ไม่ว่าบริษัทจะมีการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบบริษัทเริ่มต้นหรือในรูปแบบองค์กรใหญ่ที่ตั้งมาเป็นระยะเวลานาน ล้วนแล้วแต่ มีความจำเป็นที่ต้องมีที่มาของแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด
โดยทั่วไป องค์กรใหญ่สามารถทำกำไรจากการขายสินค้าปัจจุบัน ซึ่งผลกำไรก็มีมากพอที่จะแปรผลกำไรนั้นๆ ให้มาเป็น ทุนได้ ในขณะที่บางองค์กรจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อหาทุนจากมหาชน และในบางโอกาสที่ธุรกิจขนาดใหญ่จะขยายกิจการ และจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนมหาศาล การกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งเช่นกัน
แต่สำหรับบริษัท Startup ที่กำลังตั้งต้นหรือมีอายุของธุรกิจเพียงไม่กี่ปี การสร้างกำไรอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สภาพคล่อง ของกระแสเงินสดก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน ดังนั้นบริษัท Startup จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่นๆ ซึ่งในโลกของ Startup มีช่องทาง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนได้ในหลายรูปแบบ
Venture Capital เป็นรูปแบบของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ มีการรวบรวมเงินทุนจาก หลากหลายแหล่ง แล้วแบ่งผลประโยชน์เป็นสัดส่วนหุ้นตามสัดส่วนของจำนวนเงินที่ลงทุน Venture Capital ที่มีจุดประสงค์หลัก ในการลงทุนเพื่อขายบริษัท แล้วหวังกำไรจากราคาหุ้นที่สูงขึ้นเรียกว่า Financial VC ในขณะเดียวกัน Venture Capital ที่เกิดขึ้น จากการจัดตั้งกองทุนขององค์กรที่ดำเนินการธุรกิจเฉพาะ แล้วเข้าถือหุ้นในบริษัท Startup เพื่อนำบริการของ Startup มาต่อยอด ธุรกิจเดิมของตนเรียกว่า Corporate VC ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีจุดมุ่งหมายการลงทุนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมที่ทำ หรือ มีส่วน เกี่ยวข้องส่งเสริมให้ธุรกิจเดิมของตนเติบโตขึ้น
ในเมืองไทย หลายองค์กรใหญ่ก่อตั้งหน่วยงาน CVC ขึ้นมา เช่น InVent ภายใต้ Intouch, Addventure จาก SCG, และ Beacon Venture จากธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น ในต่างประเทศกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำของโลกอย่าง Singtel Group Operator ก็มีการจัดตั้งหน่วยงาน CVC เป็นบริษัทลูกแยกออกมาเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างอิสระ เช่น Kickstart ของ Globe Operator ในประเทศฟิลิปปินส์ และ Singtel Innov8 ของ Singtel Telco ยักษ์ใหญ่ในสิงคโปร์
แม้ Singtel Innov8 จะมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่การลงทุนนั้นครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา และจัดตั้งสำนักงานย่อยที่ กรุง Tel Aviv ประเทศอิสราเอล และ เมือง San Francisco ในอเมริกา โดยมี Scope การลงทุนหลักตั้งแต่ Series A จนถึง Pre-IPO
Crowdfunding เป็นการระดมทุนจากฝูงชน ผู้ร้องขอเงินลงทุนต้องแจ้งข้อมูลกับฝูงชนว่าจะนำเงินมาทำกิจกรรมอะไร ในโครงการบ้าง แล้วหากระดมทุนสำเร็จในระยะเวลาที่กำหนดผู้ที่ให้เงินทุนจะได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทน ในประเทศไทย Dreamaker (www.dreamaker.co.th) ซึ่งเป็น 1 ใน Finalist จากการโครงการ AIS The StartUp 2015 สร้าง Crowdfunding Platform มาเป็นหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ของไทยสามารถระดมทุนจากฝูงชนบนโลกออนไลน์ ส่วนในฝั่งต่างประเทศ Crowdfunding Platform ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมทั่วโลก ได้แก่ Kickstarter และ Indiegogo
Angle Investor เป็นนักลงทุนรายบุคคลที่นำเงินส่วนตัวมาให้กับ Startup ที่ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงระยะเริ่มต้นตั้งธุรกิจ แล้วแลกกับหุ้นบางส่วนในบริษัท กลุ่ม Angle มักเป็นผู้มีประสบการณ์ที่สามารถแปลงความเชี่ยวชาญของตนมาเป็นคำแนะนำ ชี้แนะแนวทางให้กับ Startup ในการดำเนินธุรกิจได้ และ หลายๆ ครั้ง เราจะเห็นว่า Angle ของ Startup ก็เป็นคนใกล้ตัวในครอบครัวของตนนั่นเอง
ประเทศไทยมีเวทีประกวด Startup อยู่มากมาย ไม่ว่าจะจัดโดยภาคเอกชนหรือภาครัฐบาล และ เกือบทุกเวทีก็จะมีเงิน รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ Startup สมัครเข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลโดยไม่ต้องแลกกับการเสียหุ้นใดๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ สิทธิ์ความเป็นเจ้ายังคงเป็นของ Startup อยู่ 100%
วิธีการนี้เหมาะกับ Startup ในระยะเริ่มต้น เพราะนอกจากจะมีโอกาสได้เงินรางวัลแล้ว ยังได้รับฟังความเห็นและคำแนะนำ จากคณะกรรมการอีกด้วย
บางโครงการไม่ได้จัดในรูปแบบการประกวดเพื่อกระจายการสร้างโอกาสให้มากกว่าแค่ผู้ชนะเพียงคนเดียว ก่อให้เกิดการ ส่งเสริมในวงกว้างโดยแท้จริง Startup จะไม่ได้รับเงินทุนในรูปแบบเงินสด แต่โครงการจะตั้งงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในการดำเนิน กิจกรรมกับบริษัท Startup ที่ได้คัดสรรแล้ว เช่น กิจกรรมทางการตลาด การศึกษาดูงานต่างประเทศ และ การจัดจ้างบุคลากร เพื่อการพัฒนาสินค้า เป็นต้น ดังนั้น บริษัท Startup จะประหยัดงบประมาณของตนเองในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
และอีกหนึ่งประโยชน์ที่ไม่ใช่ในรูปแบบของงบประมาณ คือ ความเชี่ยวชาญในระดับปฏิบัติการ โดยส่วนใหญ่ โครงการ ลักษณะนี้จะมีผู้มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติการเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ของกิจกรรมบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โครงการ AIS The StartUp ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีการสนับสนุนในรูปแบบนี้ เราตั้งงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ให้กับ เหล่า Startup ชั้นนำ เราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 6 ปี ผู้ประกอบการยุคดิจิทัลทุกคนสามารถส่งผลงานมาให้ร่วมพิจารณา ได้ที่ www.ais.th/thestartup
บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp