ShopSpot และ LikeMe เป็นสองบริษัท Startup Thailand ที่มีการเดินทางมายาวนานร่วม 10 ปี ทั้งสองบริษัทเริ่มต้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม AIS Startup Weekend 2011 ตั้งแต่ในวันที่ Tech Startup ในไทยยังไม่เป็นที่รู้จัก
ShopSpot เป็นแพลตฟอร์ม Startup Thailand สำหรับ mobile market place เจ้าแรกของ South East Asia เริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อนที่จบโรงเรียนเดียวกันมารวมตัวประมาณ 5-6 คน จนวันนี้เติบโตมามีพนักงานร่วม 200 ชีวิต และ มียอดขายโตถึงหลักพันล้านบาท ในวันนี้รับการร่วมทุนจาก King Power และ พัฒนา King Power Click
LikeMe เกิดจากเพื่อนในมหาวิทยาลัย 2-3 คน รวมกันทำโมบายล์แอปพลิเคชันในหอพัก จากนั้นก็มองเห็นโอกาสของการทำธุรกิจออนไลน์ และ ขยายบริการออกมาเป็นหลากหลายแบรนด์ทั้ง Infographic Thailand, aomMoney หรือ Future Skill เป็นต้น
บทความนี้ ออนจะพาผู้อ่านย้อน time machine ไปเจาะเคล็ดลับของ Startup Thailand ทั้ง 2 บริษัทว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ใช่แค่อยู่รอด แต่ยังเติบโต
มีแรงบันดาลใจ
มีจุดเริ่มต้นที่ดี มี mentor ที่มีความสามารถ
มี common objective goal ร่วมกันในทีม ทุกคนมุ่งมั่นเพื่อความเติบโต
มองเห็นช่องว่างของโอกาส รู้ว่าตัวเองถนัดอะไรเพื่อเอาไปจับ vertical market อาจจะไม่ได้กว้าง แต่มีโฟกัส
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของตลาด และการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า ศึกษาผู้เล่นในตลาดแล้วกลับมารีวิวตัวเองตลอดเวลาว่าบริษัทเราอยากอยู่จุดไหนของตลาด นอกจากนั้นก็โฟกัสที่การเปลี่ยนแปลงของลูกค้า เมื่อเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทจะรีบเปลี่ยนแปลงก่อนที่ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
รู้จังหวะวิ่ง จังหวะเดิน จังหวะเปลี่ยน จังหวะหยุด ในอดีตทั้งสองบริษัทเป็นแอปพลิเคชันทีมีฐานผู้ใช้หลักหมื่นหลักแสน แต่ยังเกิดปัญหาด้านการหารายได้จากผู้ใช้ ทั้งคู่เคยตัดชิ้นเนื้อตัวเอง แม้จะเป็นชิ้นเนื้อก้อนดี แต่ก็ไม่ได้ทำให้เติบโต แล้วปรับโมเดลธุรกิจเพื่อสร้างรายได้อย่างแท้จริง
มีวิธีการบริหารและระบบที่ดี การสร้างธุรกิจเจ้าของมักชอบลงมือทำ แต่วันหนึ่ง จะพบว่าเจ้าของไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ต้องสร้างระบบให้ทีมโต มีกระบวนการรับคนที่ดี รวมไปถึงว่าเมื่อเข้ามาทำงานแล้ว ทำอย่างไงให้เขาทำงานได้ดีด้วย
นอกจากลักษณะร่วมทั้ง 7 ข้อแล้ว ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของทั้งบริษัท ยังแนะนำคติประจำใจของแต่ละคน ฝากไว้ให้ผู้ที่จะเริ่มต้นในปีนี้ได้เป็นแนวทาง
“ความยากมันมีตลอดอยู่ที่เรา respond กับมันอย่างไงมากกว่า”
“เลือกโพกัสในสิ่งที่พัฒนาแล้วตอบโจทย์ value ของลูกค้ามันทำให้เราประหยัดทั้งเวลาเงินทุนและทรัพทยากรแล้วทำให้เรามั่นใจว่าไปต่อได้”
“สิ่งที่แตกต่างจากความสำเร็จและไม่สำเร็จช่วงจังหวะที่เราทำเราเต็มที่กับมันพอไหม เราโฟกัสกับมันเยอะไหมและคนที่เราใส่เข้าไปถูกต้องหรือเปล่า”
“ การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากตัวของเราก่อนทำอย่างไงให้เรามีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายแล้วก็ยอมทำในส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้องค์กรเติบโต”