รวมเทคนิคจัดการการขายฉบับ Startup Thailand Focus

พลิกธุรกิจสร้างกำไร รวมเทคนิคจัดการขายทุกช่องทางได้อย่างมือโปร

23 ส.ค. 2565
รวมเทคนิคจัดการการขายฉบับ Startup Thailand Focus

ในยุคธุรกิจ 5G แบบนี้เรียกได้ว่าธุรกิจออนไลน์มีการเติบโตและแข่งขันกันอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โดยเฉพาะStartup Thailand Focusที่เน้นแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันผู้คนผ่าน ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่าง ๆ การมีช่องทางการขายมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Social Media, Market place หรือ Website จึงเป็นเหมือนไพ่ใบสำคัญที่จะมาช่วยเสริมให้ธุรกิจ เข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

ซึ่ง E-Commerce Channel เป็นตลาดยอดฮิตที่ทั้ง SMEs, Enterprise และ Startup ไม่พลาดที่จะเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การขายของ รวมไปถึงมีมูลค่าในการซื้อขายมากขึ้นทุกปี เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ บวกกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างในปี 2021 ที่ผ่านมานั้นจากรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company นักช้อปไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดในภูมิภาค ถึง 89.99%

เมื่อช่องทางการขายในมือของเรามีมากกว่าหนึ่ง กลุ่มลูกค้ารวมไปถึงวิธีบริหารจัดการของแต่ละแพลตฟอร์มก็แตกต่างตามไปด้วย แล้วเราจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเราไปได้ไกล ทำกำไรแบบมือโปร AIS The StartUp รวบรวมมาให้คุณแล้ว !

E-Commerce - Startup Thailand Focus

E-Commerce แพลตฟอร์มไหนที่เหมาะกับธุรกิจของเรา

ก่อนจะพาทุกคนไปดูเทคนิคบริหารจัดการขายในแต่ละช่องทาง เราขอพาทุกคนไปดู Pros & Cons ของแพลตฟอร์มหน้าร้านบนโลกออนไลน์ อย่าง Website, E-Marketplace และ Social Commerce กัน !

  • Website
    Pros - มีสื่อเป็นของตัวเอง เสริมให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือ ไม่ต้องกลัวเรื่องการเปลี่ยนแปลง เพราะเราเป็นคนคุมปัจจัยภายในเอง สามารถจัดการรูปแบบการขายหรือออกแบบเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ
    Cons - มีต้นทุนการบริหารจัดการสำหรับเว็บไซต์ค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องมีคนดูแลทั้งระบบต่าง ๆ เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้า, พัฒนา Website ให้เข้ากับเทรนด์ธุรกิจ เหมาะสมกับแบรนด์ที่มีฐานลูกค้าเป็นจำนวนมาก
  • E-Marketplace
    Pros - เปิดขายได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายต่ำและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังมีการจัดโปรโมชันวัน D-Day ต่างๆ ทำให้กลุ่มลูกค้าสามารถมองเห็นร้านของเราได้มากขึ้น
    Cons - เป็นแพลตฟอร์มที่มีการแข่งขันสูง มีค่าธรรมเนียมสำหรับการลงขายสินค้าหรือการเรียกเก็บค่าโฆษณา และมีข้อกำหนดที่ต้องปฎิบัติตาม
  • Social Commerce
    Pros - ลูกค้าเลือกซื้อของจากแบรนด์ที่ชื่นชอบและมีการจดจำร้านค้าได้ ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ในแพลตฟอร์ม เพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมไปถึงสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง
    Cons - มีผู้ขายจำนวนมาก อาจทำให้ลูกค้ามองไม่เห็นร้านค้าหรือสินค้าของเรา ส่งผลให้ต้องจ่ายเงินค่าโฆษณาสูงขึ้น และทำการเก็บข้อมูลลูกค้าได้ค่อนข้างยาก

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเราเลือกแพลตฟร์อมไหน ก็ดูเหมือนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียม/ค่าคอมมิชชัน/ค่าโฆษณา เพิ่มมากขึ้นทุกปี เรามีข้อแนะนำเบื้องต้นที่จะช่วยคงกำไรการขาย ไม่ให้สลายไปตามการเปลี่ยนแปลงมาฝากด้วย

นั่นก็คือ “การตั้งงบทางการตลาด โดยเผื่อ Budget เอาไว้ 30%”

ยกตัวอย่างเช่น ปี 2022 เราจัดตั้งงบทางการตลาดเอาไว้ 100% แล้วบวกเพิ่มเข้าไปอีก 30% ทำให้ในปี 2022 เราจะมีงบสำหรับการใช้จ่ายค่าธรรมเนียม/ค่าคอมมิชชัน/ค่าโฆษณากลายเป็น 130% นอกจากนี้ยังต้องติดตาม เก็บข้อมูลและปรับปรุงงบทางการตลาดอยู่เสมอ โดยคำนึงถึง

  • งบประมาณที่เราใช้ไปตามจริง
  • มีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับงบทางการตลาดของธุรกิจเรา เช่น Facebook มีการปรับอัลกอริทึมใหม่ มีการปรับลด Reach ลง ทำให้เราต้องจ่ายเงินค่าโฆษณามากขึ้น แล้วจากนั้นนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เพื่อที่ในปี 2023 เราจะสามารถคาดการณ์ได้ว่าต้องตั้งงบประมาณเอาไว้ประมาณไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรารับมือได้กับทุกสถานการณ์ที่มีการปรับค่าธรรมเนียม/ค่าคอมมิชชัน/ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น พร้อมปรับตัวได้เร็วกว่าและออกตัวไปก่อนคู่แข่ง
Startup Thailand Focus

ช่องทางการขายเยอะ ปัญหาที่ต้องจัดการก็เพิ่มขึ้นตาม

แน่นอนว่าการที่ Startup Thailand จะเติบโตได้ ก็ต้องมีการพึ่งพาในช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้ลูกค้าได้มองเห็นแบรนด์และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ แต่ยิ่งเรามีช่องทางเยอะ ต้นทุนการจัดการก็สูงขึ้นตาม ไม่เพียงแค่การรับมือกับค่าธรรมเนียม/ค่าคอมมิชชัน/ค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้น

  • ต้นทุนการจัดการสูงขึ้น
  • ขาดประสิทธิภาพในการจัดการออเดอร์ที่เข้ามา ทำให้ออเดอร์ตกหล่นได้
  • ต้องปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • จำนวนสต๊อกสินค้าไม่ตรงตามความเป็นจริง

จัดการระบบทุกช่องทางการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพาคุณก้าวไปสู่
ความสำเร็จด้วย “DATA Driven & Digital Transfomation”

Startup Thailand Focus

DATA Driven การขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปได้ไกลในยุคดิจิทัล ต้องรู้จักโฟกัส “ข้อมูล” ที่เรามีอยู่ในมือ ซึ่งถ้าเราสามารถรวบรวมข้อมูลมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค แล้วนำไปต่อยอดเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการ ไปจนถึงการวางแผน ธุรกิจในอนาคต อีกทั้งยังช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ พร้อม Up Selling และ Cross Selling ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Digital Transfomation ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เริ่มต้นจากการสังเกตขั้นตอนในธุรกิจของเราว่าจุดไหนที่มีการทำซ้ำเดิมในทุก ๆ วัน แล้วนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันเข้าไปเป็นเครื่องมือในการช่วยลดข้อผิดพลาดอย่าง Human Error ช่วยลดงาน Operation ของพนักงานเดิม เพิ่มความคล่องตัวและเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้

Digital Transformation - Startup Thailand Focus
Digital Transformation - Startup Thailand Focus

การนำสินค้ามาขายคู่กับการใช้เทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการ สามารถทำให้ Startup Thailand Focus และ SMEs ลงสนามแข่งขันกับ Enterprise และสร้างยอดขายให้เติบโต พร้อมทั้งเสริมให้ธุรกิจคุณเดินหน้าต่อได้อย่างมืออาชีพ ! สำหรับใครที่สนใจเครื่องมือบริหารทุกช่องทางการขายได้แบบครบวงจร ขอแนะนำหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของ AIS The StartUp อย่าง ZORT รายละเอียดเพิ่มเติม www.zortout.com หากใครที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในครอบครับ AIS The StartUp สามารถส่งผลงานได้ที่ http://www.ais.th/thestartup/connect.html

อ้างอิงข้อมูลจาก AIS SME วันที่ 1 มิถุนายน 2565 - พลิกธุรกิจ พิชิตกำไร ด้วยเทคนิคจัดการการขายหลายช่องทางแบบมือโปร โดยคุณสืบพงศ์ ภาสเวคิน Head of Customer Success (ZORT)

Footer