เป็นที่รู้กันว่าภาคส่วนสำคัญที่ยังพอช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของไทยยังพอมีลมหายใจอยู่บ้างในปีนี้ คือ เรื่องการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม หากแต่สถานการณ์ ณ ปัจจุบันถือว่ายังคงมีความเสี่ยงเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และอาจลุกลามมาถึงภาคอุตสาหกรรมจนทำให้การดำเนินการอาจต้องหยุดชะงักไปได้
ดังนั้น การทำ Digital Transformation หรือการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology : OT) มาผสมผสานปรับใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมที่จะมาสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมประเทศไทยในช่วง New Normal และช่วยแก้ไขสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบันนั้น จึงมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุทั้งหมดนี้เอง AIS ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีนวัตกรรมและมีความร่วมมือมากมาย พร้อมกับมีโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่แข็งแกร่งทั่วประเทศครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จึงได้มีบทบาทที่ช่วยขับเคลื่อนในเรื่อง Digital Transformation ให้เกิดขึ้นจริงในหลาย ๆ ภาคส่วนได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสร่วมสัมภาษณ์กับคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ซึ่งถือว่าได้เปิดมุมมองของ AIS กับความก้าวหน้าในเรื่อง 5G สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงขอสรุปมุมมองที่น่าสนใจไว้ ดังนี้
จากการทำแบบสำรวจในหลาย ๆ ภาคอุตสาหกรรมที่ดำเนินการมานั้น อาจมองได้ว่าสถานการณ์การทำ Digital Transformation ในไทยตอนนี้เรียกว่ายังไม่ได้ตกขบวนไปสักทีเดียว และในหลาย ๆ อุตสาหกรรมยังมีความตื่นตัวกันอยู่เป็นส่วนใหญ่ หากแต่เมื่อเทียบในระดับสากลแล้วอาจจะยังคงอยู่ในระดับกลาง ๆ ณ ตอนนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นที่ส่งผลผลักดันให้กลุ่มภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำต้องเร่งปรับตัวเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งในเรื่องของการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การปรับตัวให้มีการทำงานแบบไร้การสัมผัส (contactless) มากขึ้น
ทั้งนี้ AIS เชื่อว่าแต่ละภาคส่วนน่าจะพบปัญหาหรือ Pain Point ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่ง AIS เชื่อว่าจะสามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนให้องค์กรภาคธุรกิจต่าง ๆ สามารถแก้ไขสถานการณ์ และความท้าทายที่กำลังเผชิญ เพื่อให้สามารถเริ่มการทำ Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่ AIS เริ่มต้นแล้วคือความร่วมมือกับทาง OMRON และ Mitsubishi Electric กับ TKK ที่นำเอาเทคโนโลยีของฝั่ง IT ไปผสมผสานกับฝั่ง OT เพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา
ณ ขณะนี้อาจจะมีประมาณ 3-4 ประเด็นที่เป็นความท้าทาย ได้แก่
หากมองดูสถานการณ์โลกปัจจุบันก็จะเห็นถึงพัฒนาการในการทำ Digital Transformation ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น AIS จึงหวังว่าจะสามารถช่วยนำเอาเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันกับกระแสโลกได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครรู้ทุกเรื่องในโลกใบนี้ ดังนั้น ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นผู้รู้จริงในธุรกิจนั้น ๆ จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยกันขับเคลื่อนไป และทำให้เกิดโซลูชันใหม่ ๆ ที่ปรับใช้ผสานผสานเทคโนโลยีในแต่ละฝั่งกัน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและเสริมศักยภาพในสายการผลิตหรือการทำงานในยุค New Normal ได้
ที่ผ่านมา ทาง AIS ได้มุ่งเน้นการวางรากฐาน 5G ให้มีความแข็งแกร่ง ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดของประเทศไทย รวมทั้งในพื้นที่ EEC ก็ครอบคลุมไปกว่า 95% แล้ว ซึ่ง 5G ของ AIS นั้นมีความถี่รองรับในทุกรูปแบบตามความต้องการที่จะใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในแนวกว้าง ครอบคลุมทั้งพื้นที่ด้วยย่านความถี่ 700 MHz หรือว่าต้องการให้มีความหน่วงต่ำ (Low Latency) ในย่าน 26 GHz ทาง AIS มีให้บริการครอบคลุมตามความต้องการของลูกค้าในทุกลักษณะการใช้งานทั้งหมด
ด้วยพื้นฐานของ 5G ที่ต้องเริ่มจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile) ดังนั้น อนาคตของ 5G จึงต้องขึ้นกับความก้าวหน้าของอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อย่างเช่นการให้บริการ 5G Fixed Wireless Access (5G FWA) ที่จะทำให้การเชื่อมต่อแบบไร้สายภายในองค์กรมีความใกล้เคียงกับการใช้สายเชื่อมต่อ รวมทั้งการทำให้สามารถรองรับเซ็นเซอร์ได้มากกว่าล้านอุปกรณ์ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ ทาง AIS มีบริการที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในลักษณะดังกล่าวแล้ว ซึ่งในโรงงานบางแห่งก็เริ่มใช้งาน 5G FWA ของทาง AIS แล้ว สามารปรับตัวกลายเป็น Smart Manufacturing เป็นที่เรียบร้อย และในอนาคตอันใกล้ก็กำลังจะเริ่มมีการใช้งาน Private Network ซึ่งการทำงานจะคล้าย ๆ กับ Private WiFi โดยให้บริการคลื่นความถี่ 5G ครอบคลุมได้ทั้งโรงงาน ทำให้อุปกรณ์แต่ละตัวสามารถสื่อสารกันผ่านสัญญาณ 5G ได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับอนาคตของ 5G ที่ AIS กำลังจะเดินไปต่อนั้น คือการสร้างโซลูชันแนวนอน (Horizontal Solutions) กับโซลูชันแนวตั้ง (Vertical Solutions) โดยที่
อีกความร่วมมือหนึ่งของ AIS กับทาง Mitsubishi Electric และ TKK นั้นจะเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำงานภายนอกโรงงานในยุค New Normal และลดการสัมผัสกันลงไปได้มากขึ้น ด้วยการผสมผสานระหว่างโซลูชันในฝั่งการผลิตอย่างระบบ SCADA กับเทคโนโลยี 5G ร่วมกัน จึงทำให้เกิดการทำงานสนับสนุนแบบระยะไกล (Remote Support) ได้ และสามารถติดตามดูแลสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่หน้างานแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้ จึงเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยี 5G นั้นสามารถสนับสนุนการทำให้เกิดโซลูชันทั้งภายในและภายนอกโรงงานในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแนวทางดังกล่าวคือสิ่งที่ AIS กำลังจะเดินไปต่อในการผลักดันให้โซลูชันมีการใช้งานจริงให้มากขึ้นในภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นกับความต้องการของลูกค้า และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อ ๆ ไปด้วย โดยคาดว่าในปีหน้า น่าจะได้มีความร่วมมือเพิ่มเติมเข้ามาอีกมากมาย
ตามเฟรมเวิร์กที่ AIS ได้วางกรอบสำหรับการคัดเลือกพาร์ตเนอร์ความร่วมมือนั้น จะเน้นในเรื่องการทำให้เกิดโซลูชันที่สามารถใช้งานได้จริงเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ยังพิจารณาลักษณะของพาร์ตเนอร์ ตามนี้ด้วย
โดย AIS จะช่วยสนับสนุนแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สร้างโซลูชัน และเมื่อโซลูชันพร้อมใช้งานแล้ว AIS ก็จะช่วยนำพาโซลูชันเข้าไปสู่ตลาด (Go To Market) เพื่อทำให้โซลูชันเริ่มมีการนำไปใช้งานได้จริงด้วย ซึ่ง ณ ตอนนี้ AIS ยังคงพยายามเฟ้นหาพาร์ตเนอร์ความร่วมมือในทุกภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงนี้จะมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในโรงงานหรือ Manufacturing เนื่องจาก AIS เห็นถึงศักยภาพที่จะโตขึ้นได้อย่างมากในเวลานี้
ทั้งนี้ AIS ยังมองว่าด้านสาธารณสุข (Healthcare) น่าจะเป็นอีกภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ณ ขณะนี้ คือการรักษาผู้ป่วยจากระยะไกล (Telemedicine) ผ่านการสนทนาทางวีดีโอ ที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าสนใจคือ ธุรกิจสื่อโฆษณากระจายเสียงแพร่ภาพ (Broadcasting Media) ที่เริ่มเข้ามาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีการทำ Digitization มากขึ้นในช่วงนี้ รวมทั้งฝั่งค้าปลีก (Retail) ที่มีการสร้างระบบการตลาดส่วนบุคคล (Personalization) มากขึ้น เป็นต้น ดังนั้น น่าจะได้เห็นความร่วมมือระหว่าง AIS กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
แน่นอนว่าเรื่องการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) นั้น คนในวงการ OT มีความกังวลและเป็นห่วงอย่างมากถึงมากที่สุด ครั้นแค่จะปรับให้โรงงานเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้ก็มีความกังวลแล้ว เป็นต้น ดังนั้น AIS จึงทำหน้าที่เป็นผู้นำเอาโซลูชันไปอธิบายให้คนฝั่ง OT ฟัง และสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากร พร้อมกับช่วยออกแบบเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อมีการทำ Digital Transformation แล้ว ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับภัยคุกคามที่มีอยู่มากมายในโลกดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ AIS จึงได้มีความร่วมมือกับบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมากมาย ซึ่งมีโซลูชันอยู่ครบในทุกระดับที่จะช่วยสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดความมั่นใจได้ว่าจะมีความปลอดภัยเมื่อมีการนำเอาโซลูชันไปใช้งานจริง จึงให้ความมั่นใจกับลูกค้าได้ว่า AIS สามารถดูแลครอบคลุมเรื่องความปลอดภัยได้ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับอุปกรณ์ จนถึงแอปพลิเคชันของโซลูชันที่ใช้งาน
แม้ว่าความร่วมมือระหว่าง AIS กับ Microsoft นั้นถือว่าเป็นครั้งแรกของฝั่ง Telecom ที่จับมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Provider) ชั้นนำระดับโลก แต่ AIS ก็จะยังคงเป็นผู้บริการแบบ Multi Cloud ดังนั้น จึงไม่ได้จำกัดเทคโนโลยีแต่อย่างใด อีกทั้งยังเชื่อว่าในอนาคตโซลูชันจะเป็นลักษณะแบบ Multi Cloud Environment ที่ต้องผสมผสานกับ Local Data Center อีกด้วย
ดังนั้นความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าได้ AIS จึงได้วางเฟรมเวิร์กระบบนิเวศน์ที่มีการร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญในทุกอุตสาหกรรม เพื่อนำเอาเทคโนโลยีที่แต่ละเจ้าเชี่ยวชาญมาประกอบกัน และต่อยอดจากความเชี่ยวชาญที่ AIS มี เพื่อส่งมอบโซลูชันที่ดีที่สุดให้ลูกค้า
ตอนนี้ถือได้ว่าแนวทางดังกล่าวเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Mega Trend) อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นไปอย่างมหาศาลถึงระดับ Double Digit ได้ ด้วยเหตุนี้ AIS จึงต้องการเร่งเครื่องเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม และสามารถทำให้เกิดการนำโซลูชันไปปรับใช้ได้จริง ซึ่งสำหรับมุมมองของ AIS กับภาคอุตสาหกรรมในด้าน Smart Manufacturing ในไทยนั้น ยังคงเห็นศักยภาพมากมายที่จะเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อยู่ก็ตาม
คุณธนพงษ์เชื่อว่าปัจจุบันเรื่อง “การเรียนรู้” เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการที่จะต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ในมือหรือไม่ เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่ “การนำไปใช้ (Adoption)” และ “คนที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้” มากกว่า ถึงจะทำให้เกิดความก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งที่ควรจะต้องพัฒนากันต่อไป คือเรื่องของการเริ่มปรับใช้ เรื่องการเรียนรู้มากกว่าการมีเทคโนโลยีขั้นสูงอยู่ในตอนนี้
ดังนั้น ตราบที่ยังคงเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเปิดใจกว้างกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เชื่อว่าสักวันหนึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยจะสามารถนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้สนับสนุนในยุค New Normal ได้สำเร็จ และจะสามารถประยุกต์ใช้งานต่อยอดได้อย่างหลากหลายอีกด้วย แต่ทั้งนี้ ความสำคัญอยู่ที่ต้องเริ่มต้นให้เร็วและกล้าที่จะเริ่มทำ เพราะการจะขึ้นไปสู่เวทีระดับโลกได้นั้นไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องมีเรื่องวิสัยทัศน์ เรื่องความกล้าที่จะลงมือทำจริง ๆ ดังนั้น คนที่มี Growth Mindset เท่านั้นถึงจะเป็นคนที่ทำได้สำเร็จ
สำหรับผู้ที่สนใจบริการธุรกิจจาก AIS เพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่ได้เลย
วันที่เผยแพร่ 3 กันยายน 2564
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที