ผนึก ESG ร่วมกับคุณค่าธุรกิจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

12 ก.ค. 2567
ผนึก ESG ร่วมกับคุณค่าธุรกิจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน - Startup Thailand

ผนึก ESG ร่วมกับคุณค่าธุรกิจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

จากหัวข้อ ESG to Capital for Tech Entrepreneur ใน Part ที่แล้ว เราก็ได้ปูเส้นทางให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ Framework ESG ในธุรกิจกันอย่างละเอียด ตั้งแต่การแนะนำว่า ESG คืออะไร มีความจำเป็นแค่ไหนที่ธุรกิจจะต้องพยายามรับเอา ESG เข้ามาให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ผ่าน Business Value Chain ที่มีอยู่ เราได้เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงมากมายที่เกี่ยวข้องกับ ESG ว่าจะมีผลกระทบตามมายังไงได้บ้างถ้าหากเรายังไม่เริ่มกันตั้งแต่ในวันนี้

และเมื่อเราได้รับรู้ความสำคัญแล้ว ใน Part นี้ก็จะพามาดูวิธีการกันบ้าง ว่าแต่ละบริษัทที่มีประสบการณ์ผ่านการใช้ Framework ESG ตั้งแต่แนวคิดที่เริ่มต้นทำ ไปจนถึงการลงมือทำจริงว่าแต่ละธุรกิจมีมุมมองและวิธีการยังไงบ้าง ซึ่งแต่ละธุรกิจที่หยิบยกมาแชร์ประสบการณ์ในวันนี้ก็จะมีความหลากหลายทางอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป ยังมีมุมมองของทาง ก.ล.ต. ในการจัดทำ One Report เพื่อเตรียมตัวตอบรับกับนโยบายใหม่สำหรับธุรกิจที่จะต้องรายด้วย และนอกจากนี้ก็ยังมีมุมมองจากบริษัทที่ให้เงินทุนว่าจะมองปัจจัยอะไรบ้างของ ESG ในบริษัทถึงจะมีโอกาสได้รับทุนไป หากใครสนใจเนื้อหาเหล่านี้แล้ว ไม่ควรพลาดบทความนี้กันเลย

Embracing ESG Excellence in Tech Start up

by ดร. เอื้อมพร ปัญญาใส
กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน)

แปซิฟิกไพพ์ เป็นบริษัทผลิตท่อเหล็ก ที่มีวิสัยทัศน์อยากนำ Framework ของ ESG เข้ามาปรับใช้ เพราะมีเป้าหมายในการพัฒนาความยั่งยืน จึงได้เริ่มต้นพัฒนาเรื่องของ ESG มาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันจากการเตรียมพร้อมและเริ่มต้นก่อน ก็ได้เดินหน้ามาไกล และพร้อมรับมือกับหลากหลายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาในด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริง ในส่วนนี้จะพามาดูกันว่าในการเริ่มต้นทำ ESG มีวิธียังไงบ้าง

Framework ของ ESG - Startup Thailand
เข้าใจธุรกิจตัวเองก่อนสำคัญที่สุด

ก่อนที่ธุรกิจไหนจะไป ESG เหนือสิ่งอื่นใด ธุรกิจจะต้องอยู่ให้ได้ก่อน ต้องมี Business Value, มี Vision, Challenge, Strategy และ Goal อย่างไรบ้าง เพราะ ESG ไม่ควรเป็นคนละเรื่องกับธุรกิจ ซึ่งกุญแจสำคัญเลยก็คือการปรับให้กิจกรรมที่องค์กรทำอยู่นั้นมาเป็น Value ขององค์กร ดังนั้นการที่จะหลอมรวม ESG เข้าไปในองค์กรนั้น จำเป็นต้องเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจอย่างถ่องแท้ก่อน เพื่อที่จะนำมาปรับใช้ได้เกิดผลจริงๆ

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่บรรดาธุรกิจจะต้องเข้าใจธุรกิจตัวเองเป็นอย่างดี เข้าใจ Core Value ว่าธุรกิจของเรานั้นมีอยู่เพื่ออะไร รวมถึง Business Value Chain ในแต่ละส่วน เพราะแกนกลางของ ESG Pillars ในแต่ละหัวข้อนั้นจะต้องมีการเชื่อมโยงกับหลายๆ ส่วนของธุรกิจตัวเอง จะต้องมีการหลอมรวมข้อควรทำ หรือไม่ควรทำเข้าไปใน Vision และแต่ละ Mission ให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ที่ทุกคนในองค์กรต้องปฏิบัติตามให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

เปลี่ยนจากวิสัยทัศน์สู่การลงมือทำจริง - Startup Thailand
เปลี่ยนจากวิสัยทัศน์สู่การลงมือทำจริง

เริ่มต้นได้จากการระบุถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่อยู่ในแต่ละส่วนของกระบวนการในการทำธุรกิจ ว่ามีใครที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบ้าง จากนั้นค่อยพิจารณากระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน Value Chain ว่าในแต่ละจุด จะสามารถนำ ESG เข้าไปใส่ได้ในส่วนไหนบ้าง และให้บรรดา Stakeholders ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

โดยที่กระบวนการตัดสินใจนั้นจะต้องมีความโปร่งใสน่าเชื่อถือได้ อีกทั้งการพัฒนาเป้าหมายและกระบวนการต่างๆ ก็ต้องมีความชัดเจน มีแนวทางให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตามเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเดียวกันได้ นอกจากนี้ยังต้องมีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง ว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อจะได้พัฒนาและแก้ไขต่อไปในอนาคต

การตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ดี จะทำให้ ESG ประสบความสำเร็จ - Startup Thailand
การตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ดี จะทำให้ ESG ประสบความสำเร็จ

เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะดำเนินการไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทาง แปซิฟิกไพพ์ จึงเลือกที่จะนำ Performance Matrix ในแต่ละหัวข้อนั้น นำเข้ามาปรับให้เข้ากับ KPI ขององค์กร เพื่อจะได้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญว่าธุรกิจเองสามารถดำเนินการไปได้ที่ระดับไหน ผ่าน Performance Management System ด้วยเครื่องมืออย่าง

  • CEO Scorecard: ที่ถูกแบ่งออกมาเป็นแง่มุมต่างๆ ตามการดำเนินงานขององค์กร โดยที่ Metric แต่ละข้อจะต้องมีความสอดคล้องกันทั้งในมุมของธุรกิจ และมุมของ ESG
  • KPI: ในส่วนของตัวชี้วัดนั้น ในแต่ละ Baseline จากข้อ 1 จะต้องถูกแยกออกมาเป็นแกนตาม ESG ซึ่งก็คือ มิติเศรษฐกิจ/มิติสังคม/มิติสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดนี้จะต้องเกิดจากระบบการวัดผลที่ชัดเจน สามารถตั้งเป้าหมายและดำเนินการได้จริง นอกจากนี้เรายังคงต้องนำข้อมูลผลลัพธ์มาวิเคราะห์อยู่เสมอเพื่อดูประสิทธิภาพของโครงการ ว่าสร้างผลกระทบขึ้นยังไงได้แล้วบ้าง หรือมีส่วนไหนที่มีการพัฒนาขึ้นไปบ้างแล้ว

มุมมองการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนในตลาดหุ้นไทย - Startup Thailand
มุมมองการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนในตลาดหุ้นไทย

ตลาดหลักทรัพย์ของไทยมองว่าธุรกิจในไทยจะค้ำจุนอยู่ 3 Pillars นั่นก็คือ Economic, Social และ Environment โดย

Economic -> ธุรกิจนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ทำกำไรบนความดีงามและสร้างระบบกำกับกิจการที่ดี

Social -> ธุรกิจจะต้องมีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรม ช่วยนำคุณภาพชีวิตที่ดีสู่สังคม

Enviroment -> ธุรกิจจะต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยพัฒนาและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ซึ่ง 9 คุณลักษณะที่ยั่งยืนที่ทาง SET กำหนดไว้มีดังนี้

  • - องค์กรมีคนเก่ง คนดี
  • - มีระบบกำกับดูแลโปร่งใส
  • - อุ่นใจเรื่องความเสี่ยง
  • - ไม่เลี่ยงโอกาสจากกระแสโลก
  • - ตอบโจทย์ด้วยนวัตกรรม
  • - ทำกำไรให้งอกเงย
  • - ไม่ละเลยประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง
  • - ต้องส่งเสริมคุณภาพสังคม
  • - สร้างสมดุลให้สิ่งแวดล้อม

สุดท้ายแล้วธุรกิจที่จะนำ ESG มาใช้ได้สำเร็จ ก็คือธุรกิจที่นำเอาทุกมิติของ ESG เข้าไปอยู่ในทุกรายละเอียดขององค์กร ตั้งแต่นโยบายบริษัทไปจนถึงการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน ถึงสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง

Applying IMM to one report by SEC

นางสาววินิตา กุลตังวัฒนา
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน สำนักงาน ก.ล.ต.

Part1: ความสำคัญของ ESG และ SDGs ต่อการดำเนินธุรกิจ

“เพราะ ESG เป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ”

ที่ผ่านมามีหลายธุรกิจที่กว่าจะเข้าใจประโยคข้างต้น ก็ได้รับความเสียหายไปมากแล้ว เพราะการละเลยความเสี่ยงด้าน ESG ทำให้พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงของธุรกิจครั้งใหญ่ และนั่นก็หมายถึงต้นทุนจำนวนมหาศาลที่พวกเขาต้องจ่ายเพื่อชดเชยกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของแท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อการดำเนินงานกระทบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งการถูกแจ้งเรื่องทุจริตในองค์กร สามารถนำไปสู่การฟ้องร้อง และเกิดผลลัพธ์อันเลวร้ายตามมาแทบทั้งสิ้น

นอกจากความเสี่ยงที่จะได้รับบทลงโทษแล้ว ยังมีความเสี่ยงในด้านการเสียโอกาสอีกด้วย เพราะในปัจจุบัน Trend และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับประเด็น ESG มากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จาก

  • - Global Investor Study ในปี 2024 ที่มีการสัมภาษณ์ผู้ลงทุนกว่า 33 ประเทศ ก็พบว่าพวกเขาเริ่มมองหาความยั่งยืนจากธุรกิจกันเป็นจำนวนมาก (World Economic Forum, The Global Risks Report 2024)
  • - สหภาพยุโรป (EU) อยู่ระหว่างการออกกฎหมาย Corporate Sustainability Due Diligence เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลและมีการสอบทานการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้ธุรกิจดำเนินการตามมาตรฐาน ESG
  • - The Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) มาตรการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดน สำหรับสินค้านำเข้า EU บางประเภท ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนของธุรกิจที่จะส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านี้
  • - Sustainability Outlook 2024 มองว่า ผู้ลงทุนมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการลงทุนจาก ESG Integration ไปสู่ Thematic Approach ที่เน้นการลงทุนโดยวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกในระยะยาว เพื่อกำหนด “ธีม” ในการลงทุนเป็นหลัก (2024 Sustainability Outlook: 7 trends to look for in the year ahead)

ด้วย Trend การเติบโตอย่างยั่งยืนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการทำธุรกิจที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียต่างตระหนักถึงนโยบายด้านความยั่งยืนของบริษัท และไม่ยอมรับต่อการทำธุรกิจที่เป็นการฟอกเขียว (Greenwashing) ของบริษัทอีกต่อไป บริษัทจึงต้องใส่ใจและคำนึงถึง ESG ในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องจริงจัง

Part 2: บทบาท ก.ล.ต. กับการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน

Vision: “ก.ล.ต. พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน” Mission: “กำกับและพัฒนาตลาดทุนให้น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และสังคมทุกภาคส่วนเข้าถึงได้”

เพราะตลาดทุนไทยคือหนึ่งในเสาหลักค้ำจุนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ตลาดทุนเป็นช่องทางระดมทุนของบริษัททุกขนาดและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้อง ตลาดทุนไทยจึงต้องส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการอย่างมี ESG และขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (United Nations’ Sustainable Development Goals: “SDGs”) ก.ล.ต. จึงพร้อมผลักดันให้ธุรกิจไทยเข้มแข็ง สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างความยั่งยืนได้ในอนาคต ในขณะเดียวกัน ก.ล.ต. ยังต้องออกเกณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตลาดทุน และพร้อมที่จะดึงดูดผู้ลงทุนจากทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยได้อย่างยั่งยืน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ 56-1 One Report

Part 3: การรายงาน 56-1 One Report

แบบรายงาน 56-1 One Report จัดทำขึ้นเพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีและรายงานประจำปี ที่จัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน ทำให้ลดภาระแก่บริษัทจดทะเบียน และผู้ลงทุนสามารถศึกษาติดตามข้อมูลที่สำคัญของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ โดยหัวข้อ “การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน” ในแบบรายงาน 56-1 One Report จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทในการใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่กำหนดในแบบ 56-1 One Report ประกอบด้วย

  • นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน : ทิศทางและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม สิทธิมนุษยชน และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ : ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่คุณค่า สรุปความคาดหวังและการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
  • การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม : นโยบายและแนวปฏิบัติที่ด้านสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นที่สำคัญ ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายชื่อผู้ทวนสอบ
  • การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคม : นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม รวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการด้านสังคม

ซึ่งเนื้อหาในรายงานของแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละธุรกิจก็มีรูปแบบการดำเนินงานไม่เหมือนกัน เนื้อหาข้างต้นจึงเป็นข้อมูลบางส่วนเพื่อพอให้เห็นภาพรวมของการรายงาน หากธุรกิจที่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามแบบรายงาน 56-1 One Report สามารถดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sec.or.th/onereport

การวัดและจัดการผลกระทบ (SDGs-IMM) - Startup Thailand
Part 4: การวัดและจัดการผลกระทบ (SDGs-IMM)

SDGs หรือ Sustainable Development Goals คือ วิสัยทัศน์ของโลกที่ถูกพัฒนาโดย United Nations (องค์การสหประชาชาติ) ตั้งแต่ปี 2015 เพื่อสร้างความสงบและความเจริญให้กับทั้งผู้คนและโลกใบนี้ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ 17 ข้อ (https://sdgs.un.org/goals) การตั้งเป้าหมายธุรกิจให้สอดคล้องตาม SDGs ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกเป้าหมาย แต่บริษัทควรเลือกเป้าหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับ Business Value ของธุรกิจตัวเองมาปรับใช้ในในการวางแผนกลยุทธ์และการดำเนินงาน

ในส่วนของ Impact Measurement and Management (IMM) ก็จะเป็นการวัดและจัดการผลกระทบของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพิจารณาผลกระทบด้านความยั่งยืนที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ (Stakeholders) เป็นหลัก ซึ่งรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย การวัดและจัดการผลกระทบมีความสำคัญขึ้นมาก เพราะผู้ลงทุนต่างมองหาธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้จากข้อมูลที่อยู่ในรายงานเหล่านี้

IMM เป็นการประเมินโดยพิจารณาตัวชี้วัดที่หลากหลาย นอกเหนือไปจากข้อมูลตัวเลขทางการเงิน โดยบริษัทสามารถอ้างอิง SDGs มาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลและสามารถใช้วัดผลกระทบ ตามบริบทและวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละธุรกิจ เพื่อจัดการผลกระทบของกิจกรรมของบริษัทโดยครอบคลุม ในระยะยาว ทำให้บริษัทสามารถติดตามความคืบหน้า แสวงหาโอกาส และปรับเปลี่ยนเป้าหมายตลอดจนกลยุทธ์การดำเนินงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่หลากหลายและช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนของการทำ Impact Measurement and Management มีดังนี้

  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IMM และผลกระทบ

    ทำความเข้าใจ SDGs ศึกษาเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัท รวมถึงกำหนดเป้าหมายของผลกระทบที่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจ

  • ระบุและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)

    ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Business Value Chain) และทำความเข้าใจว่าจะสามารถมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานได้อย่างไร

  • จัดลำดับความสำคัญและผลกระทบ

    จัดลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ เพื่อหาว่าสิ่งไหนที่จะสร้างผลกระทบ ได้มาก จำเป็นต้องหยิบขึ้นมาทำก่อน และระบุผลกระทบห้ามิติ ของแต่ละเป้าหมาย

  • วางแผนสำหรับผลกระทบ

    จัดทำห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) เพื่อที่จะได้เลือกตัวชี้วัดมาใช้ทำการวัดผล โดยองค์ประกอบสำคัญของห่วงโซ่ผลลัพธ์ ได้แก่

    • Inputs: กิจกรรมที่จะทำ เพื่อที่จะจัดการปัญหาหรือโอกาส
    • Outputs: ผลผลิตที่ออกมาจากกิจกรรมหรือโครงการที่ทำ และต้องสามารถ ระบุได้เป็นรูปธรรม
    • Outcomes: ผลที่เกิดขึ้นหลังจากโครงการได้สิ้นสุดไปแล้ว ซึ่งเป็นการนำผลผลิตที่ได้จากโครงการไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
    • Impacts: ผลกระทบที่องค์กรมุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง หรือกลายเป็นผลสำเร็จในระยะยาวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • การวัดผลกระทบและบูรณาการเป้าหมาย SDGs และ IMM ไว้ในแนวปฏิบัติทางธุรกิจ

    เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้ว ธุรกิจจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อติดตามผลและบูรณาการเป้าหมาย SDGs และผลกระทบไว้ในแนวปฏิบัติทางธุรกิจและการตัดสินใจ ตลอดจนจัดการกับ ความเสี่ยงของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

  • รายงานความคืบหน้าของผลกระทบ

    นำข้อมูลทั้งหมดรวมถึงแผนการพัฒนาจัดทำเป็นรายงานให้แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ อาทิ การจัดทำรายงานแบบ 56-1 One Report

Global Reporting Initiative (GRI)

by Ms. Mayuree Aroonwaranon
Chief Executive Officer at GEPP Sa-Ard

มาตรฐาน GRI คือ มาตรฐานที่ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรใช้ในการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถือกำเนิดมาจากองค์กรอิสระระหว่างประเทศ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถทำความเข้าใจ และสื่อสารผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนได้

Why?: สาเหตุที่ควรใช้ GRI เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันเกือบจะทั้งโลก หากธุรกิจใช้มาตรฐานเดียวกันก็จะสามารถทำให้นักลงทุนเปรียบเทียบธุรกิจ และทำความเข้าใจกับภาพความยั่งยืนที่ธุรกิจทำออกมาง่ายขึ้น และ GRI ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อถามคำถามย้อนหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายไปแล้ว เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาและป้องกันอีก เพราะถ้าไม่มีการถามวันนี้ก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก เลยต้องมีการตั้ง Standard นี้ขึ้นมา

What?: มาตรฐานของ GRI มีอยู่หลายข้อ แต่ธุรกิจไม่ได้จำเป็นที่ต้องเอามาใช้หมด ซึ่งส่วนมากก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ต่างกันออกไป โดยแต่ละส่วนจะสะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม GRI จึงจะกลายเป็นสิ่งที่สร้างความโปร่งใสให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจรอบด้าน (Stakeholders) โดยหัวข้อ GRI ที่ควรสนใจมีดังนี้

  • GRI418: Customer Privacy -> ตรวจสอบข้อกฏหมายหรือข้อกำหนดด้าน PDPA ของตนเองให้ดี ทบทวนรายละเอียดให้ครบถ้วน เพราะทุกวันนี้คนเริ่มให้ความสนใจกับข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น ในขณะที่ปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหลก็เกิดขึ้นบ่อยมาก และสร้างผลกระทบจากการฟ้องร้องสูง
  • GRI205: Anti-Corruption -> เพื่อสร้างนโยบายหรือระบบที่ดีที่จะควบคุมการทุจริต เพื่อแสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีแนวทางยังไงบ้างเพื่อสร้างความโปร่งใส และป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้น หากเป็นธุรกิจ B2B ให้ลองศึกษาของธุรกิจอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อศึกษาแนวทางจากนั้นให้ทีมกฏหมายเขียนข้อกำหนดขึ้นมาให้สอดคล้องกันทั้งในด้านธุรกิจและกฏหมาย
  • GRI306: Waste -> ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นใน Business Chain เป็นอย่างไรบ้าง ไม่ใช่แค่เพียงของตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องมองไปถึง Suppliers ด้วยว่าพวกเขามีการจัดการขยะกันอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดมลภาวะหรือเปล่า เพราะปัจจุบันเหมือนเป็นข้อกำหนดไปแล้วว่าต้องมองภาพรวมทั้ง Value Chain ไม่ได้มองแค่ตัวเองคนเดียวอีกต่อไป ดังนั้นหากมี Supplier ที่ไม่ดี ก็ต้องเริ่มมองหาเจ้าอื่นๆ เพื่อพิจารณาด้วยเหมือนกัน
  • GRI203: Indirect Economic Impacts -> เป็นการตอบคำถามให้ได้ว่าธุรกิจจะทำอะไรที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น จะสร้างปริมาณงานขึ้นมาเท่าไร หรือจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากน้อยขนาดไหน เพราะธุรกิจที่ดีต้องดันเศรษฐกิจของประเทศ และในภูมิภาคให้เดินหน้าไปได้ด้วยกัน
  • GRI204: Procurement Practices -> การจัดหาของจาก Suppliers ต้องรับผิดชอบด้วยว่า Supplier ทำอะไรผิดกฏหมายบ้างไหม มีการใช้แรงงานไม่ถูกกฏหมาย หรือใช้วัตถุดิบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า
  • GRI405: Diversity and Equal Opportunity -> การสร้างความหลากหลายและความเท่าเทียมในองค์กร เริ่มจากดูที่จำนวนคนแต่ละเพศในองค์กรว่ามีเพศไหนมากกว่าเกินไปหรือไม่ มีการกีดกันคนบางสัญชาติในบางสายงานไหม

How?: การทำ GRI สามารถเริ่มได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบที่ใช้ Excel หรือใช้ Reporting Software ก็ได้ โดยขั้นตอนในการทำ GRI Reporting ก็มีดังนี้

  • ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น: เริ่มต้นจากการอ่านรายงานต่างๆ จากข้อมูลที่มี เพื่อพิจารณาถึงประเด็นและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน โดยต้องเริ่มต้นจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders): ทำการพูดคุย กับ Stakeholders ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการที่ธุรกิจกำลังจะทำ และพิจารณาถึงผลกระทบไปด้วยกัน
  • พัฒนาเนื้อหา: ในส่วนนี้คือการพัฒนาเนื้อหาของแผนงาน หลังจากที่ได้รับฟัง Stakeholders ทั้งหมดแล้ว เพื่อนำมาปรับเป็นแผน และเป้าหมายอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลลัพธ์ที่จะออกมา จะสามารถสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้จริง
  • ติดตามความคืบหน้าที่เกิดขึ้น: ทำการวัดผลและคอยติดตามตัวบ่งชี้ต่างๆ ที่ได้มา เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ โดยข้อมูลที่ได้มาจะต้องมีความโปร่งใส มีคุณภาพและสามารถใช้ในการตัดสินใจได้ต่อไปในอนาคต
  • รายงานกลยุทธ์ความยั่งยืน: เป็นการสื่อสารไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในธุรกิจทราบว่าเราได้ดำเนินการพัฒนาในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในส่วนไหนไปแล้วบ้าง ซึ่งรูปแบบในการสื่อสารไปยังแต่ละกลุ่มก็จะมีความต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าคนที่ได้รับรายงานอยากได้ข้อมูลแบบไหน

เพราะการทำ GRI ทำไปเพื่อให้กลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจของเรานั้น สอดคล้องไปกับความยั่งยืนในด้านต่างๆ ซึ่งผลที่จะได้ตามจากการทำได้ถึงตามเป้าหมายของ GRI ก็จะมีดังนี้

  • ชื่อเสียงและความน่าเชื่อ: GRI แต่ละข้อก็ไม่ต่างจาก ISO ที่รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเท่าไรนัก แต่ส่วนนี้จะช่วยรับรองใน ESG ว่าธุรกิจของเรานั้นผ่านเกณฑ์ในด้านในบ้าง และในอนาคตน่าจะมี Certificates อีกมากมายที่จะรองรับการทำเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเดิมอีกด้วย
  • ดึงดูดนักลงทุน: เพราะ Trend ของนักลงทุนเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว นักลงทุนมองหาบริษัทที่ยั่งยืน และสามารถปรับตัวได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจไหนที่ยังสามารถทำกำไรได้ ในขณะที่สร้างคุณค่าให้กับโลกไปด้วย ก็ย่อมเป็นที่สนใจมากกว่าอย่างแน่นอน
  • บุคลากรที่พัฒนา: การทำ GRI ย่อมต้องอาศัยทุกภาคส่วนในธุรกิจให้เข้ามามีส่วนร่วม แม้แต่ทางด้านพนักงานเองยิ่งเป็นคนหน้างาน ยิ่งเข้าใจกระบวนการได้ดีที่สุด การผลักดันให้บุคลากรได้คิด ได้มีส่วนร่วม และได้พัฒนาธุรกิจแล้ว สิ่งที่พวกเขาจะได้ติดตัวไปด้วยก็คือแนวคิด มุมมองใหม่ๆ ในการทำงาน และความคาดหวังที่จะพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นไปได้อีก
  • ทิศทางของการพัฒนายั่งยืน: คงไม่มีใครที่จะสามารถทำ ESG ในสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้น การเริ่มทำก่อนจะทำให้ธุรกิจสามารถเรียนรู้ และหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำ ESG มาปรับใช้ได้ลงตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราได้รู้ว่าแต่ละด้าน เราควรต้องทำอะไรบ้างถึงจะเกิดคุณค่าและความยั่งยืนมากที่สุด และต่อให้ผิดพลาดก็ยังสามารถแก้ไข และพัฒนาต่อจากเดิมได้
  • ความได้เปรียบทางการแข่งขัน: จากการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มลูกค้าที่เป็น CnSR (Consumer Social Responsibility) ส่งผลให้ลูกค้าเริ่มมองหาสิ่งที่ตอบโจทย์ต่อแนวคิดและทัศนคติตัวเอง นั่นก็คือการรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมชาติ การที่ธุรกิจมีมาตรฐาน หรือมีนโยบายด้าน ESG และพยายามสื่อสารออกมาตลอด ก็จะเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ที่กำลังมีมากขึ้น และสร้างความได้เปรียบกว่าธุรกิจเดียวกันที่ย้งไม่ได้เริ่มอย่างแน่นอน

Knowledge Sharing from MuvMi

Mr. Supapong Kittiwattanasak Co-Founder MuvMi

Experience Sharing from MuvMi

จุดเริ่มต้น Muvmi คือการอยากสร้างการเดินทางที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย ให้ได้เดินทางกันสะดวกปลอดภัย และมีความเท่าเทียมกันในการเดินทาง เพราะในปัจจุบันนั้นปัญหาในการเดินทางในเมืองไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากปัญหาโครงสร้างที่ทำให้ผู้คนเดินทางกันได้ยากลำบาก จึงพยายามแก้ปัญหาให้คนสามารถเดินทางในย่านของตัวเองได้สะดวกขึ้น ลดการเดินทางด้วยรถส่วนบุคคล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ

จุดเริ่มต้น Muvmi คือการอยากสร้างการเดินทางที่ตอบโจทย์คนเมืองที่ต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย ให้ได้เดินทางกันสะดวกปลอดภัย และมีความเท่าเทียมกันในการเดินทาง เพราะในปัจจุบันนั้นปัญหาในการเดินทางในเมืองไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากปัญหาโครงสร้างที่ทำให้ผู้คนเดินทางกันได้ยากลำบาก จึงพยายามแก้ปัญหาให้คนสามารถเดินทางในย่านของตัวเองได้สะดวกขึ้น ลดการเดินทางด้วยรถส่วนบุคคล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ

แม้ว่าจะทำธุรกิจที่ใช้รถ EV แต่ตอน Raise Fund ก็พบว่าตัวเองยังไม่ใช่ธุรกิจที่ทำ ESG เพราะสิ่งที่ได้รับกลับมาคือ Protocol กว่า 300 หน้า ที่จะเป็น Framework ได้มาประเมินตัวเอง และมองหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากธุรกิจในหลายๆ ด้านมากยิ่งขึ้น ว่าในแต่ละกระบวนการทำงานทั้งทางตรงทางอ้อมนั้นเกิด Risk และ Opportunity ยังไงบ้าง ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับ GRI

แม้ว่าจะทำธุรกิจที่ใช้รถ EV แต่ตอน Raise Fund ก็พบว่าตัวเองยังไม่ใช่ธุรกิจที่ทำ ESG เพราะสิ่งที่ได้รับกลับมาคือ Protocol กว่า 300 หน้า ที่จะเป็น Framework ได้มาประเมินตัวเอง และมองหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากธุรกิจในหลายๆ ด้านมากยิ่งขึ้น ว่าในแต่ละกระบวนการทำงานทั้งทางตรงทางอ้อมนั้นเกิด Risk และ Opportunity ยังไงบ้าง ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับ GRI

สุดท้ายที่อยากฝากเอาไว้ธุรกิจใหม่ๆ คืออยากให้เริ่มนำ ESG เข้าไปในตอนแรกเลยดีกว่า การสอดแทรกการพัฒนาด้านธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าไปในธุรกิจตั้งแต่เริ่มจำทำให้เราไม่ลำบาก ในวันที่โลกมันเปลี่ยนแล้วกฏหมายควบคุมอะไรต่างๆ ออกมา จะทำให้เราเปลี่ยนยากในทุกๆ รายละเอียดที่เราเคยทำไว้แล้ว



Footer