ธุรกิจควรเตรียมพร้อมอย่างไร ให้ตอบโจทย์ ESG ในมุมมองนักลงทุน

15 ก.ค. 2567
ธุรกิจควรเตรียมพร้อมอย่างไร ให้ตอบโจทย์ ESG ในมุมมองนักลงทุน - Startup Thailand

ธุรกิจควรเตรียมพร้อมอย่างไร ให้ตอบโจทย์ ESG ในมุมมองนักลงทุน

หลังจาก 2 พาร์ทแรกที่เราได้เห็นความสำคัญและการนำ ESG ไปปรับใช้กันแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ESG มีความสำคัญมาก ที่จะทำให้ธุรกิจนั้นสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนได้ ในส่วนของพาร์ทนี้เราจะพาไปดูกันว่าองค์กรอย่าง AIS ที่อยู่ในกลุ่ม Telecommunication นั้น จะสามารถนำเรื่อง ESG มาปรับใช้ได้อย่างไรให้เกิดคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืน

รวมถึงไปสำรวจมุมมองนักลงทุนที่มีต่อ ESG กันบ้าง ว่าพวกเขาว่าธุรกิจจำเป็นต้องมี ESG มากแค่ไหน และเป็นปัจจัยที่นักลงทุนใช้ในการพิจารณาที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจด้วยหรือไม่ เพราะในวันหนึ่งที่ธุรกิจเริ่มเติบโต และอยากขยายให้ใหญ่ขึ้นแล้วนั้น ก็ต้องมีการระดมทุนเข้ามาเพิ่มเติม

ดังนั้นหัวข้อนี้จึงเหมาะมากๆ สำหรับธุรกิจที่กำลังเตรียมตัวที่ขยับขยาย จะเตรียมตัวเพื่อให้ตอบโจทย์การลงทุนให้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเตรียมรับ ESG ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

Fireside Chat: ESG in Corporate - Startup Thailand

Fireside Chat: ESG in Corporate

by Ms. Saichon Submakudom

AIS เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสที่จะสร้างได้ของ ESG จึงได้หยิบเอา ESG Framwork เข้ามาหลอมรวมเข้ากับกระบวนการทำงาน ทำให้เห็นว่าแม้แต่องค์กรที่อยู่ในกลุ่ม Telecommunication ที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสังคมและธรรมชาติแบบทางตรงนั้น ก็สามารถนำ ESG มาพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนอย่าง

“Thriving in greener and inclusive Digital world”
  • Drive Digital Economy
  • Promote Digital Inclusion
  • Act on Climate
3 ขั้นตอนการสร้างคนในแบบของ AIS
  • Basic Needs

    เป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของพนักงานทั้งในด้านรายได้และสวัสดิการ เพราะเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนทำงานอยากได้ผลตอบแทน เพื่อนำไปใช้ชีวิตต่อ และที่สำคัญต้องไม่ด้อยไปกว่าภาพรวมรายได้ของตลาดอย่างแน่นอน

  • Opportunity

    เป็นสถานที่ที่สร้างโอกาส มี Sandbox ให้ได้ทำการทดลองทำอะไรใหม่ๆ โดยไม่ได้มองว่าจะต้องสำเร็จเป็นหลัก เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายๆ โครงการอย่างการพยายามทำช่องข่าวให้แข่งขันกับรายการใหญ่ ที่แม้ว่าสุดท้ายจะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้อะไรกลับมาเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับทีมสื่อ ทีมข่าว ที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต รวมถึงทีมงานเองก็ได้ประสบการณ์ และพัฒนาตัวเองกันได้มากขึ้น

  • Passion

    ใช้คำว่าแรงจูงใจอาจจะไม่พอ แต่การสร้างความบ้าไปด้วยจะทำให้ทีมงานหลุดออกจากกรอบเดิมๆ และมีพลังที่จะทำอะไรใหม่ๆ มากขึ้น

Thailand Cyber Wellness เพิ่มความรู้คนไทยให้เท่าทันโลก Digital

จุดเริ่มต้นมาจากการที่มองว่า “ยิ่งคนไทยเข้าถึงอินเตอร์เนตมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสถูกหลอกมากเท่านั้น” แล้วพอธุรกิจอย่าง AIS เป็นกลุ่ม Telecommunication ที่ให้บริการด้านสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตแล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมในด้านที่เป็น Business Value Chain โดยตรง และเป็นการนำ ESG มาปรับใช้กับ Products ของธุรกิจได้ด้วย

เลยมีการทำ Cyber Wellness ขึ้นมา เริ่มจากให้ความรู้กับผู้คนในประเทศให้ได้มีการเรียนเพื่อรู้เท่าทันภัยจากไซเบอร์และรูปแบบของมิจฉาชีพต่างๆ รวมถึงมีการทดสอบวัดระดับความรู้ จนมีการขยายโครงการใหญ่ขึ้นด้วยการให้นักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ Thailand Cyber Welness Index ในปี 2023 ที่เป็นการ Survey กลุ่มตัวอย่างทั่วไทย เพื่อมานำผลลัพธ์มาวัดผล และพิจารณาต่อว่าคนไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องไหนบ้าง จะได้นำหลักสูตรไปแก้ปัญหาได้ถูกจุดต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงในโลกออนไลน์

Regional VC Investment Thesis - Startup Thailand

Regional VC Investment Thesis

by Ms. Minette Navarrete
Co-founder and president, Kickstart Ventures

Kickstart Ventures คือองค์กรที่เติบโตมาจากอุตสาหกรรม Telecomunitcation ที่ภายหลังเป็นธุรกิจที่มองหาการลงทุนให้เกิดความร่วมมือ เติบโต และประสบความสำเร็จไปด้วยกัน โดยมีเป้าหมายที่จะใช้นวัตกรรมเข้ามาเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมและความยั่งยืนในหลายประเทศหรือภูมิภาคที่กำลังพัฒนา ซึ่งทางองค์กรเองก็ได้เข้ามาแชร์ถึงมุมมองของนักลงทุนในการเลือกที่จะลงทุนกับธุรกิจที่กำลังจะเติบโต มีการนำ ESG มาปรับใช้ และมีความยั่งยืน ว่าจะต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง ผ่านหัวข้อดังนี้

Purpose: Start with Why? - Startup Thailand
Purpose: Start with Why?

ทุกวันนี้ปัญหาใหญ่ๆ ของสังคม ของโลกใบนี้เป็นเรื่องยากที่จะแก้ได้ด้วยตัวคนเดียว ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือคนอื่นต่อๆ ไป เพราะการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ต้องอาศัยการร่วมมือ เป็นการทลายกำแพงเพื่อสร้างสะพาน สร้างโอกาสใหม่ๆ จึงเลือกลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่กำลังอยู่ช่วงเติบโต

สำหรับกลุ่มคนที่อยู่ใน Innovative Ecosystem เดียวกัน อาจจะไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่ก็สามารถก่อให้เกิดเป็น Community Development ได้ โดยสิ่งที่ทำคือเอาหลายๆ คนมาแบ่งปันความรู้ และพยายามดึงดูดผู้คนให้เข้ามาช่วยกัน เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกมากมาย เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการร่วมมือและแบ่งปัน

มุมมองการลงทุน Kickstart Ventures ตามช่วงยุคสมัยของนวัตกรรม
  • - ปี 2012 เป็น Early Stage ที่พยายามจะรับเรื่องของ Digital เข้ามา เพราะมองว่าการมาของอินเตอร์เน็ตและมือถือจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนไปตลอดกาล เริ่มต้นจากใน ฟิลิปปินส์ และในทวีปเอเชียก่อน เป็น Seed to Series A
  • - ปี 2015 เป็นช่วง Early/Early Growth Stage ที่พอเริ่มมีเงินทุนแล้ว เริ่มขยายออกไปใน Regional อื่นๆ ทั้งฝั่งอเมริกา, แคนาดา, สิงคโปร์, อิสราเอล, มาเลเซีย เพื่อให้มีความเป็น Global มากขึ้น จาก Series A ก็ขยับไปสู่ Series C
  • - ปี 2020 ยังเป็นช่วง Early/Early Growth Stage ที่มองต่อไปอีกว่าอนาคตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง อะไรที่จะเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต เพื่อที่จะได้ลงทุนได้ถูกต้องตามกระแสของโลกที่เปลี่ยนไป
  • - ปัจจุบัน กลายเป็นองค์กร Top Tech Venture Capital ในฟิลิปปินส์ไปแล้วด้วยผลงานการปั้น 2 Unicorns และการช่วยเหลือธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องการเงินทุนในการเติบโตเพื่อพัฒนาตัวเองและสิ่งรอบข้างไปพร้อมๆ กันในอนาคต
Process: Our How = “If” + “How much” - Startup Thailand
Process: Our How = “If” + “How much”
Matrix ในการประเมินธุรกิจในมุมต่างๆ
  • Stregic Fit:

    ก่อนอื่นเลยจะดูว่ากลยุทธ์และแนวทางของธุรกิจนั้นไปด้วยกันได้ไหม ใช่สิ่งที่เรากำลังมองหาหรือเปล่า โดยมี 4 รูปแบบที่ Kickstarter Ventures จะสนใจลงทุนดังนี้

    • 1.1) The Frictionless Future: อนาคตแห่งธุรกรรมและการโอนย้าย

      เราได้ก้าวมาสู่โลกที่ทั้ง Offiline และ Online เชื่อมต่อได้ได้อย่างไร้รอยต่อแล้ว ทำให้เราจึงสนใจธุรกิจที่มอบ Solution ในการที่จะทำให้ Digital เข้าถึงได้ทั้งในส่วนของสินค้า การบริการและข้อมูลต่างๆ

    • 1.2) From Automation to Augmentation: อนาคตแห่งการทำงานและต้นทุนมนุษย์

      เป็นส่วนที่จะสนใจว่า Technology จะสามารถผลักดันความสามารถของมนุษย์ในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ยังไงบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการที่จะทำให้คนทำงานได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญต้องมีความสุขในการทำงานมากขึ้นไปด้วย

    • 1.3) Smarter Living: อนาคตการอยู่ร่วมกันในบ้านและชุมชนอย่างฉลาด

      การมองหาว่า Technology นั้นจะสามารถสร้างพื่นที่ที่ดีขึ้นได้ เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของของประชากรดียิ่งขึ้น ทั้งเรื่องของการสร้าง การออกแบบ และการจัดการ ที่จะทำให้ชีวิตของผู้คนมีต้นทุนชีวิตที่ไม่สูง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างดี

    • 1.4) A World of Plenty: อนาคตแห่งกันแบ่งปันการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม

      ด้วยความที่ทรัพยากรในโลกมีจำกัดและกำลังจะหมดไปในทุกวัน การมองหาธุรกิจที่จะกระจายทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนในโลกไม่ขาดแคลนทรัพยากร ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการเพิ่มปัจจัยในการผลิตทรัพยากร การจัดเก็บ และการจัดการเพื่อนำมาใช้ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ

  • Economic:

    ส่วนนี้คือการพิจารณาจะคุ้มกับเงินลงทุนไหม ตลาดของธุรกิจที่จะทำใหญ่พอหรือเปล่า จะสามารถขยายตลาดได้ไหม จะดูค่า TAM (Total Addressable Market) ว่ามีโอกาสสร้างรายได้จากตลาดที่ระบุได้มากน้อยขนาดไหน นอกจากนี้ในส่วนของการขยายธุรกิจ ก็ต้องดูในด้านของชื่อเสียง ดูทีมงาน ว่ามีพฤติกรรมไม่ดีหรือไม่ เพราะชื่อเสียงที่ไม่ดี ก็จะทำให้ไปร่วมทุนกับคนอื่นๆ ได้ยาก หรือไม่มีคนดีคนเก่งเข้ามาร่วมงาน

    นอกจากนี้ยังต้องมีการดูเรื่องของจังหวะเวลาด้วย อย่างบางธุรกิจมีไอเดียที่ดีมาก แต่ว่ามาในช่วงที่ตลาดหรือทาง Regulator ยังไม่พร้อมที่จะตอบสนองต่อธุรกิจก็อาจจะไปต่อได้ยาก

  • Valuation:

    การตัดสินคุณค่าของธุรกิจจะดูจาก 2 สิ่งหลักๆ นั่นก็คือ

    • 3.1) Revenues

      ในส่วนนี้จะดูความสามารถในการทำรายได้ในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของรายได้จะเป็นแบบไหน เพราะแบบซื้อครั้งเดียวหรือรูปแบบสมาชิก Subscription ก็จะมีโมเดลการหาเงินที่ต่างกันออกไป ธุรกิจจะสามารถหารายได้มาได้เร็วขนาดไหน ธุรกิจจะจัดการในเรื่องของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ไดอย่างไรบ้าง เราต้องมองว่าสิ่งเหล่านี้จะสอดคล้องกับคุณค่าที่ลูกค้าจะยอมจ่ายไหม

    • 3.2) Multiple revenues to value equation

      นอกจากความสามรถในการทำรายได้ของธุรกิจแล้ว เรายังต้องมองหาธุรกิจในกลุ่มเดียวกันมาเทียบกันด้วย เพราะการหารายได้ได้มาก แต่อาจจะยังแพ้ธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อาจจะแปลว่าธุรกิจนั้นยังทำได้ไม่ดีพอเมื่อเทียบกับตลาด

Principles: ESG in the world of ROI - Startup Thailand
Principles: ESG in the world of ROI

จนถึงตอนนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ESG จะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่จะต้องอยู่ใน DNA ของบรรดา Kickstarter ทั้งหลาย และเป็นคำถามที่มักจะถามตลอดตอนที่จะลงทุน ว่าจะมีการทำอะไรที่เกี่ยวกับ ESG ในธุรกิจบ้าง แต่ละส่วนจะมีการผลอย่างไร พวกนี้จะละเอียดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัว G ที่เป็น Governance เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอะไรตามมา เพราะ Governance จะเป็นนโยบาย เป็นข้อกำหนดต่างๆ ของธุรกิจ ที่ยิ่งมีไว้ครอบคลุมเท่าไร ก็ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจได้เท่านั้น

จะต้องมีการดูเอกสารข้อกำหนดต่างๆ ของธุรกิจ ดูว่ามีความสอดคล้องกับกฏหมายทั้งในประเทศและในแบบสากลหรือไม่ ในส่วนที่เหลือก็จะเป็น S Social และ E Environment ที่จะมีคำถามในเชิงว่าธุรกิจจะช่วยเหลือสังคมและธรรมชาติของโลกได้ยังไงอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าจะต้องลำดับความสำคัญแล้วมองว่าจะกลายเป็น GSE มากกว่า



Footer