ถ้าเอ่ยถึงเรื่องบัญชีและภาษีสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่อาจรู้สึกปวดหัวขึ้นมาได้ในทันทีเพราะเป็น เรื่องที่เข้าใจยาก เต็มไปด้วยขั้นตอนมากมาย และต้องใช้ข้อมูลตัวเลขเต็มไปหมด
แต่เมื่อวางแผนก้าวเข้ามาทำธุรกิจแล้วเรื่องนี้จึงเป็นอะไรที่ปฎิเสธไม่ได้เพราะถ้าหากเหล่าผู้ประกอบ การไม่มีความเข้าใจและปล่อยปละละเลยไป อาจส่งผลให้เกิดอุปสรรคและปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ ตามมา ได้วันนี้ AIS The StartUp จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและภาษีเบื้องต้นสำหรับคนทำธุรกิจมือใหม่ให้ แล้ว บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด ไปดูกันเลย!
ภาพรวมด้านบัญชีที่ควรรู้
มาเริ่มต้นกันที่ ‘งบการเงิน’ หรือรายงานทางการเงินของกิจการโดยจะรวบรวมเอาค่าใช้จ่าย รายได้ และกำไรทั้งหมดของธุรกิจ ณ รอบบัญชีมาสรุปเพื่อดูผลประกอบการของบริษัท ซึ่งงบการเงินเป็นข้อมูลที่ สำคัญสำหรับธุรกิจเพิ่งเริ่มต้น หรือธุรกิจขนาดเล็ก สามารถแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน (ส่วนของเจ้าของ)
โดยความน่าสนใจขององค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนของ ‘งบการเงิน’ จะมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ดัง นั้นถ้าบริษัทของเรามีการทำบัญชีได้ถูกต้อง ก็จะทำให้งบการเงินสามารถเช็กและมองเห็นจุดเชื่อมโยงต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
วิเคราะห์หน้ารายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
หลังจากเรารู้ที่มาที่ไปขององค์ประกอบงบการเงินแล้ว สำหรับผู้ประกอบก็มีอีกหนึ่งจุดที่ต้องใส่ใจนั่น คือ สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับงบการเงินมาจากผู้ทำบัญชี เพื่อป้องกันความผิดพลาดของงบการเงินก่อนออก หน้ารายงาน ที่สามารถส่งผลให้ในขั้นตอนของการยื่นกู้กับสถาบันทางการเงิน หรือขั้นตอนการทำธุรกิจอื่นๆ เกิดสะดุดขึ้นมาได้ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้อง ...
พิจารณารายงานของผู้สอบบัญชี “ก่อน" เซ็นรับงบการเงินทุกครั้ง
เทคนิคการวิเคราะห์หน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้รับอนุญาต “ไม่มีเงื่อนไข” คือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะนั่นหมายความว่า ข้อมูลต่างๆของบริษัทเราที่แสดงบนงบการเงิน “ถูกต้อง” เป็นไปตามสมควรแล้วโดยสามารถสังเกตรูปแบบ ข้อความบนรายงานว่า หัวข้อวรรคแสดงความเห็น (วรรคแรกสุด) จะถูกเขียนไว้ว่า “ความเห็น”
แล้วเราสามารถเจอความเห็นในหน้ารายงานผู้สอบบัญชี ได้รับอนุญาตอะไรได้อีกบ้าง?
ภาษีมีกี่ประเภท ? แล้วฐานภาษีคืออะไร ?
ภาษีตามประมวลรัษฎากรที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก อย่างสตาร์ทอัพหรือ SMEs โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
**ฐานในการจัดเก็บภาษียิ่งมาก = เสียภาษีมาก**
ซึ่งภาษีอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายธุรกิจโดยมีอัตราภาษีที่เราต้องเสียแบ่งออกเป็นฝั่ง SMEs 15% และฝั่งนิติบุคคล 20% สามารถคำนวณได้จากกำไรภาษีไม่ใช่กำไรทางบัญชีและอย่าลืมยื่นภาษีเงินได้ปี ละ 2 ครั้งตามที่กฎหมายกำหนด
รอบการทำงบการเงิน และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการยื่นงบการเงินประจำป
สำหรับการเริ่มทำบัญชีควรตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล พร้อมทั้งภายในระยะเวลา 12 เดือน ต้องปิดงบการเงินและยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ยกตัวอย่างเช่น รอบสิ้นสุดของบริษัทเรา คือ วันที่ 31 ธันวาคม สามารถยึดทามไลน์ได้ตามนี้
นอกจากนี้เหล่าผู้ประกอบการยังสามารถเลือกใช้ตัวช่วยซอฟต์แวร์บัญชีซึ่งเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่มี คุณสมบัติครบครัน มาช่วยเพิ่มความสบายใจในการจัดการเรื่องบัญชีตัวเลขให้ช่วยเก็บข้อมูลกิจกรรมการ ดำเนินงานต่างๆเพื่อเอามาใช้วางแผนธุรกิจในอนาคตได้
สมัครมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AIS The StartUp ได้แล้ววันนี้เพียงส่งผลงานเข้ามาร่วมการคัดเลือก คลิก http://www.ais.th/thestartup/connect.html
เนื้อหาในบทความทั้งหมดอ้างอิงข้อมูลจาก AIS SME Growth Webinar วันที่ 6 ตุลาคม 2565 - สรุป เทคนิคบัญชีและภาษีให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย