อาจเรียกได้ว่าวิกฤต COVID-19 คือตัวกระตุ้นให้โลกธุรกิจก้าวสู่ Digital Transformation อย่างเป็นทางการ จากก่อนหน้านี้ที่แม้ผู้ประกอบการหลายคนจะเริ่มตระหนักแล้วว่า ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่โลกดิจิทัล เพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในอนาคต แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ลงมือทำจริง
จนกระทั่งในวันที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับ COVID-19 ที่กลายเป็นไฟล์ทบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ “ดิจิทัล” ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตและการทำงานอย่างมาก เนื่องจากโลกของออฟไลน์กลายเป็นสิ่งต้องห้าม จากการที่คนต้องเว้นระยะห่างจากกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถนนทุกสายจึงมุ่งตรงมายังโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลก หรือแม้กระทั่ง SME รายเล็กๆ ล้วนต้องพึ่งพาและอาศัยดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจยังสามารถเดินต่อไปได้
มาดูกันว่า ผลพวงของ COVID-19 ครั้งนี้ได้สร้างให้เกิด Digital Transformation ให้กับภาคธุรกิจอย่างไร และจะมีตัวช่วยไหนบ้างที่จะมาช่วยสร้างโอกาสในยุค New Normal
การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ การทำงานจากข้างนอกในระยะไกล (Remote Working) ได้เข้ามามีบทบาทในองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานในรูปแบบ Work From Home กลายเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรใช้เป็นทางออกในช่วงวิกฤต และได้เห็นถึงประสิทธิภาพของการทำงานในรูปแบบดังกล่าว จนหลายๆ องค์กรตัดสินใจที่จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ ให้การ Work From Home หรือการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work From Anywhere) กลายเป็นทางเลือกให้กับพนักงาน
เพราะหลายองค์กรเริ่มเห็นข้อดีของการทำงานแบบ Remote Working ที่นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาและค่าเดินทางของพนักงานแล้ว องค์กรเองก็สามารถลดต้นทุนในด้านสถานที่ทำงานลงได้ด้วย เรียกว่า Win-Win ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการทำงานรูปแบบดังกล่าวก็มีอยู่เช่นกัน นั่นคือ อุปสรรคด้านการสื่อสาร แม้วันนี้จะมีเทคโนโลยีช่วยให้เราติดต่อกันได้ง่ายขึ้น แต่หลายครั้งการที่ไม่ได้พูดคุยกันต่อหน้า อาจสร้างให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ หรือเกิดความไม่คล่องตัวของการทำงานระหว่างทีม ดังนั้น หัวใจสำคัญของ Remote Working จึงอยู่ที่การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยให้การทำงานและการสื่อสารของคนในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น
นอกเหนือจากระบบการประชุมออนไลน์ ที่ถูกนำมาใช้อย่างมากกับการทำงานระยะไกลแล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการได้ เช่น องค์กรไหนมีความกังวลว่า หากพนักงานต้อง Work From Home อาจจะทำให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกไม่สามารถติดต่อได้สะดวก ปัญหานี้จะหมดไป เพราะปัจจุบันมีบริการที่เรียกว่า SME SMART MPBX ซึ่งเป็นการฉีกข้อจำกัดของโทรศัพท์สำนักงานเดิมๆ ด้วยการ ใช้เบอร์มือถือเป็นเบอร์กลางของบริษัท ดังนั้นธุรกิจจะไม่พลาดทุกการติดต่อสื่อสารอย่างแน่นอน เพราะเมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาจะมีเสียงต้อนรับอัตโนมัติ (IVR) และสามารถโอนสายไปยังมือถือทีละหมายเลขได้ สูงสุด 5 หมายเลข รวมถึงมีระบบฝากข้อความ (Voice mailbox) ในกรณีไม่มีผู้รับสาย ตลอดจนเบอร์มือถือพนักงานสามารถโทรหากันได้ฟรี ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ในการทำงานแบบ Remote Working จะไม่สะดุดเลย เพราะมีอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ได้ผ่านทาง Office 365 โดยทุกคนสามารถเข้าถึงเครื่องมือ Microsoft Office ได้จากทุกที่ ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์ที่มี ไม่ว่าจะเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ้ค และมือถือทั้ง iOS และ Android ดังนั้น พนักงานจะสามารถสร้างและแก้ไขเอกสาร Word, PowerPoint และ Excel ได้อย่าง Real-time รวมถึงมีบริการอีเมลสำหรับองค์กร พร้อมพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์ส่วนบุคคลขนาด 1 TB และบริการประชมุทางไกลผ่านวิดีโอที่มีความละเอียดสูงด้วย
เหล่านี้เป็นแค่เครื่องมือส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานในระยะไกล ง่าย สะดวก รวดเร็ว และที่สำคัญประสิทธิภาพของการทำงานที่ได้รับนั้นไม่ได้แตกต่างจากการทำงานในออฟฟิศเลย หรืออาจจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าด้วยซ้ำ
รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Digital Transformation ในยุค New Normal เท่านั้น ภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนกว่านั้น คงเป็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนการใช้ชีวิตไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น สะท้อนได้จากแนวโน้มการซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในช่วงการระบาดของ COVID-19 ถือว่าพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในอดีตที่มักจะมีการซื้อสินค้าออนไลน์สูง เพียงแค่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่เท่านั้น
ทั้งนี้ สอดคล้องกับผลสำรวจ ETDA ในเดือนมีนาคม 2563 พบว่าเกือบ 35% ของผู้บริโภคชาวไทยที่สำรวจหันมาสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มทางระบบออนไลน์กันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y (อายุ 19-38 ปี) และ Gen Z (อายุต่ำกว่า 19 ปี) และจากข้อมูลการสั่งซื้อสินออนไลน์บน Priceza.com ในเดือนมีนาคม 2563 มีการขยายตัวเพิ่มมากถึง 80% โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีหนังสือ สินค้าแม่และเด็ก อุปกรณ์สำนักงานและเครื่องเขียน ที่มียอดขายเติบโตมากขึ้นเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งใหญ่ของผู้บริโภคในช่วงวิกฤต ทำให้ภาคธุรกิจต้องดิสรัปตัวเองอย่างรวดเร็ว เพื่อพาธุรกิจก้าวข้ามไปอยู่ในโลกเดียวกันกับลูกค้า ด้วยการเพิ่มช่องทางซื้อขายออนไลน์ และบริการต่างๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตของลูกค้านั้นง่ายและปลอดภัยมากที่สุด
การเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์ ผู้ประกอบการสามารถทำได้หลากหลายช่องทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ฯลฯ หรือผ่านทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อย่าง Lazada ,Shopee เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อซื้อขายและสร้างความเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันการสร้างเว็บไซต์นั้น สามารถทำได้ง่ายภายใต้ต้นทุนที่ไม่สูง เนื่องจากมีรูปแบบของเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด
ยกตัวอย่าง Website D.I.Y. เป็นบริการที่ผู้ประกอบการสามารถสร้างเว็บไซต์ร้านค้าได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองบน www.yellow.co.th แหล่งรวมร้านค้าและผู้ประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันว่ามีตัวตนจริง โดยสามารถลงภาพ สินค้าและทำแคตตาล็อกออนไลน์ได้สูงสุด 6 รายการ รองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต (Mobile Responsive) อีกทั้ง ยังค้นหาสะดวกด้วย SEO ที่จะช่วยให้ร้านค้าถูกค้นพบบนโลกดิจิทัลได้ง่ายขึ้น
อีกหนึ่งบริการ คือ “จองสบาย” (JongSabuy) เครื่องมือออนไลน์ที่ตอบโจทย์ Social Distancing ในยุคนี้ ช่วยให้ร้านค้านำไปใช้รับจองคิวลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการภายในร้าน ให้การบริหารจัดการคิวเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมพนักงาน และอุปกรณ์หรือวัตถุดิบเท่าที่จำเป็นไว้ให้บริการได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้ง มีรายงานสรุปประวัติการรับบริการในแต่ละวัน และ ยังช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องไปรอคิวหน้าร้าน เพียงแค่จองคิวผ่าน Link Website หรือ QR Code จองได้จากทุกที่ ทุกเวลา มั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการอย่างแน่นอน เรียกได้ว่า เป็นบริการดิจิทัลเพื่อเข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้อีกด้วย
เมื่อพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน ผู้ประกอบการเองก็ต้องปรับวิธีการทำตลาดในการเข้าถึงลูกค้าด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญในการจะถึงลูกค้าได้ คือ ต้องรู้ก่อนว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือใคร และอยู่ที่ไหน พูดง่ายๆ คือ หากลุ่มเป้าหมายของตัวเองให้พบ เพราะยิ่งกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ก็จะช่วยให้การทำตลาดนั้นง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือการตลาดดิจิทัล สามารถช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพ เช่น Facebook, Google เป็นต้น
แต่ด้วยข้อจำกัดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ที่ยังขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการทำการตลาดออนไลน์ จึงทำให้ประสิทธิภาพของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลดลง แต่นั่นจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป เพราะมีบริการ Growbiz เครื่องมือที่จะช่วยขจัดจุดอ่อนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงโฆษณาผ่าน Facebook เพื่อทำการตลาดให้ถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สามารถซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์และสร้าง Campaign โดยมีระบบถาม-ตอบอัตโนมัติ คอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำวิธีการซื้อ และเลือกเป้าหมายของการซื้อโฆษณาได้เองว่าต้องการซื้อแบบเพิ่มยอด like บน Facebook Page หรือต้องการเพิ่มยอดคนเยี่ยมชมเว็บไซต์
นอกจากการทำตลาดผ่าน Facebook แล้ว ยังมีอีกเครื่องมือที่จะช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง นั่นคือ SME SMART MESSAGING เรียกว่าเป็นช่องทางโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยการส่งข้อความหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ข่าวสารข้อมูล กิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การร่วมสนุกชิงรางวัล, หรือจะเป็นการส่งข้อความแจ้งสิทธิพิเศษต่างๆให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ถึงตรงนี้ เชื่อว่าคงเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้นแล้ว ถ้าอยากเป็นธุรกิจที่สามารถไปต่อได้ เลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับการเปลี่ยนแปลง แล้วการทรานฟอร์มธุรกิจในยุค New Normal ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
วันที่เผยแพร่ 1 กรกฎาคม 2563
AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
"Your Trusted Smart Digital Partner"
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : [email protected]
Website : https://www.ais.th/business