สร้างกลยุทธ์ให้ StartUp เติบโตแบบก้าวกระโดด เขียน Business Plan Framework ให้จับใจนักลงทุน

7 January 2025
สร้างกลยุทธ์ให้ StartUp เติบโตแบบก้าวกระโดด เขียน Business Plan Framework ให้จับใจนักลงทุน - Startup Thailand

อยากพาธุรกิจไปให้ถึงเป้าหมายให้เร็วที่สุด ไม่เพียงแค่ไอเดียเจ๋ง ๆ อย่างเดียวการทำแผนธุรกิจให้ชัดเจน การเขียน Business Plan Framework จะช่วยสร้างธุรกิจมีความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการและ StartUp Thailand ไปถึงจุดหมายของธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้น

Business Plan Framework คือ โครงสร้างที่ใช้สำหรับการจัดทำแผนธุรกิจ โดยมีการจัดองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อให้การวางแผนธุรกิจเป็นระบบ ชัดเจน และครอบคลุมทุกด้านของการดำเนินงาน AIS The StartUp ขอพาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเขียน Business Plan Framework ตั้งแต่แนวคิดธุรกิจไปจนถึงการบริหารจัดการ StartUp สามารถนำไปเป็นตัวกำหนดธุรกิจของตัวเอง ดังนี้

  1. กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว
  2. วางแผนทรัพยากรที่จำเป็น
  3. เข้าใจตลาดและลูกค้า
  4. ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ

ต้องมีอะไรบ้างในแผนธุรกิจ Business Plan Framework (Key Elements of a Business Plan)

  • Business Idea & Background ผู้ประกอบการ StartUp อธิบายแนวคิดธุรกิจและความเป็นมาของธุรกิจ แนวคิดการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ
  • Business Analysis วิธีวิเคราะห์ธุรกิจด้วยเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ StartUp เข้าใจกลไกและทิศทางตลาดที่กำลังเผชิญอยู่ เตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ และวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องมือที่ใช้ Business Analysis

SWOT Analysis
SWOT Analysis - Startup Thailand
TOWS Matrix
TOWS Analysis - Startup Thailand
PESTEL Marketing Plan

การกำหนดกลยุทธ์การตลาด เช่น Segmentation และ Positioning เพื่อให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่แท้จริง ต้องตอบให้ได้เราทำไปเพื่ออะไร (What) เราอยู่ที่จุดไหน (Where) และจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร (How)

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบรนด์เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการ StartUp สร้าง Business Model เพื่อวางกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจ แบบแผน การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

Business Model Canvas : BMC

TOWS Analysis - Startup Thailand
ความท้าทายในการทำ BMC : ภาพรวมธุรกิจที่อาจทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงเป้าหมาย
ความท้าทายในการทำ BMC : ภาพรวมธุรกิจที่อาจทำให้ธุรกิจไปไม่ถึงเป้าหมาย - Startup Thailand

- Operation Plan

แผนงานที่อธิบายกระบวนการผลิต การบริการ และการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องธุรกิจ ผู้ประกอบการ StartUp จะต้องประเมินแผนว่าธุรกิจเราจำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง เพื่อประเมินต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการหาพันธมิตรธุรกิจให้สอดคล้องกับธุรกิจของตัวเอง ช่วยให้ผู้ประกอบ StatUp วางแผนธุรกิจและลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และติดตามวัดผล KPI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เริ่มทำ Operation Plan เริ่มจากอะไร

  1. กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน การผลิตและดำเนินงานให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. วิเคราะห์ทรัพยากรและกระบวนการ ตรวจสอบว่ามีทรัพยากรเพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ และตรวจสอบกระบวนการยังมีจุดอ่อนตรงไหนอยู่บ้าง
  3. ออกแบบขั้นตอนการทำงาน ระบุขั้นตอนที่ชัดเจนในแต่ละกระบวนการ เช่น การจัดซื้อ การผลิต การจัดส่ง
  4. จัดสรรทรัพยากร วางแผนและประเมินการใช้ทรัพยากรของการทำงานในองค์กร เช่น จำนวนพนักงาน กำลังการผลิต ต้นทุน ค่าใช้จ่าย
  5. ติดตามและปรับปรุง ใช้ตัวชี้วัด KPI เพื่อติดตามผลลัพธ์และปรับปรุงกระบวนการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ

- Financial Plan

แผนการเงิน ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ StartUp ให้สามารถวางแผนรายรับ รายจ่าย และการลงทุนได้อย่างเป็นระบบ และสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ได้ล่วงหน้า ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

แนวทางการทำ Financial Plan กำหนดเป้าหมายทางการเงิน เช่น อยากเพิ่มกำไร 20% ภายในปีหน้า รวบรวมข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลยอดขาย ต้นทุน และผลประกอบการในอดีต วิเคราะห์ข้อมูล ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เช่น การคำนวณจุดคุ้มทุน และการคาดการณ์กระแสเงินสด สร้างแผนทางการเงิน กำหนดงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตลาด การลงทุน ติดตามและปรับปรุง ตรวจสอบผลลัพธ์ทางการเงินและปรับแผนตามสถานการณ์

การคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-Even Point)

คือ จำนวนของสินค้าที่คุณต้องขายเพื่อให้รายได้กลับมาเท่าทุน เพื่อป้องกันการขาดทุนและสร้างกำไรให้มากขึ้นด้วย

รู้ก่อนคำนวณ ต้นทุนมีอะไรบ้าง

  1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ต้นทุนที่ต้องจ่ายเท่าเดิมทุก ๆ เดือน เช่น ค่าเช่าที่, เงินเดือน
  2. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) ต้นทุนที่มีความผันแปรไปตามจำนวนการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ

วิธีคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-Even Point)

ร้านขนมเค้ก มีต้นทุนค่าเช่าแผง (ต้นทุนคงที่) 10,000 บาทต่อเดือน
ต้นทุนต่อขนม 1ชิ้น = 20 บาท
ราคาขายชิ้นละ 40 บาท
กำไรขั้นต้นต่อชิ้น = 40-20 = 20 บาท
จุดคุ้มทุน = 10,000/ (40-20) = 500 ชิ้น / เดือน

ขายได้ 700 ชิ้น

รายได้ 700*40

= 28,000 บาท

ต้นทุนสินค้า (COGS) 700*20

= 14,000 บาท

กำไรขั้นต้น (Gross Margin)

= 14,000 บาท

ค่าเช่าแผง

= 10,000 บาท

กำไรสุทธิ

= 14,000 - 10,000 = 4,000 บาท

- Emergency Plan

แผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยจะกำหนดกลยุทธ์แผนธุรกิจไว้ล่วงหน้า เพื่อลดผลกระทบได้และความเสียหายในธุรกิจได้ในระยะสั้น เช่น ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ โรคระบาด เป็นต้น

การทำธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับและสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน แค่ไอเดียอย่างเดียวคงไม่พอ การวางแผนกลยุทธ์พร้อมรับความท้าทายในทุก ๆ ด้านต่างหากที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพต้องทำความเข้าใจและสื่อสารธุรกิจของตัวเองออกมาให้ตรงใจผู้บริโภค

AIS The StartUp เพื่อนคู่คิดธุรกิจ StartUp พร้อมสนับสนุนเครื่องมือและทีมพาร์ทเนอร์ เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างผู้ประกอบการสตาร์อัพดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก ดร.เอื้อมพร ปัญญาใส
กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน)

Footer