ถ้าพูดถึงวิธีการประหยัดไฟหลายคนคงเลือกการปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน หรือเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ห้า และอีกหลายวิธีที่เคยรู้มาตั้งแต่เด็กๆ แต่รู้หรือไม่? สำหรับอาคารบ้านเรือนขนาดใหญ่อย่างโรงงาน โรงพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้า ที่มีการใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ และปริมาณมหาศาล แต่ละเดือนค่าไฟอาจจะทะลุหลักแสนหลักล้านบาทนั้น มีวิธีประหยัดไฟแบบไหน? เพราะถ้าสามารถประหยัดพลังงานในอาคารเหล่านี้ได้ จำนวนค่าไฟที่เสียไปและผลลัพธ์ อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ ENRES Startup Thailand เกิดขึ้นมานั่นเอง
คุณไชยวิวรรธน์ ชูวิเชียร CEO - ENRES และคุณ กฤษฎา ตั้งกิจ Co-Founder ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง AIS The StartUp ว่าปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจด้านพลังงานค่อนข้างเยอะ สิ่งที่น่าสนใจ คือ สถานที่เหล่านี้ทุกที่มีการทำเรื่องประหยัดพลังงานกันหมด แต่สิ่งนี้ไม่ได้ประหยัดแบบต่อเนื่องจริงๆ วันนี้ทำไปแล้วประหยัด แต่วันหน้าในอนาคตไม่รู้ว่าจะประหยัดอยู่หรือเปล่า ไม่มีใครสามารถติดตามผลได้ตลอด วันนี้ ENRES จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน IoT และ AI เพื่อเข้ามาช่วยเรียนรู้พฤติกรรมและเข้ามาเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของอาคาร โรงงานอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นทุกๆ วันที่อาคาร โรงงานทำงานอยู่ เมื่อผ่านไป 1 เดือน สุขภาพของอาคารยังดีอยู่ไหม? ซึ่งระบบ IoT จาก ENRES จะสามารถบอกถึงสาเหตุที่ผิดปกติของอาคาร
สำหรับกลยุทธ์ของ ENRES คือ การเริ่มลงมือทำงานกับ Partner ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีสถานที่เหล่านี้อยู่หลายแห่ง และนี่คือสิ่งหนึ่งที่ทำให้ ENRES มีโอกาสได้เรียนรู้พฤติกรรมและปัญหาในการทำงานนั้นจริงๆ เพราะการทำงานรูปแบบนี้ ไม่สามารถใช้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และการแก้ไขปัญหาหน้างานในช่วงเวลานั้นด้วย และเมื่อได้เรียนรู้จาก Partner ก็นำมาคัดกรองดึงส่วนที่สำคัญมาพัฒนาในขั้นต่อไปให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งปัจจุบัน ENRES ได้เข้าไปร่วมมือและติดตั้งเทคโนโลยีนี้
ด้วยความที่ทาง ENRES เป็น Startup Thailand ที่นำเทคโนโลยี IoT และ AI เข้ามาใช้งานเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ในช่วงที่เริ่มทำ และเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างเร็ว จึงทำให้ยากต่อการเข้าถึงและทำให้ผู้คนเกิดความเข้าใจกับสิ่งนี้อย่างแท้จริง ถ้าเทียบเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมากับในปีนี้ ผู้คนจะเข้าใจเทคโนโลยีดังกล่าวได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก และทำให้ผู้คนยอมรับในส่วนนี้มากขึ้นด้วย ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนทำให้ผู้คนยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาใช้เป็นหลัก ซึ่งความยากของการใช้ IoT และ AI คือ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยในด้านของอินเทอร์เน็ตที่อาจจะไม่ได้ครอบคลุม หรือมีเสถียรภาพมากพอ แต่ในปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ มากมาย ที่ช่วยให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างเรียบร้อยได้
ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า IoT เข้ามามีบทบาทกับอาคารบ้านเรือนมากขึ้น ผู้คนหันมาติดมิเตอร์เซ็นเซอร์ทั้งตึกทั้งโรงงานเยอะขึ้น คำถามคือ... เราใช้ประโยชน์จากข้อมูลตรงนั้นอย่างไร หรือต่อให้มีมอนิเตอร์ตรวจเช็คข้อมูลอัตโนมัติด้วย AI แต่จะมีคนมาตรวจเช็ค วิเคราะห์ข้อมูล 24 ชั่วโมงแบบไม่หลับไม่นอนแบบนั้นหรือไม่?
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่าง คือ เครื่องมือทุ่นแรงที่ช่วยคิดวิเคราะห์ได้ตลอดเวลา อย่าง ENRES ที่คอยเฝ้าระวังอาคาร โรงงานตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน แบบไม่หลับไม่นอนนั่นเอง และ ENRES เปรียบเสมือนโปรแกรมตรวจสอบสุขภาพของอาคาร เหมือนกับมนุษย์ที่ต้องมีการตรวจสุขภาพประจำทุกปี แต่ต่างกันตรงที่ ENRES จะมีการตรวจสุขภาพให้กับอาคาร หรือโรงงาน ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเช็คว่าพลังงานที่ถูกใช้ภายในอาคารมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่หรือไม่ ซึ่ง ENRES มาช่วยทำให้การวิเคราะห์ทุกอย่างนี้มีประสิทธิภาพที่สูงที่สุดได้
ENRES มีความเชื่อที่ว่าการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออาคารหรือโรงงานที่ต้องการให้สถานที่นั้นมีประสิทธิภาพ การช่วยลดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเปรียบเสมือนการช่วยโลกอย่างหนึ่ง นี่คือความเชื่อและวิสัยทัศน์ของ ENRES เมื่อไหร่ที่รู้สึกท้อหรือมีอุปสรรคให้มองไปที่ปลายทางนั่นคือ ความเชื่อที่จะได้ช่วย นั่นคือ สิ่งที่ผลักดันให้ทีมมีพลังใจและพร้อมก้าวต่อไปข้างหน้าสู้กับปัญหาได้เรื่อยๆ
เนื่องจาก AIS มีระบบโครงสร้างที่เป็น NB IoT รวมถึงอินเทอร์เน็ตที่เข้ามาช่วยให้ ENRES สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั่วประเทศ และกระจายโปรดักส์ของ ENRES ได้เร็วมากยิ่งขึ้น นี่คือการที่ AIS เข้ามาช่วยในทางตรง ซึ่งอีกทางหนึ่งคือ AIS เป็นองค์กรที่ก่อตั้งมายาวนาน และครอบคลุมทั่วพื้นที่ในประเทศ จึงทำให้มีลูกค้าองค์กรจำนวนมาก และลูกค้าองค์กรเหล่านี้นี่เอง คือ ลูกค้าที่มีอาคาร มีโรงงานอยู่ในมืออยู่แล้วและมีความต้องการระบบอย่าง ENRES เข้าไปช่วย ในส่วนนี้ทาง AIS ได้ช่วยดำเนินการในส่วนของ Connection ระหว่างอาคารและโรงงานเหล่านั้นกับทาง ENRES ให้เข้าไปช่วยเหลือได้
สิ่งสำคัญของการที่จะประสบความสำเร็จ คือ การ “ทดสอบไอเดียให้เร็ว” + “ลงพื้นที่จริง” บางครั้งการคาดเดาหรือแค่สอบถามอาจไม่เพียงพอต่อการเป็นสตาร์ทอัพควรลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง และจะพบว่าการ Scale มันเป็นยังไง มีปัญหาอุปสรรคมีอะไรบ้าง และคำถามคือ “เร็วพอหรือเปล่า?” ความท้าทายของ Startup Thailand ทุกวันนี้อาจไม่ได้หยุดอยู่ที่ความยากง่ายแล้ว ทุกอย่างอยู่ที่การ Scale ทั้งไทยและต่างประเทศ เราจะทำยังไงให้ธุรกิจเติบโตได้? หากเราไม่เข้าใจเกมธุรกิจก็คงหนีไม่พ้นทางตันอย่างแน่นอน
เนื่องจากการงาน Future Maker 2019 เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ทาง ENRES ต้องศึกษาเพิ่มเติมด้านความยั่งยืน การทำการลงทุนเพื่อสังคมว่าองค์กรเหล่านี้ปกติมีการทำงานกันอย่างไรเพื่อที่จะได้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ และเข้าถึงตรงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า
ENRES ได้มีโอกาสเข้าไป Pitching ในงาน Future Maker 2019 ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมผู้คนและองค์กรกว่า 1,300 คนที่มีเป้าหมายเหมือนกัน คือ คอยช่วยโลกจากปัญหาต่างๆ เช่นเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่ง ENRES ถือว่าเป็น Startup Thailand ที่ช่วยลดการใช้พลังงานของอาคาร โรงงาน ซึ่งมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ด้วย
รู้สึกดีและได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในรูปแบบที่ไม่เคยเข้าไปคลุกคลีกับสิ่งนี้ แต่เมื่อได้เข้าไปร่วมงานแล้วก็เห็นว่าจริงๆ แล้ว นี่คือ วิสัยทัศน์ของ ENRES ตั้งแต่แรก ที่มีความต้องการที่จะ Distrup โลก การเปลี่ยนแปลงโลก การที่ทำให้โลกดียิ่งขึ้น และยังมีคนอีกจำนานมากที่ต้องการไปสู่จุดสูงสุดนั้นเช่นเดียวกัน ซึ่งคนเหล่านั้นพร้อมและยินดีที่จะยื่นมือมาช่วยโดยที่ไม่ได้มองว่าจะได้อะไรกลับมา แต่ทุกคนมองว่าสิ่งที่ ENRES ทำมันสามารถช่วยโลกได้จริงๆ ซึ่งถือว่านี่คือการเปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับ ENRES และเป็นเครื่องย้ำให้ ENRES เชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อ คือ สิ่งที่ถูกและมีคนเชื่อเหมือนกันกับเรา
ENRES ได้รับรางวัลและเงินสนับสนุนกลับมา แต่สิ่งที่เหนือว่าเงินรางวัลนี้ คือ ประสบการณ์และ Connection การที่ ENRES อยู่ในกลุ่มของ Singtel ที่มีการประสานงาน ไม่ว่าจะจาก AIS หรือทางต่างประเทศอีก 5 ประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่ ENRES จะสามารถขยายโปรดักส์ ขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศหรือในวงกว้างได้ และการทำให้คนที่มีวิสัยทัศน์เดียวกัน นำโปรดักส์ของ ENRES ไปใช้ในประเทศของเขาเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาจุดยืนของความยั่งยืน อย่างแท้จริง
จากที่ทั้งคุณไชยวิวรรธน์ ชูวิเชียร และคุณ กฤษฎา ตั้งกิจ พูดถึงเรื่องความเชื่อที่จะนำมาสู่ความสำเร็จได้นั้น คือ เรื่องจริง มนุษย์เรา อยู่ได้ด้วยความหวังและความเชื่อ แต่สิ่งที่ทำให้ความเชื่อของเราสัมฤทธิ์ผล นั่นคือ การลงมือทำให้เร็ว เกมแห่งวงการสตาร์ทอัพดำเนินไปเรื่อยๆ ถ้าหมากบนกระดานไม่ยอมเดิน เกมนี้คงไม่เริ่มต้นสักที AIS The StartUp ขอเป็นกำลังใจให้คนมีความเชื่อและลงมือทำเสมอนะ อย่ายอมแพ้!
: www.enres.co
: www.facebook.com/energyresponse
บทความโดย
AIS The StartUp