Tech at the edge: เทคโนโลยีที่จะเข้ามาปรับโฉมไอทีและธุรกิจอนาคต

              รายงานคาดการณ์แนวโน้มด้านเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกของหลายแห่ง แทบเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปี 2023  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นในอัตราเร่ง (accelerating) ที่เพิ่มความเร็วจากยุคที่ผ่านมา และบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เพื่อวางรากฐานทางเทคโนโลยี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีต่างๆ มาพร้อมกับพลังการประมวลผลที่แรงขึ้น แบนด์วิธสูงขึ้น และความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนา นวัตกรรม ตลอดจนรูปแบบธุรกิจ และธุรกิจใหม่ๆ

              ความแพร่หลายในการใช้คลาวด์ และเทคโนโลยี 5G เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ของการเพิ่มความสามารถพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ได้เพิ่มขึ้นมหาศาล รวมถึงความเร็วของเครือข่าย จนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมสำคัญหลายด้าน นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่สร้างปรากฎการณ์ความเปลี่ยนแปลงอย่างโดดเด่นให้กับธุรกิจ ได้แก่ พัฒนาการของเมตาเวิร์ส(Metaverse) ที่มีการผสานเทคโนโลยีโลกเสมือนทั้ง Virtual Reality  (VR) และ Augmented

              Reality (AR) เข้าด้วยกัน ช่วยเปิดประตูสำหรับการทำงานด้านวิจัยและพัฒนาแบบเสมือนจริง ((virtual R&D) ผ่านเทคโนโลยี digital twins, และการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Immersive Learning)

2076631966

              ขณะที่ ความก้าวหน้าด้านเทคโนปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และซอฟต์แวร์ 2.0 (โปรแกรมที่เครื่องจักร/คอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมา) machine-written code สร้างอานิสงค์ให้เกิดบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตั้งแต่ยานยนต์อัตโนมัติ (Autonomous vehicles) ไปจนถึงระบบเครือข่ายของบ้านอัจฉริยะที่ควบคุมได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Connected homes) เป็นต้น

              ประเด็นหลักๆ ที่พบว่าคณะผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง เมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ได้แก่ การเพิ่มแรงกระตุ้นให้องค์กรขยับตัวได้อย่างสุดโต่ง ผลักดันนวัตกรรมไปให้ถึงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ปลายทาง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปฏิวัติสู่แนวทางใหม่ๆ สำหรับการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดเกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน โดยมีหัวใจสำคัญคือ ทุกคนในองค์กรต้องเข้าถึงประโยชน์จากนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญ อันเป็นผลลัพธ์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเท่าเทียม (democratizing)

              นั่นหมายความว่า IT จะไม่ใช่คงบทบาทอยู่แค่การถูกติดตั้งใช้งาน เพื่อการควบคุมการทำงานแบบรวมศูนย์   แต่จะกลายเป็น ผู้ผลักดัน (master enabler) และผู้ทรงอิทธิพล (influencer)  นอกจากนี้ ยังคาดหวังให้เทคโนโลยีใหม่ช่วยสร้างข้อมูลให้รู้จักลูกค้าได้มากขึ้น และสร้างให้เกิดจุดที่ลูกค้าสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์หรือธุรกิจ (touchpoints) พลิกโฉมการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า และมีความเข้าใจต่อความรับผิดชอบของบริษัทในด้านการรักษาความปลอดภัยในมิติที่หลากหลายขึ้น

4 เทคโนโลยีแห่งการเชื่อมโยงธุรกิจ-ลูกค้า พลิกโฉมอนาคต IT

              จากแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีข้างต้น ทั้งในด้านความก้าวหน้าและบทบาทที่จะเปลี่ยนแปลงไปสำหรับโลกการทำธุรกิจ ในปี 2023 บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก McKinsey ได้เผยแพร่รายงานของ Steve Van Kuiken หุ้นส่วนอาวุโสของสำนักงานฯ ในนิวเจอร์ซี่ ซึ่งระบุว่า บรรดานักวิเคราะห์ของ McKinsey ได้เทคะแนนเลือกให้แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรมากที่สุดในช่วง 3-5 ปีนี้  ประกอบด้วย 4 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากการพูดคุยกับบรรดาผู้นำทางธุรกิจ และนักคิดชั้นนำ โดยมีแนวคิดหลัก ก็คือ เป็นเทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง เกิดการนำไปใช้จริง และผู้บริหารอาวุโสมีการเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว ได้แก่

1843713700

              1.นวัตกรรมที่จุดเชื่อมต่อการทำงานกับระบบไอที (Innovation at the edge) ทั้งนี้ McKinsey ประมาณการณ์ว่า จะเห็นองค์กรมีความเคลื่อนไหวใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีเด่นๆ ได้แก่ องค์กรประมาณ 70% ติดตั้งเทคโนโลยี เครื่องมือ และกระบวนการบริหารจัดการระบบคลาวด์ทั้งประเภท hybrid cloud และ multi cloud, เทคโนโลยี 5G ที่ส่งมอบความเร็วในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายเพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยี 4G, ในปี 2025 คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกจะสูงกว่า  180 เซตตะไบต์ (หรือ 180 พันล้านเทราไบต์) เป็นต้น

              ขณะที่ ตลาดของแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรม มีแนวโน้มเติบโตต่อปีราว 30% ต่อเนื่องถึงปี 2030 ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมจากเครือข่ายส่วนบุคคลของผู้เชี่ยวชาญ ที่อยู่ตามจุดต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อการทำงานกับระบบไอทีขององค์กร และได้รับการสนับสนุนให้ขยายศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจขององค์กร

              เทคโนโลยีเหล่านี้ จะช่วยให้เข้าถึงพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบไร้ขีดจำกัดเสมือนจริง  รวมถึงชุดข้อมูลจำนวนมหาศาล และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจากการเข้าถึงแบนด์วิธได้ในราคาถูก สนับสนุนการทดสอบ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ๆ ได้ด้วยต้นทุนลดลงและง่ายดายยิ่งขึ้น เกิดการพัฒนานวัตกรรมจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์จากการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นได้ในอัตราที่เร็วยิ่งขึ้น องค์กรสามารถคาดหวังถึงความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นจากแหล่งสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะมีเพิ่มขึ้น  ดังนั้น องค์กรต้องออกจากกรอบการกำหนดกลยุทธ์แบบรวมศูนย์ และพัฒนานวัตกรรมโดยลำพัง แต่จำเป็นต้องไปเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายนอกองค์กร เพื่อสังเกตสถานการณ์ (spot), ลงทุน (invest in) รวมถึงเกาะติดโอกาสใหม่ (promising opportunities)

              2. วัฒนธรรมการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (A perpetual-learning culture) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning), หุ่นยนต์ (Robotics) และเทคโนโลยีอื่นๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เร็วขึ้นถึง 10 เท่าตัว โดยคาดว่าในปี 2025 จะเห็นการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในกลุ่ม IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรม (IIoT) ไม่ต่ำกว่า 50 พันล้านชิ้น เพื่อผนึกกำลังระหว่างเครื่องจักร การประมวลผลระบบคลาวด์ การวิเคราะห์ และบุคลากรเข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตของกระบวนการทางอุตสาหกรรม  (อ้างอิงความหมายตาม AWS ; https://aws.amazon.com/th/iot/solutions/industrial-iot/)

              ขณะที่ ในปี 2022 คาดว่ามีอุตสาหกรรมการผลิตถึง 70% ที่นำเทคโนโลยี digital twins เข้ามาใช้อย่างสม่ำเสมอ และปี 2025 จะเห็นแอปพลิเคชันใหม่ๆ ราว 70% ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี LC/NC ซึ่งผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Code) โดยเพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 25% เมื่อปี 2020 และคาดว่าตลาดเมตาเวิร์สทั่วโลก จะสร้างรายได้แตะหลัก 800 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 จากปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การแพร่หลายของเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีข้างต้น  จะทำให้เห็นความล้ำหน้าใหม่ๆ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ได้เทียบเท่ากับที่เคยใช้เวลานานถึง 100 ปีก่อนหน้านี้ (อ้างถึง  Peter Diamandis  นักอนาคตศาสตร์ และ entrepreneur)

              เมื่อการแพร่กระจายของเทคโนโลยี ผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมไปถึงส่วนปลายสุด ที่เป็นจุดเชื่อมต่อการทำงานกับระบบไอที  (Edge) ขององค์กร ธุรกิจจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อม สำหรับการทำงานร่วมกับแทบทุกจุดปฏิบัติการ และครอบคลุมไปถึงส่วนหน้างาน (front lines) ซึ่งจะสร้างโอกาสได้อย่างมหาศาล

              อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรลุผลตามความคาดหวังของธุรกิจ องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิด “ความชาญฉลาดทางเทคโนโลยีอย่างแท้จริง (true tech intelligence) ผ่านวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (perpetual-learning culture)  ซึ่งรวมถึงการอบรมบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ สร้างทีมนักพัฒนาภายใน จากผู้ที่ไม่มีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจ  (Citizen Developers) โดยสามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาในรูปแบบ No-Code/Low-Code (LC/NC) ที่ใช้งานง่าย ตลอดจนทำงานร่วมกับสภาพแวดล้อมใหม่า เช่น เมตาเวิร์ส ไปจนถึงนักพัฒนาที่มีความชำนาญทั้งระบบงานหน้าบ้านและหลังบ้าน (full-stack developers) และวิศวกร ตลอดจนผู้ที่จำเป็นต้องปรับทักษะอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

              องค์กรต้องให้ความสำคัญควบคู่กันไป ทั้งเรื่องการติดตั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ และการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดความคาดหวังต่อการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด และเข้าถึงการเรียนรู้นั้นได้อย่างง่ายดาย  สร้างให้เกิดชุมชนแห่งการแบ่งปันการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างให้สามารถทดลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีในการสร้างผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

              3. “ไอที” ทรานสฟอร์มบทบาทสู่การให้บริการ (IT as a service) มีตัวเลขคาดการณ์ตลาดแพลตฟอร์มให้บริการระบบหรือซอฟต์แวร์บนคลาวด์ ในลักษณะบริการย่อยหลายๆ บริการที่ทำงานร่วมกัน (Cloud microservices platform) ว่าจะมีมูลค่ารวมทั่วโลกสูงถึง 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2028 เมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อปี 2020 ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมีภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Code) ที่โฮสต์อยู่ใน

              GitHub มากกว่า 200 ล้านชุดคำสั่ง และคาดว่าภายในปี 2025 จะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์มากถึง 100 ล้านคน โดยเกือบ 90% ของนักพัฒนา มีการใช้ APIs และ Software 2.0 สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ในการเขียนซอฟต์แวร์และลดความซับซ้อน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหนุนสำหรับการจัดหาซอฟต์แวร์ผ่านแพลตฟอร์มบริการบนคลาวด์ คลังซอฟต์แวร์แบบเปิด (open repositories) และบริการซอฟต์แวร์ (Software as a Service: SaaS) ให้มีอัตราเติบโตต่อปีแตะระดับ 27.5% ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2021- 2028

              ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กดดันให้บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต้องปรับเปลี่ยนแบบฉับพลัน เพื่อที่จะสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่มีความผันแปรสูง (dynamic) วัฒนธรรมใหม่ขององค์กรในการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง และนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการทำงานจนไปถึงระบบทำงานปลายทาง (Edge) ดังนั้น IT จึงไม่สามารถยึดติดกับบทบาทเดิมๆ ที่เน้นการบริหารจัดการและควบคุมจากศูนย์กลางอีกต่อไป โดยความมีประสิทธิภาพของ IT จะอยู่ที่ศักยภาพในการช่วยให้บุคลากรในองค์กร สามารถเชื่อมต่อชุดคำสั่ง (code) สั้นๆ ที่เขียนขึ้นมาจนนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ได้

              ที่ผ่านมา มีตัวอย่างขององค์กรที่เกาะติดแนวโน้มนี้ และประสบความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรที่ “ไม่ใช่คนไอที” ให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์การทำงาน ได้แก่ พนักงานของบริษัท

              G&J Pepsi-Cola Bottlers ซึ่งแทบจะไม่มีหรือไม่มีประสบการณ์ด้านพัฒนาซอฟต์แวร์เลย แต่สามารถสร้างแอปพลิเคชัน สำหรับตรวจสอบภาพชั้นวางสินค้า เพื่อระบุเลข หรือประเภทขวดที่อยู่บนชั้นเหล่านั้นได้ และสามารถเติมสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

              จากผลสำรวจของ McKinsey พบว่า ในแต่ละเดือนมีผู้ใช้ในกลุ่มธุรกิจซี่งไม่ใช่คนแวดวงไอที กำลังสร้างแอปพลิเคชันใหม่ๆ หลายพันแอป ขณะที่ บริษัทที่ให้การสนับสนุนพนักงานในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อน (Citizen Developers) ให้พัฒนาระบบงานหรือแอปพลิเคชันโดยการใช้ low-code platform เป็นฐานในการพัฒนา จะมีคะแนนด้านนวัตกรรมสูงกว่าบริษัทในกลุ่มรั้งท้าย (bottom-quartile companies) ที่ไม่มีการสนับสนุนในเรื่องนี้ถึง 33%

              4. ทุกจุดแลกเปลี่ยนข้อมูล “ต้อง” ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ (Expanded trust boundaries) มีตัวเลขประมาณการณ์ว่า ในปี 2022 เกือบ 100% ของอุปกรณ์ที่รองรับการระบุตัวตนด้วยเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์  (Biometrics) อย่างเช่น สมาร์ทโฟน มีการทำธุรกรรมผ่านการยืนยันตัวตนด้วยเทคโนโลยีนี้ อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ก็ได้ก่อให้เกิดความไม่สบายใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี และผู้บริโภคเทคโนโลยี โดยจากผลสำรวจที่จัดทำร่วมกันของสถาบันเพียร์สัน (The Pearson Institute) และ Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research (AP-NORC) พบว่า 2 ใน 3 ของชาวอเมริกัน มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการถูกแฮกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล สถาบันการเงิน หน่วยงานรัฐ หรือสาธารณูปโภค

              เนื่องจาก “ความล้ำ” ของความสามารถและพลังเทคโนโลยีได้เพิ่มจำนวน touchpoints หรือจุดที่ผู้บริโภคจะสัมผัสกับเทคโนโลยีจำนวนมาก พร้อมกับข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับลูกค้าที่เพิ่มขึ้นปริมาณมหาศาล ลูกค้าเคยชินกับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี ตั้งแต่การซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ ไปจนถึงการตรวจสุขภาพตัวเองผ่านอุปกรณ์ส่วนบุคคล โดยที่ผ่านมาก็เต็มใจให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับความสะดวกสบายเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงยุคปัจจุบัน เมื่อประเด็นของความเป็นส่วนตัว และความน่าเชื่อถือ เริ่มเป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น ผู้บริโภคจึงเริ่มตระหนักเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสิทธิในอัตลักษณ์บุคคล การตัดสินใจจะขึ้นกับคุณค่าที่จะได้รับ เรียกร้องจริยธรรมให้มีการนำข้อมูลไปใช้ และ AI ที่มีความรับผิดชอบ

              ภายใต้บริบทใหม่เหล่านี้ องค์กรต่างๆ ต้องผลักดันให้ IT มีบทบาทเพิ่มขึ้น โดยต้องสามารถสร้างให้เกิดความเชื่อถือที่ครอบคลุมวงกว้างมากขึ้น ตามการขยายขอบเขตของภูมิทัศน์ด้านดิจิทัล ได้แก่ ความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และไซเบอร์

              บทบาทความรับผิดชอบของ IT จะซับซ้อนยิ่งขึ้น ตามความต้องการที่เพิ่มความถี่ขึ้นเรื่อยๆ ในการบริหารจัดการ และเสริมแกร่งความน่าเชื่อถือให้กับตลอดทั้งระบบนิเวศของเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั้งข้ามอุปกรณ์จำนวนมาก, ผู้ให้บริการ, ระบบงาน เป็นต้น

              องค์กรจำเป็นต้องติดตั้งระบบบริหารจัดการความน่าเชื่อถือ และการระบุตัวตน ไว้ที่ส่วนสำคัญสุด (core) ของจุดที่จะสร้างให้เกิดประสบการณ์ลูกค้า และกระบวนการทางธุรกิจ มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ อีกทั้ง IT จะต้องมีบทบาทหลักในการเฝ้าระวัง (monitoring) ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการติดตามระดับความน่าเชื่อถือที่ลูกค้ามีต่อองค์กรด้วย และการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจ (remediating) อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่องค์กรต้องตระหนัก ก็คือ การจะทำให้มั่นใจได้ว่าทุกจุดของกระบวนการทำงาน และทุกข้อมูลลูกค้าจะปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ ก็ต่อเมื่อมีการติดตั้งกระบวนการทำงานในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และความน่าเชื่อถือ เข้าไปบริหารจัดการให้ครอบคลุมถึงตลอดวงจรข้อมูลลูกค้าที่จัดเก็บไว้

              AIS Business พร้อมอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์มโซลูชันอันหลากหลาย เพื่อยกระดับให้องค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมรับมือกับทุกโอกาสและทุกความท้าทายที่จะเข้ามา เพื่อก้าวไปสู่มาตรฐานใหม่ที่ดีกว่าในอนาคต

วันที่เผยแพร่ 26 มกราคม 2566

Reference

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที