ชาว Startup ในไทย ถ้าอยากติดสปีดธุรกิจให้ทันความต้องการของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ก็ต้องใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ให้ธุรกิจจริงไหม?
และแน่นอนว่าหลายธุรกิจคงไม่พลาดที่จะหยิบเอากลยุทธ์ Digital transformation มาปรับใช้ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ ที่ไม่ว่าจะหยิบจับทำอะไรก็สามารถเชื่อมต่อช่องทางออนไลน์ ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้สุดๆ
‘Digital Service’ จึงกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว นับได้ว่าเป็นเครื่องมือ online solution ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ค่อนข้างกว้าง และสามารถปรับพัฒนาแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เร็วขึ้น ซึ่งรู้ตัวอีกทีเราก็เห็นหลากหลายธุรกิจบริการเต็มโลกออนไลน์แล้ว
ดิจิทัลเซอร์วิส (Digital Service) คือ บริการต่างๆ ที่มาในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล รองรับธุรกรรมออนไลน์ในชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะในยุค 5G แบบนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เข้าถึง Digital Services ได้ ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น Tele-Consultation, Platform เรียนออนไลน์ ต่างๆ , โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ฯลฯ
ในบ้านเราธุรกิจ Startup Thailand ประเภทนี้เป็นหนึ่งในดาวรุ่ง ซึ่งมีจำนวนธุรกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมด้วยประเภทธุรกิจที่หลากหลาย มาถึงตรงนี้คุณคิดว่า Digital Service ประเภทไหนที่ได้รับความนิยมให้ประเทศไทยบ้าง?
และคำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ D.ถูกทุกข้อ นั่นเอง! โดยเหตุผลที่ทั้ง 3 ธุรกิจนี้มีความโดดเด่นกว่าใคร และกลายเป็นเหมือน Physical Product ที่ใครๆ ก็คุ้นชินบนโลกธุรกิจดิจิทัลก็เป็นเพราะ FinTech ตอบรับกับเทรนด์สังคมไร้เงินสด รวมไปถึงสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนเหมือนกับ Digital Service สาย Lifestyle ส่วน Enterprise ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เนื่องจากภาคธุรกิจหันมาดำเนินธุรกิจกันบนโลกออนไลน์ ทำให้ต้องมีการใช้ระบบบริหารจัดการต่างๆ แบบออนไลน์ตามไปด้วย
และไม่ได้มีเพียง 3 ประเภทนี้เท่านั้น แต่สำหรับ Digital Service ยังมีธุรกิจมาแรงอีกหลายประเภทที่น่าสนใจ AIS The StartUp ได้แบ่งลิสต์มาไว้ให้ทุกคนไปทำความรู้จักให้มากขึ้นกับ Digital Service 5 สายนี้ !
สายสุขภาพ (Health) - จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้สตาร์ทอัพสายสุขภาพเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ให้ บริการและผู้รับบริการสุขภาพ จุดเด่นของประเภทนี้คือ การเชื่อมต่อการแพทย์ทางไกลกับผู้คน ให้สามารถเข้าถึงการรักษาและดูแลสุขภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยมีหลากหลายบริการไม่เพียงแค่เป็นการใช้คำปรึกษาเรื่องแพทย์ในรูปแบบออนไลน์ (Telehealth/e-Consult) แต่ยังครอบคลุมไปถึงการให้บริการด้านบันทึกประวัติการรักษาหรือค้นหาข้อมูลทางการแพทย์อีกด้วย
สายไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) - เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ธุรกิจ Startup Thailand สายนี้ จึงเป็นการให้บริการในรูปแบบของ Digital Content และ Digital Media ซึ่งเป็นเหมือนเพื่อน ช่วยคลายเหงาหรือเพื่อนที่คอยแนะนำเรื่องราวที่เราสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Startup ที่มีเทคโนโลยี AI อยู่เบื้องหลัง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งาน และประมวลผลออกมาเป็นสินค้า/บริการที่ตรงใจ รวมไปถึงสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคลได้ เช่น แพลตฟอร์มจัดการข้อมูลที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม การดูแลเด็กๆ ในครอบครัว ไปจนถึงการออกกำลังกายและสุขภาพ
สายการศึกษา (Education) - เมื่อรูปแบบการเรียนการสอนถูกปรับไปเป็นรูปแบบออนไลน์ (e-Learning) สตาร์ทอัพสายนี้จึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาให้ทุกการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการสร้างเสริมประสบการณ์ สร้างปฏิสัมพันธ์ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนได้อีกด้วย อย่างเช่น live platform สำหรับเรียนออนไลน์ต่าง ๆ หรือแอปพลิเคชันที่ช่วยบริหารจัดการสื่อการเรียนการสอน
สาย MARTech (Music, Art and Recreation Technology) - หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับชื่อ MARTech แต่บอกเลยว่า Startup Thailand สายนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นผ่านตา กันอยู่บ่อยๆ และอาจใช้งานอยู่ทุกวันก็ได้นะ
Startup Thailand สายนี้นำเอาเทคโนโลยีใหม่ เช่น Deep Tech หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR/ VR) Cloud และ IoT มารวมกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผลิตออกมาเป็นเนื้อหา (Content) หรือสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
นอกจากนั้น ยังนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการตลาดของลูกค้า Startup เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
สายธุรกิจ (Business Services) - เป็น Startup ที่เสริมความแกร่งและยกระดับให้ภาคธุรกิจที่มีฐานข้อมูลลูกค้าจำนวนมากด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ยกตัวอย่าง Digital business ได้แก่ Flowaccount โปรแกรมบัญชีออนไลน์ หรือการให้บริการแพลตฟอร์ม AIYA Chatbot เป็นต้น
แล้วธุรกิจสตาร์อัพ (Startup) ของคุณเป็นหนึ่งใน Digital Services หรือไม่? ถ้าคำตอบคือใช่ มีแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าและบริการที่สามารถจับต้องได้ พร้อมทั้งมองหาพันธมิตรธุรกิจให้เข้าไปช่วยเติมเต็มอีกส่วนที่ขาดหายไป ห้ามพลาดโอกาสนี้!
โครงการ AIS The StartUp Monthly Pitching กำลังมองหาเหล่า Digital Service StartUp ที่ต้องการเพื่อนซี้อยู่เคียงข้างกันไปบนเส้นทางธุรกิจ ช่วยให้คำปรึกษา เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมสร้างโอกาสของการเติบโตได้อย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ
บอกเลยว่ามีข้อเสนอและสิทธิประโยชน์ดีๆ สำหรับธุรกิจที่เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์กับ AIS The StartUp รออยู่เพียบ ! เริ่มตั้งแต่การเข้าถึงโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจที่มากกว่า พร้อมการเชื่อมโยงกับกลุ่มพันธมิตร Ecosystem ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีโซลูชันซัพพอร์ตที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาด เช่น
นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สำหรับบริษัท Startup ในไทยที่ได้เข้าร่วมเป็น Portfolio กับ AIS The StartUp ยังได้รับการสนับสนุนทางด้านการตลาด และสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเสริมการทำธุรกิจของคุณให้ไปได้ไกลทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากใครที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในครอบครับ AIS The StartUp สามารถส่งผลงานได้ที่ http://www.ais.th/thestartup/connect.html