Startup Journey to Capital Market ถอดบทเรียนเส้นทางบริษัท Startup สู่ความสำเร็จในตลาดทุน

18 Dec 2023

เมื่อพูดถึงธุรกิจ Startup ต้องนึกถึงคำว่า ผู้ประกอบการ ที่มาจาก ผู้ประกอบ -การ ซึ่ง “การ” เราก็สามารถนำมาประกอบรวมได้หลายๆคำ เพื่อทำให้เกิดขึ้นมาเป็น ผู้ประกอบการ เช่น การผลิต, การขาย, การตลาด, การบริการลูกค้า , การดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ แม้กระทั้ง การเอาตัวรอด ต่อให้จะมีการเป็นร้อย สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการเป็นผู้ประกอบการก็คือ “การตัดสินใจ” เพราะ การตัดสินใจ จะทำให้เรารู้ว่าธุรกิจจะไปทางไหน ต้องการทำอะไร วางธุรกิจที่จะเติมโตไว้เป็นยังไง ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นการตัดสินใจของผู้ประกอบการ

“Investors” การมี Investors มาลงทุน บริษัทสตาร์ทอัพ (Startup) ต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย และต้องรับผิดชอบกับนักถือหุ้น ทุกครั้งที่รับเงินทุนมา เราต้องคอมมิคว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่จะเกิดขึ้น การได้ทุนมาจาก Investors ยิ่งมาเท่าไรก็นั้นคือการคาดหวัง
กฎของธุรกิจ Startup คือ
1. ปัญหา คือบ่อเกิดของโอกาส “ที่ไหนมีปัญหา ที่นั้นคือโอกาส”
2. ลูกค้าไม่มีคำว่า “พอ” มีแต่คำว่า “รอ” อย่างเดียว ลูกค้ามี โลโยตี๊ ดิจิตอล

บทเรียน จากการเป็นบริษัท Startup bpm : Balance | Purpose | Moment

1. Balance

1.1 Unlock Your Organization สำหรับการบริหารธุรกิจ Credit : Hermanwan Kartajaya

- Creativity x Productivity:
Creativity ตรงข้ามกับ Productivity บ้างครั้งเราก็ต้องแบบช่วงเวลา หากเรามีแต่ Creativity มีแต่ความคิดแต่ไม่ได้ลงมือทำ ก็อาจจะทำให้ Productivity ต่ำลง ทุกอย่างจะต้องสร้างความ Balance เข้าด้วยกัน

- Innovation x Improvement:
Innovation ทุกธุรกิจ Startup และ SME ต้องสร้าง Innovation ถ้าเป็นช่วงแรกๆที่สร้าง Innovation ขึ้นมาก็จะง่ายเพราะไม่เคยมีขึ้นมาก่อน แต่ว่า นานๆไป เราไม่สามารถ สร้าง Innovation สิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา Innovation สำหรับ Startup เป็น เรื่องที่น่าสนใจอยู่แล้ว แต่สำหรับ SME คำว่า Improvement สำคัญไม่แพ้กัน จะมีความอดทนกับผลิตภัณฑ์ สินค้าของคุณอยู่ตลอดเวลา และทำ ให้สินค้าดีขึ้นทีละนิด และแข็งแรง

- Entrepreneurship x Professionalism:
Entrepreneurship บ้างครั้งก็ต้องยอมรับ และปรับเปลี่ยนการทำงาน Professionalism ที่จะเข้ามาทำงานได้ตรงจุดมากกว่าด้วยประสบการ์ณและการชำนาญการที่จะเข้ามาทำธุรกิจ Startup ให้ดีขึ้น การทำงานทั้ง 2 ฝ่าย มีความแตกต่างในการทำงานกันมาก Entrepreneurship อาจจะทำงานๆได้เรื่อยๆ สนุกสนาน มีเวลาที่ยืดหยุดมาก ต่างจาก Professionalism ที่มีการทำงานเป็นระบบ active อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้ 2 ฝ่ายต้องสร้างความ Balance ร่วมกันระ หว่าง 2 ฝ่าย ต้องมีการปรับตัวในการทำงาน วางแผ่นร่วมกันมาขึ้น

- Leadership x Management:
Leadership ในการเป็นผู้นำ การสั่งการ ให้ทำนู้น ทำนี้ จะทำงานเร็ว แต่ก็ไม่ได้รัดกุม แต่กัน Management พอเข้ามา ถึงงานจะช้าหน่อย แต่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าต้องเข้าตลาดทุน การทำงานต่างก็ต้องรัดกุมมากยิ่งขึ้น

1.2 Expectation vs Satisfaction: การสร้างความคาดหวังที่ไม่มากเกินไป และไม่มีความท้าทายเลยก็ไม่ได้
1.3 All Ears : การครบคนให้ Balance การรับฟังความจากหลายๆ ทาง แต่ก็ต้องหาจุดสมดุลให้กับตัวเอง ความเราควรจะเลือกเดินไปทางไหน

2. Purpose : ต้องรู้ว่า Purpose ที่เราตั้งไว้คืออะไร
- Unicorn : เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า บริษัท Startup ของเราเราต้องการที่จะเป็น Unicorn หรือป่าว หรือแค่ต้องการให้บริษัทมี Growth ที่ดี ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น Unicorn
- การมีชีวิตที่ดี หรือ ธุรกิจที่ดี จะต้องมีทางเลือก
- ไม่ได้ต้องการสร้าง Valuation แต่ต้องสร้าง Business
- Next Train : ถ้าเราหาในสิ่งที่ใช่สำหรับเรา เจอขบวนที่ใช้ หรือ Business ที่เรามองว่าใช้สำหรับเรา ตอบโจทย์เรา ก็ให้เกาะติดไปกับมัน

3. Moment : ในการเป็นผู้ประกอบการที่ผ่านมา จะมีสิ่งที่เราประทับใจหรือที่เข้ามาให้เราได้มีการปรับเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น

Ansoff matrix
อีกหนึ่งตัวช่วย ที่เข้ามาในเรื่องของการว่างแผนของธุรกิจ คือ Ansoff matrix เป็นเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์และวางแผนการเติบโตของธุรกิจ ช่วยให้นักธุรกิจ Startup ในไทยและนักการตลาดในการทำความเข้าใจความเสี่ยงต่างๆในการขยายธุรกิจ

มุมมองเวลาที่ Investor ต้องการที่จะลงทุน เขาจะมีเรื่องเหล่านี้

Key Inflection Points ของบริษัท Startup

  • Do we know what problem we are solving? : คุณต้องรู้ เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้
  • Does it actually work? : คุณจะต้องเข้าใจ Solution รู้วิธีที่จะแก้ปัญหาได้
  • Will someone pay? : มันสามารถที่แก้ปัญหาได้จริง โดยไม่ใช้แค่ทำมาขายแค่บริษัทเดียว แต่คนอื่นสามารถที่ใช้งานได้ด้วย
  • Will many people pay? : ต้องดูมีคนยอมจ่ายหรือไหม หากมีแค่ 2-3 คน อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ แต่ถ้ามี หลักพัน หลักแสน มันก็สามารถที่จะเติบโตได้
  • Can non-founders sell this? : ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ก่อตั้งสามารถขายสิ่งนี้ได้หรือไม่? เริ่มต้นออกไปขายก่อน ถ้าขายกลับมาแล้วมี Operation Process ระบบภายใน ดีหรือป่าว
  • Does our growth process scale? : กระบวนการเติบโตของเราขยายขนาด ตัวนี้จะเป็นตัดวัดว่าเราสามารถที่จะอยู่ในตลาดได้ไหม
  • Can we scale without excessive churn? : การแข่งขันมีตลาดมีค่อนข้างเยอะ อาจจะต้องมีการปรับมายิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้ ธุรกิจเราสามารถที่จะอยู่ต่อไปได้
  • Can we scale profitably? : ความท้าทายในตลาดมีสูง เราไม่สามารถห้ามให้คนอื่นมาแข่งธุรกิจกับเราได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณโบ๊ท-ไผท ผดุงถิ่น CEO & Co Founder Builk One Group

Footer