวางระบบ Edge Computing เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ และรองรับการเพิ่มขยายระบบเพื่อครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

              ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่าง 5G MEC และ Edge รวมถึงโซลูชัน AIS 5G NEXTGen Platform ที่จะช่วยให้การติดตั้งใช้งานและเพิ่มขยายระบบ Edge Computing ของธุรกิจองค์กรเป็นไปได้อย่างคล่องตัว ครอบคลุม และมั่นคงปลอดภัยในหนึ่งเดียว

นิยามของ Edge Computing กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

              Edge Computing นั้นคือแนวคิดในเชิงระบบเครือข่าย ในการนำพลังประมวลผลเข้ามาอยู่ใกล้กับข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อลด Latency และ Bandwidth ที่ต้องใช้งานภายในระบบเครือข่าย

              แนวคิดดังกล่าวนี้เกิดขึ้นมาเนื่องจากเดิมทีนั้นการประมวลผลของธุรกิจองค์กรจำนวนมากมักอยู่บน Cloud ทำให้การรวบรวมข้อมูลจากสาขาต่างๆ ของธุรกิจนั้นจึงต้องมีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายขึ้นไปยัง Cloud ก่อน ซึ่งก็ทำให้เกิด Latency ที่นาน และใช้ Bandwidth ปริมาณที่สูง ดังนั้นแนวคิดของ Edge จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะ

              ที่ผ่านมาการวางระบบ Edge Computing นั้นมักเป็นไปในแบบที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ด้วยการนำอุปกรณ์ Edge Node ไปติดตั้งตามสาขาต่างๆ ขององค์กร และเชื่อมต่อเครือข่าย Network และ Internet ขององค์กร ทำหน้าที่เป็นทั้งระบบรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในหนึ่งเดียว พร้อมส่งข้อมูลบางส่วนขึ้นไปบน Cloud

              แนวทางนี้ถึงแม้จะเรียบง่าย แต่ก็ยังมีปัญหาหลายประการในการใช้งานจริง เช่น

  • สำหรับธุรกิจที่มีสาขาหลายๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีก หรือโรงงานหลายๆ แห่งภายในนิคมอุตสาหกรรม การติดตั้ง Edge Node ในทุกๆ สาขานั้นถือเป็นสิ่งที่ยากและซับซ้อน
  • สำหรับธุรกิจที่สาขาแต่ละแห่งมีขนาดไม่ใหญ่มากและอยู่ใกล้เคียงกัน การติดตั้ง Edge Node ในทุกๆ สาขาอาจไม่คุ้มค่าการลงทุน
  • บนยานพาหนะ หรือสาขาที่ต้องมีการย้ายหรือเคลื่อนที่ การติดตั้ง Edge Node สำหรับประมวลผลประสิทธิภาพสูงอาจมีประเด็นปัญหาด้านการจ่ายพลังงาน และการปกป้องระบบจากฝุ่น ความร้อน ความชื้น หรือปัจจัยอื่นๆ

              ด้วยเหตุนี้เอง แนวคิดในการวางมาตรฐานสำหรับการทำ Edge Computing ให้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างคุ้มค่าง่ายดายจึงเกิดขึ้นมา ภายใต้แนวคิด MEC นั่นเอง

Multi-Access Edge Computing (MEC): สถาปัตยกรรมมาตรฐานสำหรับ Edge Computing

              Multi-Access Edge Computing หรือ MEC นั้นได้กลายเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้งานของ Edge Computing ที่สามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้อย่างเหมาะสม โดยการนำระบบ Edge Computing หรือ Edge Node เข้าไปอยู่ภายในระบบโครงข่ายของผู้ให้บริการ Internet ในจุดที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งาน

              แนวทางนี้ทำให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ ที่ต้องการใช้งาน Edge Computing นั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ Edge Node ภายในแต่ละสาขาของตนเอง แต่สามารถใช้งาน MEC ที่อยู่ภายใน Internet ซึ่งเชื่อมต่อแต่ละสาขาอยู่แล้วได้ทันที ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อเหล่านี้ยังคงมี Bandwidth ที่สูง และมี Latency ที่ต่ำได้

              การที่ระบบ Edge Computing หรือ Edge Node ถูกย้ายออกจากระบบหรือสาขาของผู้ใช้งาน ไปสู่ฝั่งของผู้ให้บริการโครงข่ายนี้ ทำให้เกิดข้อดีแก่ภาคธุรกิจหลายประการ ได้แก่

  • สามารถเริ่มต้นใช้งาน Edge Computing ในพื้นที่ใดๆ ก็ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องลงทุนจัดซื้อติดตั้งด้วยตนเอง
  • สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบ Network ของธุรกิจและ Cloud ของผู้ให้บริการ Cloud รายต่างๆ ได้อย่างมั่นคงทนทาน ด้วยประสิทธิภาพที่สูง และเส้นทางที่มั่นคงปลอดภัย
  • ในระยะยาว สามารถเพิ่มขยายระบบให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ได้ง่าย และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก
  • แม้สาขาของธุรกิจจะมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้งาน MEC ได้อย่างคุ้มค่า โดยให้ระบบ Edge Computing ภายใน MEC รองรับการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลหลายสาขาในพื้นที่ใกล้เคียงรวมกันได้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า
  • ไม่ต้องกังวลกับประเด็นด้านสภาพแวดล้อมของ Edge ที่ต้องการใช้งาน เพราะภายใน MEC จะมีการควบคุมสภาพแวดล้อมเหล่านี้เพื่อรองรับ Workload ที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม

              จะเห็นได้ว่า MEC นี้ก็เปรียบเสมือนหน่วยย่อย ๆ ของ Cloud ที่ถูกนำมาติดตั้งให้เราได้ใช้งานที่สุดขอบของระบบโครงข่ายจากผู้ให้บริการ Internet นั่นเอง โดยถึงแม้ความสามารถจะไม่เทียบเท่ากับ Cloud ได้อย่างสมบูรณ์ 100% แต่ด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลายในปัจจุบัน ทั้ง Virtualization, Container และ Automation ต่างๆ นั้น ก็ทำให้การติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีแบบเดียวกับบน Cloud ภายใน Edge ที่ MEC นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

5G MEC ผสานรวม MEC เข้ากับระบบโครงข่าย 5G ตอบโจทย์ได้ครบวงจร

              เมื่อยุคของ 5G มาถึง MEC เองก็ได้ถูกวิวัฒนาการไปเป็น 5G MEC เสริมความเร็วในการเชื่อมต่อโครงข่ายจากอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมายัง MEC ได้ด้วยความเร็วที่สูงหลายร้อย Mbps หรือหลาย Gbps ได้แล้ว อีกทั้งด้วยข้อดีของ 5G เองที่สามารถปรับแต่งพฤติกรรมการให้บริการโครงข่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละ Workload เช่น การเน้นพื้นที่ครอบคลุม, การประหยัดพลังงาน, การรับส่งข้อมูลขนาดเล็กได้อย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงการรับส่งข้อมูล Streaming ขนาดใหญ่ได้อย่างมั่นคง ก็ทำให้ 5G MEC มีความน่าสนใจในการใช้งานยิ่งขึ้นไปอีก

              ตัวอย่างของ Application ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน 5G MEC ก็มีด้วยกันหลากหลายประการ เช่น

  • Immersive User Experience รองรับการใช้งาน AR, VR และ Metaverse ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่สูงของ 5G และการตอบสนองการประมวลผลอย่างรวดเร็วจาก MEC ทำให้การรับชมประสบการณ์ในโลกเสมือนเป็นไปได้อย่างไม่สะดุดติดขัดไม่ว่าจะใช้งานจากที่ใด
  • IoT & Robotic แน่นอนว่า 5G ถือเป็นระบบโครงข่ายที่ดีที่สุดในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT และหุ่นยนต์ในเวลานี้ ด้วยประเด็นด้านความเสถียรและการประหยัดพลังงาน รวมถึงรองรับการติดตั้งใช้งานในแบบ Private 5G ได้ ในขณะที่เทคโนโลยีทั้งสองนี้ต่างก็ต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลที่ตอบสนองได้ทันที ทำให้ 5G MEC กลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโซลูชันเหล่านี้เป็นอย่างมาก
  • Real-time Video Analytics & AI การวิเคราะห์ภาพจากวิดีโอนั้นจำเป็นต้องอาศัย Bandwidth ที่สูงจาก 5G และพลังประมวลผลที่สูงจาก GPU ภายใน MEC เพื่อทำการวิเคราะห์และตอบสนองอย่างรวดเร็ว
  • Smart Manufacturing ระบบโรงงานอัจฉริยะนั้นต้องใช้การผสมผสานเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้ง IoT, หุ่นยนต์, Video Analytics, AI และการเข้าถึงข้อมูลปริมาณมหาศาลบน Cloud การใช้ 5G MEC จึงสามารถตอบโจทย์ทั้งหมดนี้ได้อย่างครอบคลุม

AIS 5G NEXTGen Platform: แพลตฟอร์มสำหรับ Edge Computing สำหรับธุรกิจองค์กร พร้อมใช้งานได้แล้วทั่วไทย

              ธุรกิจสามารถสร้าง 5G โซลูชันตอบโจทย์ที่เหมาะกับความต้องการได้ง่าย และยืดหยุ่น เห็นภาพรวมของการใช้งาน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อให้เหมาะกับงบประมาณ และความต้องการในแต่ละช่วงเวลา ต่อยอดสู่โซลูชันนวัตกรรม 5G ที่จะช่วยธุรกิจให้พร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การทำงาน ให้ทันต่อโลกของการแข่งขัน ได้อย่างฉับไว ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีจาก AIS Business ดังนี้

  • 5G Network ระบบโครงข่าย 5G ที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ของผู้ใช้งานและ IoT ของธุรกิจได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศไทย
  • 5G MEC / Edge ระบบประมวลผลภายในโครงข่าย 5G ที่จะช่วยให้ทุกการประมวลผลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มี Latency ที่ต่ำ และยืดหยุ่นออกแบบได้ตามต้องการ
  • Cloud บริการ Cloud จาก AIS Business และพันธมิตรชั้นนำอย่าง Microsoft และ AWS
  • Applications ระบบ Business App สำเร็จรูปจาก AIS ที่พร้อมให้ธุรกิจนำไปใช้งานได้ทันที รวมถึงมี Platform รองรับ App ที่ธุรกิจพัฒนาขึ้นมาเองให้นำมาติดตั้งใช้งานได้ใน MEC ทั่วประเทศ

              AIS 5G NEXTGen Platform ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงการนำศักยภาพของ 5G และการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มาเสริมประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างสรรค์ 5G โซลูชันใหม่ๆได้ง่ายขึ้น ผ่านเพียงหนึ่งแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงการใช้งาน MEC ที่มีการจายอยู่ทั่วประเทศ ผนวกรวมกับโซลูชัน Hybrid Cloud จากผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำอย่าง Microsoft และ AWS รวมทั้ง Application Ecosystem จาก พาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการ SaaS ระดับโลก พร้อมเตรียมการก้าวสู่การใช้งานนวัตกรรม 5G ในระดับสากล

              ธุรกิจสามารถเริ่มต้นใช้งาน AIS 5G NEXTGen Platform ได้อย่างง่ายดาย โดยสามารถเริ่มต้นที่สาขาใดสาขาหนึ่งเพื่อทำการทดสอบและทดลองการใช้งานเทคโนโลยีก่อนทั้งในส่วนของ 5G และ 5G MEC จากนั้นจึงสามารถเพิ่มขยายในภายหลังไปยังภูมิภาคหรือจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้ทันทีที่ต้องการ

สนใจใช้งาน AIS 5G NEXTGen Platform ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 10 พฤศจิกายน 2565

Reference

  • Cloudflare, “What is edge computing?”, From: https://www.cloudflare.com/learning/serverless/glossary/what-is-edge-computing/
  • Singtel, “MEC VS Edge computing”, From: https://www.singtel.com/business/articles/mec-vs-edge-computing

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที