นอกจากนี้ยังสามารถเข้าใจลักษณะการใช้งาน MEC ได้มากยิ่งขึ้น โดยดูจากความหมายของ Multi-Access Edge Computing ดังนี้
Multi-Access
ระบบประมวลผลที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้หลายหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย LTE, 5G, Wifi หรือ Leased Line
Edge
การย้ายระบบประมวลผลมาไว้ที่ขอบเขตของเครือข่าย ซึ่งในเทคโนโลยีนี้คือการนำระบบประมวลผลมาไว้ที่เครือข่ายไร้สาย หรือ Cellular Network เพื่อให้อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด
Computing
ระบบประมวลผลที่รองรับการทำงาน หรือ Application ที่ต้องการการประมวลผล รวมไปถึง response ต่อผู้ใช้งานอย่างรวดเร็วแบบ real-time
เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของการใช้งานระหว่าง Cloud ทั่วไปกับ MEC สามารถดูได้จากลักษณะการเชื่อมต่อดังภาพด้านล่าง
จะเห็นได้ว่า เมื่อระบบหรือ Application ใช้งานอยู่บน Public Cloud ทั่วไป การส่งข้อมูลนอกจากการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่ใช้งานแล้ว ยังต้องผ่านระบบต่างๆของเครือข่ายไปจนถึงการออกอินเทอร์เน็ต แล้วถึงจะสามารถส่งข้อมูลไปยัง Public Cloud ที่ใช้งานได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความล่าช้า หรือ latency ที่เกิดขึ้น มีความล่าช้ามากกว่าการใช้งาน MEC การใช้งาน Cloud ทั่วไปจึงเหมาะกับระบบหรือApplication ที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล หรือการประมวลผลที่ไม่จำเป็นการ response ต่อผู้ใช้งานแบบ real-time
ด้วยการวางสถาปัตยกรรมของการประมวลผลไว้ใกล้กับเครือข่าย หรือ network มากที่สุด ส่งผลให้ความล่าช้าของการรับ-ส่ง ข้อมูล (latency)นั้นเป็นเวลาสั้นมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้งานร่วมกับเครือข่าย 5G จะส่งผลสามารถทำให้ latency ต่ำกว่า 20 ms ได้ การใช้งาน MEC นี้จึงเหมาะสมกับระบบ หรือ Application ที่ต้องการความหน่วงต่ำ การประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว รวมไปถึงความต้องการ response ต่อผู้ใช้งานแบบ real-time ได้เป็นอย่างดี
การวางหน่วยประมวลผลไว้ที่พื้นที่การใช้งานเอง เช่นการตั้ง on premise server ถึงแม้ว่าจะสามารถช่วยลดระยะเวลาของการประมวลผล หรือ รับส่งข้อมูลได้ แต่ก็มีความแตกต่างในหลายแง่มุม อาทิ
การลงทุน (Investment) : การใช้งานแบบ On-Premise Server จะทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของ Hardware รวมไปถึง Software ด้วยตนเอง อีกทั้งยังจำเป็นต้องบริหารจัดการ และทำ maintenance ด้วยตนเองอีกด้วย ในขณะที่ค่าบริการการใช้งาน MEC จะคล้ายคลึงกับการจ่ายค่าบริการใช้งานคลาวด์ และไม่จำเป็นต้องทำการ maintenance ด้วยตนเอง
ความสามารถในการขยายขนาดของหน่วยประมวลผล (Scalability) : ถึงแม้ว่าการใช้งานแบบ On-Premise Server จะสามารถลด หรือ ขยายขนาดของการใช้งานตามความต้องการขององค์กรได้ก็จริง แต่ในกระบวนการทำงานจริงนั้นยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลา ในขณะที่ MEC ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสูงในปรับขนาดของการใช้งานหน่วยประมวลผล ซึ่งสามารถกำหนด การเพิ่มหรือลดนี้ได้จาก Software Platform เช่น AIS PARAGON Platform ช่วยให้สามารถปรับการใช้งานตามความต้องการใช้งานจริงได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
ความปลอดภัย (Security) : การเก็บหรือประมวลผลข้อมูลไว้บน On-Premise Server หรือในพื้นที่ขององค์กรเอง ทำให้การดูแลข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรนั้นๆ รวมไปถึงการทำ software update ของระบบที่ใช้ประมวลผลให้มีความทันสมัย ปลอดภัยต่อภัยทางไซเบอร์อยู่เสมอ ในขณะที่ระบบการประมวลผลแบบ MEC ก็มีความส่วนตัวสูงเช่นกันเนื่องจากอยู่ใกล้กับผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถออกแบบการเชื่อมต่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ MEC เองถูกออกแบบอยู่บนมาตรฐานความปลอดภัย และมีการทำ software update ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อยู่เสมอจากผู้ให้บริการ จึงสามารถไว้วางใจในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลได้เป็นอย่างดี
ระบบคลาวด์ให้เข้าใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด ช่วยให้สามารถใช้งานเครือข่ายด้วยการเข้าถึงแบบไร้สาย เพื่อให้บริการประมวลผลผ่านระบบคลาวด์ได้ในปริมาณมากและมีความปลอดภัยสูงสุด
สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก AIS Business เพื่อให้คำปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
สำหรับรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ทันที