Designer หรือนักออกแบบผู้เนรมิตรทุกสิ่งให้สวยงามได้แค่ปลายนิ้ว เป็นศาสตร์ที่วงการ สตาร์ทอัพต้องการ เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานให้สนใจตั้งแต่ครั้งแรก แต่อาจจะไม่เพียงพอและครอบคลุม เสมอไป เพราะในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือ Startup Thailand สิ่งที่สำคัญพอๆ กับการจัดวางความสวยงาม ความน่าสนใจ คือ การออกแบบฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองผู้บริโภคได้สูงสุดต่างหาก การใช้งานต้องง่าย สะดวกสบายและไม่สร้างความยุ่งยากในการใช้งาน นั่นก็คือ การออกแบบ UX หรือ User Experience นั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่ Designer มีมันไม่ดีนะมันสามารถต่อยอดพัฒนาให้เหมาะสม กับรูปแบบของสตาร์ทอัพ หรือ Startup Thailand ได้ และนี่คือสิ่งที่คนทำสตาร์ทอัพต้องรู้เกี่ยวกับการออกแบบ
UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้หลังจากได้ใช้บริการ Startup Thailand แล้ว โดยไม่สนใจว่าจะได้ประสบการณ์อะไรระหว่างการใช้บริการแต่ให้สนใจว่าหลังจากที่ใช้บริการไปแล้ว มีประสบการณ์ความประทับใจอะไรหลงเหลือกับตัวผู้ใช้หรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าประสบการณ์ระหว่างใช้บริการไม่สำคัญ เพราะประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวกำหนด User Experience ทั้งหมดเพราะฉะนั้น UX ต้องคิดให้หมดตั้งแต่เริ่มจนจบ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์อย่างที่ออกแบบไว้ เพราะประสบการณ์มีความสำคัญมากกว่าผู้ใช้จะกลับมาใช้งานอีกรอบหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาจำมันได้ และประสบการณ์ของผู้ใช้ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ แต่มันถูกออกแบบมาแล้วว่าอยากให้ผู้ใช้รู้สึกอย่างไร
ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ใช้ คู่แข่ง ตลาด และสภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา Startup Thailand โดยต้องรู้ว่าใครคือคู่แข่งไม้เด็ดที่เหนือกว่าคู่แข่งคืออะไร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ผลิตภัณฑ์คือใคร
เริ่มจากรวบรวม จัดเรียง และแบ่งหมวดหมู่ ของเนื้อหา (content) ทั้งหมด เลือกวิธีการในการนำเสนอก่อนที่จะนำไปสร้างเป็น User Interface อาจจะไม่ใช่แค่ Sitemap โดยอาจรวมถึงการจัดลำดับการแสดงผลอย่างไร ให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจผลิตภัณฑ์ ที่ Startup Thailand มี ได้มากที่สุด
สร้างแบบจำลองเพื่อให้สามารถเข้าใจและมองเห็นหน้าตาของผลิตภัณฑ์ ภายใน Startup Thailand ที่ควรจะเป็นก่อนการผลิตจริง โดยเมื่อนำเสนอให้ทีมแล้วทั้งนักพัฒนา ลูกค้า และฝ่ายการตลาด ต้องเห็นชอบตรงกัน
ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ใช้ คู่แข่ง ตลาด และสภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา Startup Thailand โดยต้องรู้ว่าใครคือคู่แข่ง ไม้เด็ดที่เหนือกว่าคู่แข่งคืออะไร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ผลิตภัณฑ์คือใคร
สามารถทำได้โดยสร้างแบบจำลองผู้ใช้ (Personas) ไม่ว่าจากการสัมภาษณ์ การทดสอบความง่ายในการใช้งาน (Usability Test) การทดสอบแบบสองทางเลือก (A/B Testing) และการดูจาก Heatmap ว่าผู้ใช้งาน เข้าใช้งานหรือกดเมนูไหนมากที่สุด เป็นต้น
หลังจากที่ได้เห็นภาพรวมการทำงาน การออกแบบของ User Experience แล้ว คงเจอข้อแตกต่างระหว่างสาย Designer ทั่วไปกับสายออกแบบ UX ฝั่งสตาร์ทอัพ หรือ Startup Thailand กันไม่มากก็น้อย แต่เพื่อความชัดเจน ลองมามองข้อแตกต่างของทั้งสองสายแบบเห็นภาพกันดีกว่า
สุดท้ายแล้วศาสตร์ทั้งสองศาสตร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ความแตกต่างระหว่าง Designer กับ UX สายสตาร์ทอัพ หรือ Startup Thailand ขึ้นอยู่กับบทบาทของการทำงานมากกว่า ถ้าสตาร์ทอัพรายไหนเข้าใจการทำงานของศาสตร์นี้ ก็จะสามารถพัฒนาต่อยอด รู้ข้อที่ต้องปรับปรุงและแก้ไข ในธุรกิจของตัวเอง ได้ถูกจุดภายในเวลาไม่นานอย่างแน่นอน นี่ก็คือหน้าที่ที่ในวงการสตาร์ทอัพควรทำความเข้าใจว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรเพราะทุกหน้าที่มีบทบาทความเหมาะสมและความเฉพาะทางที่ต่างกัน ทาง AIS The StartUp ขอเป็นกำลังใจกับทุกสตาร์ทอัพ Startup Thailand ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไปถึงเป้าหมายให้ได้
บทความโดย
AIS The StartUp