3 โซลูชันยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 2024 ตัวเลือกสำหรับภาคธุรกิจโดยเฉพาะ

              อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เป็นภาคการดำเนินงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะประกอบไปด้วยหลากหลายธุรกิจ เช่น การขนส่งสินค้า, การดำเนินงานด้านพิธีการศุลกากร, การนำเข้า-ส่งออกสินค้า และการบริหารจัดการคลังสินค้า เป็นต้น ดังนั้นกระบวนการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้มีความทันสมัย และไม่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานต้องหยุดชะงัก คือ การลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนในอดีตลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น

              เพราะความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น คือ การค่อย ๆ กลับมาเติบโตอย่างมั่นคงของสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการมีเพิ่มมากขึ้น ดังที่ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ทำการคาดการณ์เอาไว้ว่า ในปี 2567-2569 ความต้องการเช่าพื้นที่คลังสินค้าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.3% ต่อปี ความต้องการใช้บริการขนส่งสาธารณะจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10-12% ต่อปี และความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2-3% ต่อปี แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จึงเป็นความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

              และสิ่งที่จะเข้ามาเสริมเพื่อช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่เป็นกำลังสำคัญให้กับทุกภาคอุตสาหกรรม เปรียบเป็นเวทีให้กับทุกองค์กรได้พัฒนากระบวนการดำเนินงานขึ้นมาใหม่ เพื่อเป้าหมายและความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากวันนี้ไปสู่อนาคต ให้ไม่เหมือนเดิม

AI และความยั่งยืน เทรนด์ที่ห้ามพลาดสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

              เทรนด์ที่น่าจับตามอง และน่านำมาใช้งานสำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จะมีแนวทางการนำเทคโนโลยีมาใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีขนาดที่ลดลง มีความยั่งยืน และมีความสะอาดมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย การใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ การใช้งาน AI และแนวทางมุ่งมั่นเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

              โดยอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมอันดับแรก ๆ ที่ใช้ระบบอัตโนมัติ ผสมผสานกับการทำงานของ AI อย่างการใช้หุ่นยนต์ในคลังสินค้า, การขนส่งด้วยระบบอัตโนมัติ, การใช้ยานยนต์อัจฉริยะ และการใช้งานซอฟต์แวร์ด้วยระบบที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความหลากหลาย และมีจำนวนมาก เพื่อนำไปสู่ทางเลือกในการตัดสินใจ โดยเป้าหมายและความน่าสนใจของการใช้งานเทคโนโลยีนี้คือ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่มีความซ้ำซ้อน ลดจำนวนแรงงานให้น้อยลง และเปลี่ยนให้คนไปทำงานด้านอื่นที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถที่มากกว่า ลดข้อผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง ลดเวลาในการทำงานแต่ได้ผลงานในปริมาณที่มากขึ้น และประเด็นสำคัญ คือ สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสินค้าและบริการในระดับที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

              ส่วนแนวทางเพื่อช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ กลายเป็นแนวทางใหม่ที่นำไปสู่ความยั่งยืน อันเกิดจากความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการให้หน่วยงาน หรือองค์กรมีความรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต้นเหตุของโลกร้อน และสาเหตุของการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ด้วยความต้องการนี้ กลายเป็นแรงผลักดันที่มีอิทธิพลต่อทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่หันมาใส่ใจและสนใจในการวางกลยุทธ์เพื่อช่วยให้โลกนี้ดีขึ้น และเทรนด์นี้จะยังไม่จบสิ้นไปง่าย ๆ เพราะความต้องการโลกที่ดีกว่าจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้นำไปสู่ “ความยั่งยืน” ดังนั้นหากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ต้องการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง บนความพึงพอใจของลูกค้า และเอาชนะคู่แข่งให้ได้ การใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิวัติรูปแบบการทำงานจึงกลายเป็นเรื่องระดับองค์กรที่ต้องเร่งลงมือทำ

3 โซลูชันดิจิทัล จุดเริ่มต้นเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

              เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีและความยั่งยืน เชื่อว่าหลายองค์กรเริ่มมีการวางแผน และดำเนินงานไปแล้ว แต่แน่นอนว่ายังมีอีกหลายองค์กรที่เพิ่งเริ่มมองหาโซลูชันที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งโซลูชันแบบบูรณาการ จะต้องมีองค์ประกอบของการให้บริการระดับมืออาชีพ อย่างน้อย 2 อย่างขึ้นไป และจะต้องเป็นการให้บริการที่มีความแตกต่างกัน เพื่อผลลัพธ์ที่ไม่ใช่แค่ 1 แต่ต้องได้ถึง 2 ขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น

              1. โซลูชันเพื่อคลังสินค้าอัจฉริยะ การบริหารจัดการคลังสินค้า ที่รวมเอาทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และโซลูชันดิจิทัลเข้ามาช่วยในกระบวนการคลังสินค้า ทั้งการรับสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า และการจัดเก็บสินค้า เพื่อช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มความสะดวกแม่นยำ อย่างการใช้ระบบกระจายและจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ ด้วยการสนับสนุนของเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G และระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดได้อย่างอิสระ รองรับข้อมูลสินค้าได้หลากหลาย โดยไม่จำกัดว่าสินค้าจะมีจำนวนมากหรือจำนวนน้อย

              หรือการใช้ระบบลำเลียงและขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ ด้วยยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ทุกวัน อีกทั้งยังสามารถขนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่ง ไปสู่จุดหนึ่งได้อย่างอัตโนมัติ สามารถรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายโดยผ่านระบบควบคุมส่วนกลางได้ เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้าน คลังสินค้าอัจฉริยะได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/5G-and-iot/solutions/smart-warehouse

              2. โซลูชันเพื่อบริหารจัดการการขนส่งสินค้า โซลูชันที่ไม่เพียงช่วยให้การส่งสินค้ามีความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สินค้าถึงมือผู้รับได้อย่างตรงเวลา โดยผู้ประกอบการสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและสังเกตพฤติกรรมของพนักงานขับรถได้จากระบบบันทึกวิดีโอบนรถ และระบบ GPS ที่ใช้ติดตามรถ พร้อมด้วยการใช้งานร่วมกับระบบคลาวด์ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย

              ยิ่งไปกว่านั้นในการขนส่งสินค้าในแต่ละวัน ยังมีระบบที่ช่วยคัดเลือกเส้นทางที่สะดวกที่สุด และรวดเร็วที่สุด เพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน ลดเวลาในการเดินทาง และช่วยประหยัดต้นทุนที่ต้องเสียไปกับการเดินทางที่ไม่ได้รับการวิเคราะห์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้า

              ทั้งนี้ AIS Business มีให้บริการ Smart Vehicle Management ช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถบันทึกภาพวีดีโอ พร้อมระบบติดตามยานพาหนะผ่าน GPS รองรับมาตรฐาน DLT ของกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/5G-and-iot/solutions/smart-vehicle-management

              3.โซลูชันเพื่อการดูแลทรัพย์สินขององค์กร โซลูชันที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบทรัพย์สินขององค์กรได้แบบเรียลไทม์ สามารถติดตั้งได้ทั้งกับรถเทรลเลอร์ ตู้คอนเทนเนอร์ พาเลทสินค้า ตู้แช่อาหาร รถมอเตอร์ไซค์ส่งสินค้า และทรัพย์สินที่มีค่าขององค์กร เป็นต้น ด้วยการทำงานผ่านเครือข่ายที่มีความเสถียร ผู้ประกอบการจะได้ทราบอุณหภูมิของตู้แช่แข็งอาหารแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเกิดการเน่าเสีย อีกทั้งระบบแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โซลูชันเพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินสำหรับองค์กรธุรกิจ ได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/technology-and-solution/5G-and-iot/solutions/smart-asset-tracking

              โซลูชัน นวัตกรรม และเทคโนโลยี คือตัวช่วยให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์สามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ โดยที่ไม่ทำให้ห่วงโซ่อุปทานเกิดความเสียหายหรือหยุดชะงัก อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความยั่งยืนที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่การจะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ จะได้ต้องมีองค์ประกอบสำคัญที่จะต้องมีความเสถียรและเชื่อมั่นได้ นั่นคือเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่เปรียบได้ดังเส้นใยที่ยึดโยงธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน

              โดย AIS Business คือ ผู้ช่วยที่ตอบโจทย์ด้านการให้บริการ ด้วยโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นมากที่สุด ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย พร้อมทีมงานผู้มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมไปถึงแพลตฟอร์มจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก และโซลูชันเฉพาะเพื่อภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันด้านโลจิสติกส์ได้ที่ https://www.ais.th/business/enterprise/industries/transportation-and-logistic

วันที่เผยแพร่ 5 เมษายน 2567

ข้อมูลอ้างอิง

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที