เอไอเอส มุ่งสร้างการเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาเพิ่มเติมมากขึ้นจากการที่เป็นผู้ให้บริการในรูปแบบการสื่อสารทั่วไปให้เปลี่ยนมาเป็น Digital Life Service Provider อย่างยาวนานมากกว่า 7-8 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เอไอเอส เองยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และมองไปถึงอนาคตที่จะให้บริการแก่ลูกค้า โดยวางเป้าหมายจะเป็น Cognitive Tech-Co เพื่อตอบสนองความต้องการด้วยโซลูชันที่ดียิ่งขึ้น
Cognitive Tech-Co คืออะไร?
เอไอเอส อธิบายว่า การก้าวสู่ผู้ให้บริการในลักษณะการเป็น Cognitive Tech-Co นั้น ก็คือการเติมความอัจฉริยะลงไปในบริการหรือลงไปในโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความอัจฉริยะดังกล่าวจะช่วยให้ AIS Business สามารถรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า, รับรู้ถึงบริการที่ทางลูกค้าใช้อยู่ว่ามีปัญหาหรือต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในจุดใด โดยระบบที่เป็นแบบ Cognitive จะสามารถจัดการและแก้ไขในจุดนี้ได้
ความอัจฉริยะที่จะใส่ลงไปในโซลูชันใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะหมายรวมถึงเทคโนโลยีด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics), เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Intelligent IT), ระบบเครือข่ายอัตโนมัติ (Autonomous Network) โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นเอ็นจิ้นหลักเพื่อทำให้ เอไอเอส ก้าวสู่การเป็น Cognitive Tech-Co อย่างแท้จริง เพื่อสร้างประสบการณ์และคุณค่าที่ยอดเยี่ยมในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านทางกลุ่มการให้บริการใน 4 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย
AIS Business ช่วยธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
AIS Business คือส่วนบริการธุรกิจขององค์กรของเอไอเอส ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอโซลูชัน ในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ด้วยการช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับธุรกิจในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยบริการและเซอร์วิส ตลอดจนความเป็นมืออาชีพที่องค์กรต่างๆ สามารถไว้วางใจได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรในเมืองไทยสามารถที่จะใช้งานเทคโนโลยีในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ได้อย่างเต็มขีดความสามารถนั่นเอง
กลุ่มบริการและเซอร์วิสหลักๆ ของ AIS Business ที่กล่าวไว้ในข้างต้น ประกอบด้วย บริการด้านระบบ 5G Ecosystem, เทคโนโลยี Intelligent Network, แพลตฟอร์ม Digital Infrastructure and Platform เช่น Cloud หรือเทคโนโลยี IoT, ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Data-Driven Business และกลุ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับ Trusted Professionals ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา AIS Business สามารถสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการด้านไอซีทีในเมืองไทยได้อย่างน่าทึ่ง จนได้รับการันตีจาก GlobalData ในการสำรวจองค์กรระดับ Top 200 ของในประเทศไทย โดยทั้งหมดเห็นพ้องว่า AIS Business คือผู้นำในการให้บริการด้าน ICT อันดับหนึ่งจากการสำรวจในปีที่ผ่านมา
ตั้งเป้าวางรากฐานธุรกิจไทยให้มั่นคงและยั่งยืน
จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ AIS Business ตระหนักได้ว่า องค์กรธุรกิจในเมืองไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเร่งประสิทธิภาพด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงได้สร้างแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” (Growth, Trust and Sustainable) เพื่อให้ทั้ง AIS Business, คู่ค้า รวมทั้งลูกค้า เติบโตไปอย่างมั่นใจไปพร้อมๆ กัน ผ่านทางโซลูชันและโครงข่ายที่เชื่อถือได้ของเอไอเอส ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจในแบบ Sustainable Business ได้ในอนาคต
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ AIS Business ได้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของปี 2023 ไว้ตามประเด็นต่างๆ ดังนี้
เร่งการเติบโตของธุรกิจโดยการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล (Growing)
AIS Business พุ่งเป้าไปที่ประเด็นของการเติบโต ด้วยการเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยอาศัยเครื่องมือในการสร้างธุรกิจ ทั้งหลายให้ตอบโจทย โดยแบ่งออกเป็นแนวทางต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีโซลูชันที่น่าสนใจ อาทิ
บริการโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ (Trusted)
AIS Business สร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจที่จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจอยู่บนความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยไม่ว่าจะเป็นทั้งโครงข่ายหรือเซอร์วิส ตลอดจนโซลูชันต่างๆ ที่วางใจได้ ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้
สร้างระบบนิเวศนวัตกรรม เพื่อธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)
AIS Business พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสร้างระบบนิเวศสำหรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรต่างๆ มาพร้อมกับโซลูชันหลากหลายโซลูชัน อาทิเช่น โซลูชันที่เข้ามาช่วยในการบริการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยคาร์บอน การปล่อยน้ำเสียโดยใช้ข้อมูลแบบ real-time จากอุปกรณ์ IoT ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้
การสร้างสรรค์ Intelligent Digital Infrastructure
สิ่งที่ AIS Business กำลังมุ่งเน้นในปี 2023 ตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” พวกเขาได้ยกตัวอย่างไดอะแกรมที่น่าสนใจและนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมหลายแห่งเขาเรียกมันว่า Intelligent Digital Infrastructure หรือโครงสร้างดิจิทัลแบบอัจฉริยะ
โครงสร้างอัจฉริยะ Intelligent Digital Infrastructure ของ AIS Business
จากภาพไดอะแกรมเบื้องต้นนั้น AIS Business มีโซลูชันที่ครอบคลุมโดยองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการและใช้งานโครงสร้างดิจิทัลนี้ตั้งแต่การสร้างระบบเครือข่ายแบบ 5G ที่เป็นส่วนตัว (5G Private Network) เชื่อมโยงกับดีไวซ์และอุปกรณ์ IoT ในองค์กรของตน
ในกรณีทีต้องการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายไปยัง Cloud นั้น AIS Business ก็ได้จัดเตรียมโครงข่ายการเชื่อมโยงเชื่อมได้ทั้งแบบ 5G Wireless หรือแบบ Fixed Fiber Optics วิ่งไปบนเครือข่าย Intelligent Core Network ที่มีความอัจฉริยะ รวมถึงยังมีบริการการประมวลผลแบบ EDGE Computing รองรับในกรณีต้องการประมวลผลในระยะใกล้ๆ เป็นการตอบสนองด้านความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ
และเมื่อองค์กรต้องการเก็บข้อมูลไปไว้บน Cloud ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Cloud ที่เป็นแบบ Sovereign Cloud ซึ่ง Cloud รูปแบบนี้ AIS Business ได้รับการการรับรองมาตรฐานจาก VMware ในการเป็น VMware Cloud Verified Sovereign Cloud แล้ว ส่วนในกรณีที่บางองค์กรอาจจะวางข้อมูลไว้ระบบในดาต้าเซ็นเตอร์ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Multi-Location Data Centers อยู่ในหลายๆ แห่งทั่วประเทศ ก็สามารถทำได้เช่นกัน และสุดท้ายหากองค์กรต้องการวางระบบไปที่ระบบ Hyperscale Cloud ก็มีให้เลือกใช้ทั้ง Microsoft, AWS หรือ Huawei Cloud เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองด้านความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ Cloud นั่นเอง
กรณีศึกษาที่น่าสนใจจากลูกค้าองค์กร
แนวคิด Intelligent Digital Infrastructure นั้นถูกนำมาใช้จริงกับลูกค้าของ AIS Business ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นในกรณีของ Easy Buy ก็นำเอาโซลูชันของ AIS Business ไปใช้งานผ่านทาง โซลูชันเช่น 5G FWA and SD-WAN เป็นต้น
ถัดมาเป็นกรณีศึกษาของกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น SCG โดย AIS Business ได้นำเอาโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับระบบ Autonomous (เช่น Autonomous EV Truck) และใช้ระบบอุปกรณ์ด้าน IoT เข้ามาร่วมในการทำงาน (สามาถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 35%) รวมถึงการดึงเอาข้อมูลผ่านทางดีไวซ์นั้นๆ และส่งผ่านโครงข่ายอัจฉริยะที่วางไว้ ทั้งนี้ช่วยในเรื่องของการสร้างธุรกิจที่เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น
และส่วนของกรณีศึกษาจากทาง Somboon Manufacturing จะนำเอาระบบเช่น AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV เข้ามาช่วยในการจัดการและคำนวณด้านพื้นที่ทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มการใช้งานพื้นที่ได้สูงถึง 60% รวมถึงลดค่าใช้จ่าย OPEX ได้มากถึง 30% อีกด้วย!
สร้าง Ecosystem และ Partnership ได้แบบยั่งยืน
สิ่งที่ AIS Business มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานในปี 2023 นี้ ก็เพื่อจะเป็นการสร้างระบบที่มีความยั่งยืนไม่ว่าจะในส่วนของการสร้าง Ecosystem หรือการให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ โดยการผสานกันทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม โดย AIS Business มีโซลูชันที่มีความอัจฉริยะในหลากหลายส่วน พร้อมกับยังร่วมมือกับองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมความอัจฉริยะในธุรกิจนั้นๆ ดังตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นให้เห็นแล้วในช่วงที่ผ่านมา และก็จะขยายเพิ่มเติมให้เห็นกันมากขึ้นตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” นั่นเอง
วันที่เผยแพร่ 24 เมษายน 2566
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business