‘วังจันทร์วัลเลย์’ พื้นที่ Sandbox สำหรับนวัตกรรมธุรกิจการผลิตบนพื้นฐานเทคโนโลยี AIS 5G Testbed

โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) หรือวังจันทร์วัลเลย์ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เป็นพื้นที่ Sandbox สำหรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีความพร้อมทั้งด้านนโยบายและระบบนิเวศน์ที่รองรับ เช่น AIS 5G Testbed ที่เอื้อต่อการใช้งานระบบอัตโนมัติทุกรูปแบบ พร้อมผลักดันให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายไปควบคู่กับการสนับสนุนอื่น ๆ ในพื้นที่ EEC เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลให้กับผู้ประกอบการไทย

พื้นที่ภายในวังจันทร์วัลเลย์นั้นเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการจับจองที่ดินตลอดจนพื้นที่ในอาคารให้เช่าเพื่อการวิจัยและพัฒนา เป็นพื้นที่สร้างนวัตกรรมของธุรกิจที่มีความพร้อมในหลากหลายมิติ ทั้งเทคโนโลยีที่รองรับและนโยบายต่าง ๆ เช่น นโยบายด้านภาษีที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ

เพื่อผลักดันให้เกิดการค้นคว้า พัฒนา และทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้จริง กลุ่มธุรกิจของปตท. สผ. และ AIS 5G จึงได้ร่วมมือกันเปิดประตูสู่อนาคตใหม่ของพื้นที่ EEC ที่ต้องการผลักดันธุรกิจกลุ่ม New S-Curve ให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ตั้งเป้าดึงดูดความร่วมมือที่หลากหลายให้เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับวังจันทร์วัลเลย์ และ EECi ให้เป็นพื้นที่ 5G Testbed สู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและทดสอบโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่รวมถึงการเป็น Smart City แบบเต็มรูปแบบอีกด้วย

พื้นที่ EECi วังจันทร์วัลเลย์นี้มาพร้อมกับนโยบายการผ่อนปรนมาตรการหรือข้อบังคับต่าง ๆ ในรูปแบบของ Sandbox ตลอดจนความพร้อมของผู้เชี่ยวชาญและโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เอื้อให้การทดสอบในสภาพแวดล้อมจริงเกิดขึ้นได้ โดยมี 4 Sandbox รองรับ ดังนี้

  • UAV Sandbox – เปิดโอกาสค้นหาความเป็นไปได้ในการใช้งาน UAV และ Drone ทั้งยังเปิดพื้นที่การทดสอบภาคสนามสำหรับ UAV และเป็นศูนย์ฝึกอบรม UAV อีกด้วย
  • CAV Sandbox – รองรับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติและการเชื่อมต่อด้วยระบบนิเวศที่ครบครัน
  • NBTC Sandbox – การพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร
  • ERC Sandbox  – โครงการนำร่องด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการพลังงานและการค้าพลังงานของธุรกิจในพื้นที่ผ่านระบบที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่

Sandbox ต่าง ๆ ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์นั้นจะได้รับการผ่อนปรนข้อบังคับเพื่อให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมได้ ยกตัวอย่าง ในกรณีของ Drone ที่ได้รับการผ่อนคลายกฎต่าง ๆ เช่น ข้อบังคับที่ต้องใช้มนุษย์ควบคุมการบินเท่านั้นเท่านั้น หรือต้องมีการบินให้อยู่ในระยะสายตาเท่านั้น เป็นต้น

นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. และสำนักงานใหญ่ EECi ที่พร้อมสนับสนุนโซลูชันการผลิตยุค 4.0 ศูนย์ SMC ซึ่งมี Testbed ที่ครอบคลุมความต้องการของภาคการผลิตที่หลากหลายได้

ภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะของพื้นที่โครงการวังจันทร์วัลเลย์ ที่ต้องรองรับทั้งยานพาหนะไร้คนขับ Drone อัตโนมัติ เทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติที่มีความละเอียดอ่อนสูงของ SMC จะเห็นได้ว่ามีการใช้งานทรัพยากรระบบเครือข่ายเกิดขึ้นจำนวนมหาศาล ทั้งยังมีความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือความรวดเร็วในการตอบสนองที่มีมากที่สุดในระดับ Real-time ทำให้เทคโนโลยีและโซลูชันระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมต่อ EECi และวังจันทร์วัลเลย์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นวังจันทร์วัลเลย์ 5G Testbed ที่มี AIS 5G เป็นแนวหน้าร่วมทีมสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นในพื้นที่

วังจันทร์วัลเลย์ 5G Testbed ศูนย์กลางนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจไทยในยุคดิจิทัล

AIS 5G เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการสัญญาณที่ให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจอย่างโดดเด่นชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการด้านเครือข่าย 5G สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่ามี Ecosystem ที่สามารถใช้ได้งานได้จริง ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทั้งเทคโนโลยี IT และองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน OT

หนึ่งในคุณสมบัติสำคัญสำหรับการใช้งานระบบเครือข่าย 5G ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ คือ คุณสมบัติความหน่วงระดับต่ำ (Ultra Low Latency) เนื่องจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นมีความต้องการในการตอบสนองที่ฉับไวระดับ Real-time ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานระบบอัตโนมัติสำหรับการผลิตของ SMC ที่เต็มไปด้วยหุ่นยนต์และเครื่องจักรหลากหลายรูปแบบ การทดสอบยานยนต์อัตโนมัติ หรืออากาศยานอัตโนมัติ ซึ่ง AIS 5G ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลถึงอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก

เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมและการเป็น Sandbox ที่สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ได้จริงของวังจันทร์วัลเลย์ Ecosystem ของระบบเครือข่ายจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่น และมีการสนับสนุนผ่านเครือข่ายเพื่อลดเวลา Deploy สำหรับโซลูชันที่พัฒนาขึ้นมา AIS 5G จึงได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่นความถี่ 2600 MHz ซึ่ง AIS 5G สามารถใช้งานศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network เพื่อบริหารจัดการระบบได้ด้วยตัวเอง ทำให้การค้นคว้า วิจัย และพัฒนา ตลอดจนการทดสอบนวัตกรรมในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ที่มีความคล่องตัวสูง เกิดเป็นพื้นที่ 5G Testbed ที่พร้อมรองรับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ  และมีคุณสมบัติสำคัญดังนี้

  • 5G SA รองรับ Network Slicing ที่สามารถปรับแต่งเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละ Application และความหน่วงในการรับส่งข้อมูลที่ต่ำเป็นพิเศษ
  • Private Network ที่มีความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูง
  • 5G MEC (Multi-access EDGE Computing) ที่สนับสนุนให้เกิดการประมวลผลผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
  • PARAGON PLATFORM ที่สามารถปรับแต่งคุณสมบัติของ 5G, MEC , Edge และ Cloud ได้ตามต้องการ และ Marketplace ที่รวมแอปพลิเคชันเอาไว้ด้วยกัน

พื้นที่ Sandbox ของวังจันทร์วัลเลย์มี Ecosystem ด้านระบบที่พร้อมสำหรับการเป็น Testbed แล้วในวันนี้ การทดสอบนวัตกรรม รวมถึงการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจจึงเกิดขึ้นแล้วในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น SMC ของ NECTEC ที่มีการออกแบบโซลูชันด้านเทคโนโลยีการผลิตอย่างหลากหลายที่พร้อมให้คำปรึกษาและบริการกับผู้ผลิตที่สนใจ หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจและพร้อมสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว คือ Horrus ซึ่งเป็น AI Autonomous Drone System ที่ ARV (AI and Robotics Venture) บริษัทในเครือของ ปตท.สผ.  ได้พัฒนาร่วมกันกับโซลูชัน 5G จาก AIS 5G และพื้นที่ของวังจันทร์วัลเลย์

Horrus นวัตกรรม Drone อัตโนมัติพร้อม AI ตัวอย่างความสำเร็จจากวังจันทร์วัลเลย์ 5G Testbed

Horrus เป็น Drone อัตโนมัติที่ติดตั้ง AI เพื่อสนับสนุนการใช้งานหลากหลายรูปแบบ พัฒนาโดย AI and Robotics Ventures หรือ ARV ซึ่งเป็นบริษัทย่อยภายใต้บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP โดย Horrus ได้รับการพัฒนามาจนถึงรุ่นที่ 3 พร้อมจัดจำหน่ายและใช้งานเชิงพาณิชย์แล้วในวันนี้

Horrus นั้นเป็นโซลูชัน Drone อัตโนมัติพัฒนาโดยคนไทยในรูปแบบ Nested Drone ที่ใช้งานพร้อมกับสถานีชาร์จซึ่งเป็นทั้งฐานปล่อยตัวและฐานซ่อมบำรุง ถูกออกแบบมาเพื่อการตรวจสอบทางอากาศโดยไม่ต้องมีผู้บังคับ หรือใช้ในภารกิจตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่ห่างไกลหรือมีอันตราย มาพร้อมกับมาตรฐาน IP54 โดย Horrus สามารถย้ายไปมาระหว่างสถานีเพื่อทำการขยายระยะทำการได้โดยไม่จำเป็นต้องผูกติดกับฐานใดฐานหนึ่ง สามารถสั่งการทำงานในลักษณะของ Fleet ได้ โดย Horrus ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

  1. Drone Box ซึ่งเป็นฐานปล่อยตัว สถานีชาร์จและซ่อมบำรุง Drone
  2. Drone พร้อมกล้องที่สามารถทำงานได้ในระยะทางไกล
  3. ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แพลตฟอร์มบริหารจัดการ Flight ของ Drone รองรับการทำงานแบบ Fleet และ Machine Learning สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล

องค์ประกอบทั้ง 3 ของ Horrus นั้นจะทำงานพร้อมกันบนเครือข่าย 5G ที่มีความเสถียรและมีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อมและการผ่อนคลายข้อบังคับของ Sandbox ในวังจันทร์วัลเลย์ ทำให้ Horrus สามารถทดสอบการทำงานและเกิดการนำไปใช้ได้จริง

ปัจจุบันมีการใช้งาน Horrus เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ สามารถใช้ในการติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างอาคาร นอกจากนี้ยังร่วมมือกับกรมทางหลวงในการติดตามสภาพการจราจรช่วงปีใหม่ไทยเมื่อต้นปี 2566 ซึ่ง Horrus เองรองรับการติดตั้งและการบูรณาการเทคโนโลยีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานได้อย่างง่ายดาย

หนึ่งในหัวใจสำคัญของระบบอย่าง AI สามารถวิเคราะห์ภาพเพื่อต่อยอดการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าของการก่อสร้างอาคาร การตรวจสอบสิทธิ์ของยานยนต์ในพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดสามารถออกแบบแผนการทำงานอัตโนมัติและยังสามารถควบคุมด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มได้ สามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่การบินและพื้นที่ที่ห้ามเข้าถึงได้อย่างสะดวก การทำงานพร้อมภาพความละเอียดสูงและใช้งาน AI นั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อทำงานผ่านเครือข่าย 5G พร้อมการวางระบบประมวลผลไว้บน Edge หรือ MEC สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบ Real-time เช่น การจดจำยานพาหนะ การระบุความผิดปกติ หรือการติดตามวัตถุเคลื่อนไหว เป็นต้น

ความสามารถของ Horrus นั้นสามารถแข่งขันกับ Drone ต่างประเทศที่ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะในเรื่องของระยะทาง ประสิทธิภาพ ไปจนถึงราคาที่เรียกได้ว่าเข้าถึงง่าย มีการปรับแต่งเพื่อการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะใช้เพื่อตรวจสอบอาคารหรืองานตรวจสอบซ่อมบำรุงในพื้นที่เอกชน

นอกเหนือไปจากการพัฒนา Drone และ Testbed สำหรับเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดขึ้นแล้ว Roadmap ของวังจันทร์วัลเลย์แสดงให้เห็นถึงการวางนโยบายและ Ecosystem สำหรับการพัฒนาและทดสอบ CAV หรือยานยนต์อัตโนมัติที่จะเกิดขึ้นจริงในเวลาอีก 5 ปีนับจากนี้ เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนานวัตกรรมที่โดดเด่นเป็นไปได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามาจับจองพื้นที่ใช้งานหรือขอคำปรึกษาจากพันธมิตรในพื้นที่เพื่อพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันได้อีกด้วย

ภายใต้แนวคิดการมุ่งหน้าสู่ Cognitive Tech-Co ของ AIS 5G ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้งาน ประสิทธิภาพในการใช้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และความยั่งยืน รวมถึงการตั้งเป้าพัฒนา Autonomous Network Level 4 ในปี 2025 ทำให้ AIS 5G มีความพร้อมในด้าน Ecosystem Economy ที่เป็นการร่วมมือกันกับพันธมิตรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทุกอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ EEC ที่มีเครือข่าย 5G ครอบคลุม 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสภาพแวดล้อม 5G Testbed สำหรับวังจันทร์วัลเลย์จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมระดับ Cutting Edge จากฝีมือคนไทย ที่สามารถใช้งานได้ทั้งภาคการผลิต ธุรกิจ และตลาดผู้บริโภคภายในประเทศ

วันที่เผยแพร่ 3 สิงหาคม 2566

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ 

สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล 
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที