จากดัชนีอาหารโลกที่แสดงให้เห็นว่า ราคาอาหารโลกยังคงมีการดีดตัวสูงขึ้นจากช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดือนกันยายนของปี 2565 กับเดือนกันยายน 2566 ราคาอาหารโลกมีความแตกต่างกันเพียง 0.8 % เท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 30 ปีที่ได้มีการเก็บรวบรวมสถิติมา
ตัวเลขดังกล่าวนี้บ่งชี้ว่า เราได้เข้าสู่วิกฤตอาหารโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหานี้ เกิดจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ฤดูกาลมีความเปลี่ยนแปลง และเกิดภัยพิบัติรุนแรงหลายครั้ง จนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย และมีจำนวนไม่มากพอที่จะรองรับความต้องการบริโภคของประชากรทั่วโลก รวมไปถึงปัญหาสงครามระหว่างประเทศรัสเซียกับประเทศยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีราคาแพง และกระทบถึงอุตสาหกรรมภาคการผลิต ที่จำเป็นต้องขึ้นราคาอาหารและวัตถุดิบ
เพื่อรับมือกับวิกฤตอาหารโลก อนาคตของอุตสาหกรรมอาหารจึงถูกกำหนดทิศทางด้วยเมกาเทรนด์ที่น่าสนใจ คือ ธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากร โดยเทรนด์ทั้งหมดนี้จะถูกควบคุมด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภค และศักยภาพด้านการผลิตเป็นหลัก เพื่อให้อาหารในอนาคตของไทยมีความก้าวหน้า เท่าทันสถานการณ์วิกฤตที่กำลังเพิ่มความรุนแรง และเท่าทันต่อกระแสหลักของโลก
ซึ่งนอกจากวิกฤตอาหารโลกจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายย่อยที่เกี่ยวข้องกับอาหารทั้งหมดด้วย เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบ โดยผลเชิงบวก เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของอาหารที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็จะลดความสำคัญของธุรกิจบางประเภทลง
ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจทั้งหมดของไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานนี้ ผู้ประกอบการ หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เท่าทันเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ เช่น การปรับโฉมการให้บริการใหม่ การศึกษาเทคโนโลยีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น
5 เมกาเทรนด์ที่กำลังจะเข้ามาปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารไทย
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ได้กล่าวว่า “อาหารแห่งอนาคต จะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นทางออกของประเทศไทยและของโลก ที่อาหารจะไม่ใช่แค่อร่อยและอิ่มท้อง แต่จะเป็นของที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลก”
ซึ่งเมกาเทรนด์ที่จะเข้ามาปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมอาหารไทยให้กลายเป็นอาหารแห่งอนาคต จะประกอบไปด้วย 5 เทรนด์สำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนหน้าตาอาหารให้มีความยั่งยืน และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวข้ามวิกฤตอาหารโลกไปได้ โดยเมกาเทรนด์ดังกล่าว คือ
1.นวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ
2.โครงสร้างและจำนวนประชากร จำนวนประชากรมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างประชากร เพราะถึงแม้ว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกจะมากขึ้น แต่อัตราการเกิดของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงส่งผลให้โครงสร้างของประชากรมีความแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งหมายความว่า ความต้องการอาหารและการบริโภคอาหาร จะมีปริมาณที่ไม่เหมือนกันในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งความแตกต่างกันของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และสังคม ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยของโครงสร้างประชากร ที่มีผลต่อปริมาณอาหารและชนิดของอาหารที่บริโภค
3.ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย เมกาเทรนด์ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติวงการอาหาร จากรูปแบบดั้งเดิมให้กลายเป็นอาหารแห่งอนาคต เพราะมนุษย์ทุกเชื้อชาติเริ่มมีความรู้สึกว่า สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงคือสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ต่อสู้และผ่านวิกฤตต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ส่งผลให้การรับประทานอาหารมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป อาหารจะไม่ใช่เพียงรสชาติที่อร่อย แต่จะต้องสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารแห่งอนาคตจึงต้องเป็นอาหารที่ยั่งยืน และผลิตขึ้นจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4. ธรรมชาติที่ยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี จากความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่ทำให้โลกของเราเข้าสู่วิกฤตอาหารโลก ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน และฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนส่งผลให้วัตถุดิบทางธรรมชาติลดปริมาณผลผลิตลง และบางครั้งภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงก็สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม ปศุสัตว์ รวมไปถึงทรัพย์สินบ้านเรือนของประชากรภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกจึงมีความตื่นตัว และให้ความสนใจในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ธรรมชาติ
5.ภาวะเศรษฐกิจ และการจัดระเบียบโลก จากเมกาเทรนด์ที่กล่าวมาทั้งหมด ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการจัดระเบียบโลกใหม่ ด้วยการใช้กฎหมายเพื่อกำหนดแนวทางให้อุตสาหกรรมอาหารในแต่ละประเทศได้นำไปใช้ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ และสร้างทิศทางใหม่ให้กับอาหารแห่งอนาคต เช่น การออกกฎหมายที่กำหนดให้อุตสาหกรรมอาหารต้องระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคว่า อาหารที่กำลังรับประทานอยู่มาจากแหล่งที่ปลอดภัย เป็นต้น
Food Tech เทคโนโลยีสร้างหน้าตาอาหารแห่งอนาคตที่มีความยั่งยืน
เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่ออาหารแห่งอนาคต ได้เปลี่ยนกระบวนการผลิตอาหารจนสามารถสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย พร้อมคุณประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริโภค นำไปสู่ผลลัพธ์ในเชิงบวก นำไปสู่การยกระดับและการเพิ่มมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร
โดยในเรื่องนี้ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงเทพได้ให้ข้อมูลว่า แนวโน้มของตลาดอาหารอนาคตจะมีอัตราการเติบโตถึง 12.11% ภายในปี 2571 และภายในปี 2568 ตลาดอาหารแห่งอนาคตของโลกจะมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่บ่งชี้ถึงความสนใจและความตื่นตัวของอุตสาหกรรมอาหารได้ดีว่า ในห่วงโซ่อุปทานนี้ไม่ได้นิ่งเฉยต่อวิกฤตอาหารโลกที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น
ดังนั้นเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารที่ยังไม่ได้อัปเดตเทรนด์การเปลี่ยนแปลงนี้ ได้มีความตื่นตัวด้านความยั่งยืน เท่าทันต่อกระแสโลก เข้าใจพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และไม่ถูกกลืนหายไปจากห่วงโซ่อุปทาน ลองไปดูหน้าตาอาหารแห่งอนาคตกันว่าเป็นอย่างไร
1.สเต๊กจากพืช นวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printed Meat) เข้ามาสร้างสรรค์เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช ช่วยลดการฆ่าสัตว์ ลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะเรือนกระจก โดยนวัตกรรมนี้จะใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติจากแหล่งที่มั่นใจว่ามีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ มาทำเป็นหมึกพิมพ์ เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันจากพืชธรรมชาติอื่น ๆ เป็นต้น
จากนั้นเครื่องพิมพ์จะทำการพิมพ์หมึกซ้ำไปซ้ำมา จนสร้างเป็นโครงสร้างของเนื้อสัตว์ ที่ประกอบด้วยเนื้อแดง ชั้นไขมัน และเส้นเอ็น โดยที่รสชาติไม่ได้แตกต่างไปจากเนื้อสัตว์ของจริงเลย นวัตกรรมนี้ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเนื้อสัตว์ที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์จะเลียนแบบเนื้อสัตว์ได้จนแยกไม่ออก ในด้านคุณค่าทางสารอาหารก็ครบถ้วน อีกทั้งยังไม่มีคอลเรสเตอรอลที่เป็นโทษต่อร่างกายด้วย
2.ถนอมอาหารโดยไม่ผ่านความร้อน กระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสถูกนำมาใช้ถนอมอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยวิธีการทำให้ของเหลวในอาหารมีความเข้มข้นขึ้นโดยที่ไม่ใช้ความร้อน อีกทั้งยังใช้พลังงานน้อยลง ช่วยคงความสดใหม่ให้แก่รสชาติอาหาร และคงคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ยาวนานขึ้น กระบวนการนี้ ได้ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ด้านการรักษาคุณภาพอาหารแห่งอนาคต
3.อาหารเทคโนโลยี ภายในอุตสาหกรรมอาหารที่เริ่มลงทุนกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี จะมีการใช้ทั้งระบบอัตโนมัติ, เทคโนโลยี AI, ระบบ IoT และหุ่นยนต์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มปริมาณสินค้าในเวลาอันรวดเร็วแล้ว ยังช่วยลดกากอาหารจากการผลิต, ลดจำนวนของเสีย, ลดการใช้พลังงาน, ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, เพิ่มคุณภาพอาหาร และเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต
ซึ่งเทคโนโลยีทั้งหมดจะถูกนำมารวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน เพื่อการทำงานแบบครบวงจร และโดยส่วนใหญ่จะได้รับการออกแบบให้อยู่ในรูปลักษณะของหุ่นยนต์ ที่ได้รับการวางโปรแกรม และควบคุมความแม่นยำในการทำงานด้วยเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ที่จะช่วยให้การรับ-ส่งสัญญาณมีความเสถียร ซึ่งทำให้หุ่นยนต์ทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาหยุดการทำงานเพราะสัญญาณที่บกพร่อง โดยหุ่นยนต์ที่อยู่ในสายการผลิตอาหาร คือ
อาหารแห่งอนาคต (Future Food) และอาหารใหม่ (Novel Food) คือ อาหาร วัตถุดิบ และองค์ประกอบของอาหาร ที่ได้จากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต (Food Tech) โดยคำนึงถึงคุณค่าของสารอาหาร กระบวนทางเคมีในร่างกาย และการควบคุมสารที่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นหลัก วิธีการนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตอาหารโลกได้
โดยเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจาก “องค์การสหประชาชาติ” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) คือ อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต และอาหารใหม่ จะต้องลดความเสียหายอันเกิดจากการทำลายธรรมชาติ ไปพร้อม ๆ กับการรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน เพื่อคืนระบบนิเวศที่มีความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ ดังนั้นในกระบวนการผลิตอาหาร จะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุด ลดการสูญเสียอาหาร และมีระบบบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อช่วยรับมือกับวิกฤตอาหารโลก AIS Business พร้อมเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทย ทำให้ทุกเทคโนโลยีการผลิตทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยการให้บริการโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย พร้อมทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อรองรับทุกความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การเกิดเป็นอาหารใหม่แห่งอนาคตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และคืนความยั่งยืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก รวมไปถึงการให้บริการด้าน ICT Solution อย่างครบวงจร
วันที่เผยแพร่ 13 ธันวาคม 2566
Reference
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business