ความท้าทายที่องค์กรธุรกิจต้องเผชิญ ในการปรับธุรกิจไปสู่ 5G Business เพื่อตอบโจทย์แห่งอนาคต

              การนำ 5G มาใช้ในเชิงธุรกิจนั้นกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากองค์กรธุรกิจไทยและทั่วโลก เนื่องจาก 5G จะสามารถนำมาใช้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นสื่อกลางในการส่งมอบประสบการณ์แก่ลูกค้าในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี

              แน่นอนว่าท่ามกลางกระแสที่ร้อนแรงนี้ ก็ย่อมต้องมีปัจจัยหลายประการในการที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่การเป็น 5G Business ได้อย่างเต็มตัว และในบทความนี้ เราก็จะมาเจาะลึกถึงประเด็นด้านความท้าทายที่ธุรกิจต้องเผชิญ พร้อมคำแนะนำจากทีมงานของ AIS Business จากประสบการณ์จริงกันดังนี้

5G สำหรับองค์กรธุรกิจ เตรียมเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแส Digital Transformation

              หากอ้างอิงจากข้อมูลของ Allied Market Research นั้น ตลาด 5G สำหรับองค์กรธุรกิจ เตรียมเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแส Digital Transformation 5G Enterprise ทั่วโลกได้รับความคาดหวังว่าจะเติบโตมากถึง 33.9% ต่อปี จนมีมูลค่าสูงถึง 16,840 ล้านเหรียญหรือราว ๆ 555,720 ล้านบาทภายในปี 2028 ซึ่งนับว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก และทำให้องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับตลาดนี้กันอย่างยิ่งยวด[1]

Silhouette of 5G smart cellular network antenna base station on the telecommunication mast

              บทบาทสำคัญของ 5G ที่มีต่อภาคธุรกิจนั้นก็คือสื่อกลางในการเชื่อมผสานกลยุทธ์ทางด้าน Digital Transformation ที่มี Software เป็นหัวใจสำคัญ ให้สามารถทำการเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร, พนักงาน หรือลูกค้าเข้าถึงกันได้ด้วยโครงข่าย 5G ส่งผลให้องค์กรธุรกิจสามารถวางกลยุทธ์แห่งอนาคตบนความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการนำ 5G มาใช้งานนั่นเอง จากเดิมที่ Software เคยอยู่เฉพาะบน Cloud ขององค์กรหรือบน Mobile Device ของพนักงานและลูกค้า การมาของ 5G จะทำให้ Software เหล่านี้สามารถไปอยู่บนเครื่องจักร, ยานพาหนะ, สินค้า, ร้านค้า และอื่นๆ ขององค์กรได้ และช่วยให้สามารถนำเสนอสินค้า, บริการ และประสบการณ์ผ่าน Software แห่งอนาคตได้เป็นอย่างดี

              ไม่เพียงเท่านั้น การมาของ Metaverse เองที่ได้รับความสนใจจากองค์กรธุรกิจเป็นอย่างมาก ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะยิ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของ 5G ในฐานะของระบบโครงข่ายความเร็วสูงซึ่งมีประสิทธิภาพเพียงพอในการถ่ายทอดประสบการณ์บนโลก Metaverse ไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างไม่สะดุดติดขัด เรียกได้ว่าในอนาคตนั้น 5G กับ Metaverse จะต้องกลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกใช้งานร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว

              นอกจากนี้ 5G เองยังเกิดมาในยุคที่มีแนวคิดของการนำเทคโนโลยีด้าน Virtualization และ Container เข้ามาผสานภายในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ในมุมของผู้ให้บริการ 5G นั้น ระบบโครงข่าย 5G จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบโครงข่าย แต่ยังกลายเป็นระบบ Edge Computing ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ในอีกทางหนึ่ง รวมถึงยังสามารถเสริมบริการและความสามารถใหม่ๆ เข้าไปในระบบ 5G ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เพียงแต่องค์กรธุรกิจจะสามารถพัฒนาระบบ Software ใหม่ๆ มาใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถร่วมมือกับผู้ให้บริการ 5G เพื่อนำความสามารถเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงข่าย 5G ได้อีกด้วย

              ด้วยเหตุนี้เอง 5G จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กลยุทธ์ด้านการทำ Digital Transformation และการลงทุนด้าน Software ขององกรธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

4 ความท้าทายสู่การเป็น 5G Business สำหรับองค์กรธุรกิจไทย

              ถึงแม้ว่า 5G จะมีความน่าสนใจในหลายแง่มุมทั้งในเชิงของโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี แต่สำหรับองค์กรธุรกิจที่ 5G ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากและแตกต่างจาก 4G ในอดีตอย่างสิ้นเชิง ก็ยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ ดังนี้

1. การทำความเข้าใจ Spectrum Band และเทคโนโลยีเบื้องหลัง 5G

              ในอดีตนั้นเราอาจคุ้นชินกับระบบโครงข่าย 4G ที่ไม่ว่าจะเชื่อมต่อใช้งานจากที่ไหนหรืออุปกรณ์ใดก็สามารถใช้งานเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูงได้เหมือนกัน ซึ่งถึงแม้ 5G สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปนั้นก็ยังคงส่งมอบประสบการณ์ในการเชื่อมต่อได้จากทุกที่ทุกเวลาเช่นเดียวกับ 4G แต่ในการใช้งานเชิงธุรกิจ 5G กลับมีรายละเอียดปลีกย่อยที่มากกว่านั้น

              เนื่องจาก 5G เป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อต่อยอดการเชื่อมต่อเครือข่ายให้รองรับการใช้งานในกรณีอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น และอุดจุดอ่อนของ 4G ในการนำไปใช้งานร่วมกับระบบ Internet of Things (IoT) หรือ Application เฉพาะทางอย่างในอดีต ทำให้การวางโครงข่าย 5G นั้นสามารถปรับแต่งเพื่อรองรับต่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. การเลือกย่านความถี่ (Spectrum Band) ที่แตกต่างกัน โดยย่านความถี่ที่ต่ำจะมีคุณสมบัติในการครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นวงกว้าง ในขณะที่ย่านความถี่ที่สูงจะครอบคลุมพื้นที่ที่แคบกว่า แต่ก็ได้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่สูงกว่า
  2. การเลือกรูปแบบการให้บริการของ 5G ที่สามารถปรับแต่งพฤติกรรมของการรับส่งข้อมูลได้จากการทำ Network Slicing ด้วยกัน 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่
    • eMBB (Enhanced Mobile Broadband) มีความเร็วที่สูงยิ่งขึ้น โดยในเชิงทฤษฎีนั้น 5G จะมีความเร็วที่สูงกว่า 4G ได้ถึง 20 เท่า ทำให้สามารถรองรับ Application ที่ต้องการ Bandwidth สูงได้เป็นอย่างดี
    • mMTC (Massive Machine Type Communications) สามารถรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้น โดยในเชิงทฤษฎีนั้น 5G จะรองรับอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อได้มากกว่า 4G ถึง 10 เท่า หรือประมาณ 1 ล้านอุปกรณ์ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ตอบโจทย์การนำไปใช้รองรับอุปกรณ์ IoT ใน Smart City หรือ Smart Manufacturing ได้อย่างเหมาะสม
    • URLLC (Ultra-Reliable & Low Latency Communications) สามารถลด Latency ของการรับส่งข้อมูลลงได้ โดยในเชิงทฤษฎีนั้น 5G จะมี Latency ที่ต่ำกว่า 4G ได้ถึง 30 เท่า ลดจาก 30ms เหลือเพียงต่ำกว่า 1ms รองรับ Application ที่มีความละเอียดอ่อนต่อ Latency ได้ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าองค์กรธุรกิจจะมีโจทย์ในการพัฒนาหรือใช้งาน Software รูปแบบใดๆ ก็สามารถทำการเลือกใช้งานโครงข่าย 5G ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้มากที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งจะต่างจาก 4G ที่ไม่สามารถเลือกในส่วนนี้ได้นั่นเอง

2. ความต้องการในการใช้งาน 5G ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงระหว่างภาคธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไป

              สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปนั้น โครงข่าย 5G ควรจะต้องเป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อได้จากทุกที่ทุกเวลาและมีความเร็วที่สูง ใช้งานได้ไม่สะดุดติดขัด แต่สำหรับการใช้งานในเชิงธุรกิจ โจทย์ที่ต้องคำนึงถึงนั้นอาจจะต้องมีความแตกต่างออกไป ดังนี้

  • การควบคุมหุ่นยนต์หรือยานยนต์แบบอัตโนมัติภายในพื้นที่โรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรม อาจต้องการระบบโครงข่ายที่มีความเสถียรสูง สามารถรับส่งข้อมูลภาพหรือวิดีโอจากกล้องที่ติดเอาไว้เพื่อนำไปประมวลผลและตอบสนองได้แบบ Real-time ซึ่งต้องอาศัยทั้งระบบโครงข่ายที่ดี และพลังประมวลผลบน Edge Computing ที่อยู่ใกล้
  • การติดตามยานพาหนะทั่วประเทศ อาจต้องการระบบโครงข่ายที่มีความครอบคลุมทั่วถึง และไม่เน้นการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลนัก แต่ต้องสามารถรับส่งข้อมูลขนาดเล็กได้อย่างต่อเนื่อง
  • การติดตามอุปกรณ์ Smart Watch ทางการแพทย์ อาจต้องการระบบโครงข่ายที่เข้าถึงได้ทุกซอกมุมภายในอาคารของโรงพยาบาล โดยรับส่งข้อมูลเป็นปริมาณน้อยในแบบ Real-Time
  • การวางระบบ Smart Building และระบบตรวจสอบ COVID-19 ภายในอาคารร่วมกัน อาจะต้องมีการผสมผสานระบบโครงข่าย 5G ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้รองรับต่อความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละระบบ เช่น ระบบ Smart Building อาจเน้นที่ความครอบคลุมและ Real-Time ในขณะที่ระบบตรวจสอบ COVID-19 อาจต้องการประสิทธิภาพ, ความ Real-Time และ Edge Computing เป็นต้น
  • การออกแบบระบบถ่ายทอดสดสำหรับธุรกิจสื่อ อาจต้องการทั้งประสิทธิภาพ, ความทนทาน และความต่อเนื่องในการรับส่งข้อมูล โดยไม่เน้นการรองรับการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในระหว่างถ่ายทอดมากนัก

              การทำความเข้าใจกับความต้องการของระบบ Software หรือรูปแบบการนำไปใช้งานให้ชัดเจนนั้น จะส่งผลให้ธุรกิจสามารถเลือกใช้โครงข่าย 5G ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการได้อย่างแม่นยำ และทำให้การพูดคุยออกแบบระบบร่วมกับผู้ให้บริการ 5G นั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังอาจได้มีโอกาสในการทดสอบระบบโครงข่าย 5G เพื่อพิสูจน์คุณสมบัติเหล่านี้ให้แน่ใจก่อนตัดสินใจใช้งานจริงได้อีกด้วย

3. การผสานกลยุทธ์ 5G ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้าน Cloud

              Cloud Continuum[2] นั้นได้กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กรธุรกิจแห่งอนาคตไปแล้ว ด้วยแนวคิดของการใช้งาน Cloud ในทุกๆ รูปแบบร่วมกัน ครอบคลุมทั้ง Public Cloud, Private Cloud, Hybrid Cloud, Multi-Cloud, Edge Computing โดยมีเทคโนโลยีอย่าง 5G และ Software-Defined Networking เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละระบบ Cloud เข้าด้วยกัน เพื่อให้องค์กรธุรกิจนั้นมี Cloud ที่เหมาะสมกับ Workload ในทุกๆ รูปแบบ และมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบได้ตามต้องการ

              แน่นอนว่าในภาพนี้ อีกเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากก็คือ Software-Defined WAN (SD-WAN) ที่จะเข้ามาเสริมทั้งในแง่ของการบริหารจัดการระบบเครือข่าย, การเสริมความมั่นคงทนทาน, การจัดการด้านประสิทธิภาพ, การทำ QoS ไปจนถึงการเสริมความมั่นคงปลอดภัยในการเชื่อมต่อเครือข่าย ด้วยการใช้โครงข่าย 5G และการเชื่อมต่อ Internet ในช่องทางอื่นๆ มาทำงานร่วมกัน

4. การเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเสริมให้การนำ 5G มาใช้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

              ถึงแม้ 5G จะมีข้อดีหลายประการ แต่ด้วยความที่ 5G นั้นยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับองค์กรธุรกิจ ดังนั้นการนำ 5G มาใช้งานจึงต้องมีประเด็นเชิงเทคนิคอีกมากมายที่ต้องคำนึงถึง ตั้งแต่การเลือกว่าจะใช้เสาสัญญาณของผู้ให้บริการโดยตรง, การติดตั้งเสาสัญญาณด้วยตนเอง, จุดติดตั้งและรูปแบบการกระจายสัญญาณ, การเลือกรูปแบบการตั้งค่าต่างๆ, อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ, การวางระบบบน Edge Computing ไปจนถึงการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลบนโครงข่าย 5G

              อย่างไรก็ดี องค์กรธุรกิจไม่ควรกังวลต่อประเด็นเหล่านี้มากจนเกินไป เพราะหากมองในภาพใหญ่แล้ว 5G ก็ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับทุกคนที่ต้องมาเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่เหมือนกันหมด ดังนั้นการมองว่าประเด็นเหล่านี้ถือเป็นโอกาสที่ทำให้องค์กรธุรกิจได้มีโอกาสเรียนรู้และลองผิดลองถูกกับ 5G ก่อนคู่แข่ง และใช้โอกาสนี้ในการเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้ก้าวล้ำเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ ก็จะเป็นมุมมองที่ดีกว่าในเชิงธุรกิจ

              ทั้งหมดนี้ได้ทำให้เราเห็นภาพกันค่อนข้างชัดแล้วว่า 5G นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ยังต้องมีการนำมุมคิดในเชิงธุรกิจและ Ecosystem เข้าไปผสานไม่น้อย ซึ่งทาง AIS Business ก็พร้อมที่จะให้คำปรึกษา และเป็นพันธมิตรในการร่วมออกแบบเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ บน 5G ไปพร้อมกับคุณ

สนใจเทคโนโลยี 5G หรือ Cloud ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

วันที่เผยแพร่ 18 เมษายน 2565

Reference

  1. Allied Market Research, “5G Enterprise Market Expected to Reach $16.84 Billion by 2028”, 2021,ที่มา: https://www.alliedmarketresearch.com/press-release/5g-enterprise-market.html
  2. The Cloud Continuum Be ever–ready for every opportunity ที่มา: https://www.accenture.com/us-en/insights/cloud/cloud-continuum

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที