มื่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้า จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการบริหาร AIS The StartUP พาร์ทเนอร์ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจ SME เพื่อสร้างวิธีการทำงานใหม่ ๆ , ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ รวมถึง โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ก่อให้เกิดประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น, เพิ่มประสิทธิภาพและผลิต, ลดต้นทุนควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ
การพัฒนาโซลูชันดิจิทัลต่าง ๆ ต้องการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ เพื่อเป็นองค์ประกอบหลักในการทำโซลูชัน เช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคผ่านระบบ AI video analytic, รถยก หรือขนสินค้าแบบอัตโนมัติไร้คนขับ, โดรนบินตรวจตราสิ่งผิดปกติระยะไกล, การควบคุมเครื่องจักร หรือหุ่นยนต์แขนกลในสายการผลิต แบบระยะไกล
AIS Paragon Platform เป็นแพลตฟอร์มที่รวมโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาโซลูชันยุคใหม่เหล่านี้ อย่างครบวงจร ซึ่งลูกค้าองค์กร หรือนักพัฒนาโซลูชัน สามารถใช้แพลตฟอร์มนี้ ในการเปิดใช้บริการ หรือบริหารจัดการได้รวดเร็วขึ้น สะดวกขึ้น
จุดเด่นที่สำคัญ คือ การนำเทคโนโลยี 5G network มาเชื่อมต่อกับ เทคโนโลยี MEC (Multi-access Edge Computing) ทำให้เกิดคุณสมบัติเด่น ในการให้บริการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่มี bandwidth สูง รองรับการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ รวมถึงการทำnetwork slicing ซึ่งเป็นคุณสมบัติใหม่ที่สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมในแต่ละความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละแอปพลิเคชัน อาทิ ความต้องการของหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม และเชื่อมโครงข่าย 5G กับเทคโนโลยี MEC (Multi-access Edge Computing) ที่สามารถติดตั้ง แอปพลิเคชันของลูกค้า เพื่อสามารถประมวลผล ตอบสนองที่ไว เนื่องจากเทคโนโลยี MEC จะอยู่ใกล้กับจุดใช้งานทำให้ช่วยลดเวลาแฝงในการส่งข้อมูล (low latency) นอกจากนั้น MEC ยังสามารถทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันบางส่วนที่อยู่บน Public cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานที่ต้องประมวลผลว่าคนที่เดินเข้ามาในพื้นที่มีสิทธิ์ผ่านเข้ามาในเขตหวงห้ามไหไหม อาจจะประมวลผลบน MEC และเก็บข้อมูลย้อนหลังคนเข้ามาในพื้นที่ย้อนหลัง 1 ปี บน Public cloud เป็นต้น
AIS Paragon Platform เป็นแพลตฟอร์มที่รวมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาโซลูชันยุคใหม่ อย่างครบวงจร ได้แก่
สามารถตอบโจทย์โซลูชันที่ต้องการความเร็วสูง (high bandwidth) หรือการตอบสนองที่ไว (low latency) และมีความปลอดภัยสูง สามารถจัดสรรโครงสร้างพื้นฐานได้ง่าย รวดเร็ว และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานได้ด้วยตนเอง สะดวกและง่ายในการขยายหรือลดการใช้ทรัพยากรตามการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อติดตั้งอุปกรณ์
MEC ย่อมาจากชื่อเต็มที่เรียกว่า Multi-Access Edge Computing หรือมีความหมายโดยรวมคือ สถาปัตยกรรมที่มีการวางหน่วยประมวลผล หรือ Cloud Computing ไว้ที่ขอบเขตของการใช้งานเครือข่าย หรือเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ การนำระบบ Cloud Computing มาวางไว้ที่เสาสัญญาณหรือเน็ตเวิร์ค ของผู้ให้บริการเลยนั่นเอง การที่มีหน่วยประมวลผลไว้ที่เครือข่ายก็เพื่อให้อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือลดความล่าช้าของการประมวลผล และรับส่งข้อมูล อันเนื่องมาจากระยะทาง และความแออัดของข้อมูลในระบบเครือข่าย โดยการประมวลผลข้อมูลและแอปพลิเคชันให้ใกล้กับจุดที่ข้อมูลถูกสร้างขึ้นมากที่สุด แทนที่การพึ่งพาการประมวลผลจากศูนย์กลางเช่น Public Cloud KSo Centralized Data Center นั่นเอง
การทำให้ระบบประมวลผลอยู่ใกล้กับผู้ใช้หรืออุปกรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้ลดระยะทางและเวลาในการรับส่งข้อมูลให้ได้ response ที่ near real-time มากที่สุด
สถาปัตยกรรม MEC ช่วยให้สามารถปรับขนาดทรัพยากรตามความต้องการได้โดยอัตโนมัติ แอปพลิเคชันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ตามความจำเป็นทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลาที่ใช้งานสูงสุดโดยไม่ต้องมีการให้ทรัพยากรมากเกินไป
MEC จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการสร้างประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้เป็นไปได้ โดยการปลดล็อกบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AI, VDO Analytics หรือการสร้างการใช้งานด้าน industry 4.0
เพิ่มความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล ด้วยการออกแบบของสถาปัตยกรรม MEC ที่วางระบบประมวลผลไว้ที่เครือข่าย ทำให้ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลสำคัญผ่าน internet ไปยัง public cloud ทั่วไปโดยไม่จำเป็น
การกระจายระบบประมวลผลไว้ที่ขอบเขตของเครือข่าย ช่วยให้เพิ่มความเสถียรของการทำงานได้มากยิ่งขึ้น โดยลดการพึ่งพาระบบประมวลผลกลางเพียงระบบเดียว (Centralize Cloud)
Application ที่ใช้งานอยู่บน Public Cloud ทั่วไป การส่งข้อมูลนอกจากการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่ใช้งานแล้ว ยังต้องผ่านระบบต่างๆของเครือข่ายไปจนถึงการออกอินเทอร์เน็ต แล้วถึงจะสามารถส่งข้อมูลไปยัง Public Cloud ที่ใช้งานได้ ซึ่งจะส่งผลต่อความล่าช้า หรือ latency ที่เกิดขึ้น มีความล่าช้ามากกว่าการใช้งาน MEC การใช้งาน Cloud ทั่วไปจึงเหมาะกับระบบหรือApplication ที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูล หรือการประมวลผลที่ไม่จำเป็น response ต่อผู้ใช้งานแบบ real-time
การวางสถาปัตยกรรมของการประมวลผลไว้ใกล้กับเครือข่าย หรือ network มากที่สุด ส่งผลให้ความล่าช้าของการรับ-ส่ง ข้อมูล (latency)นั้นเป็นเวลาสั้นมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้งานร่วมกับเครือข่าย 5G จะส่งผลสามารถทำให้ latency ต่ำกว่า 20 ms ได้ การใช้งาน MEC นี้จึงเหมาะสมกับระบบ หรือ Application ที่ต้องการความหน่วงต่ำ การประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว รวมไปถึงความต้องการ response ต่อผู้ใช้งานแบบ real-time ได้เป็นอย่างดี
MEC และ Cloud สามารถออกแบบให้เชื่อมต่อ และใช้งานร่วมกันได้ เช่น อาจจะแยกแอปพลิเคชัน บางส่วนอยู่บน MEC และ บางส่วนอยู่บน Cloud ตัวอย่าง AI Video Analytic ในส่วนวิเคราะห์ AI face detection ว่าเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตเข้าพื้นที่ไหม จะอยู่บน MEC ส่วนการเก็บประวัติการเข้าพื้นที่รายปี อาจจะเก็บไว้บน Cloud
การวางหน่วยประมวลผลไว้ที่พื้นที่การใช้งานเอง เช่น การตั้ง on premise server ถึงแม้ว่าจะสามารถช่วยลดระยะเวลาของการประมวลผล หรือ รับส่งข้อมูลได้ แต่ก็มีความแตกต่างในหลายแง่มุม
การใช้งานแบบ On-Premise Server จะทำให้ผู้ประกอบการจำเป็น ต้องลงทุนในเรื่องของ Hardware รวมไปถึง Software ด้วยตนเอง อีกทั้งยังจำเป็นต้องบริหาร จัดการ และทำ maintenance ด้วยตนเองอีกด้วย ในขณะที่ค่าบริการใช้งาน MEC จะคล้ายคลึงกับการจ่ายค่าบริการใช้งานคลาวด์ และไม่จำเป็นต้องทำการ maintenance ด้วยตนเอง
ถึงแม้ว่าการใช้งานแบบ On-Premise Server จะสามารถลด หรือ ขยายขนาดของการใช้งานตามความต้องการขององค์กรก็ได้ก็จริง แต่ในกระบวนการทำงานจริงนั้นยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลา ในขณะที่ MEC ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับขนาดของการใช้งานประมวลผล ซึ่งสามารถกำหนดเพิ่มหรือลดได้จาก Software Platform เช่น AIS PARAGON Platform ช่วยให้สามารถปรับการใช้งานตามความต้องการใช้งานจริงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
การเก็บหรือประมวลผลข้อมูลไว้บน On-Premise Server หรือในพื้นที่ขององค์กรเอง ทำให้การดูแลข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรนั้น ๆ รวมไปถึงการทำ software update ของระบบที่ใช้ประมวลผลให้มีความทันสมัย ปลอดภัยต่อทางไซเบอร์อยู่เสมอ ในขณะที่ระบบประมวลผล MEC ก็มีความเป็นส่วนตัวสูงเช่นกัน เนื่องจากอยู่ใกล้กับผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถออกแบบการเชื่อมต่อให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ MEC เองถูกออกแบบอยู่บนมาตรฐานความปลอดภัย และมีการทำ software update ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อยู่เสมอจากผู้ให้บริการ จึงสามารถวางใจในเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลเป็นอย่างดี
AIS Paragon SIM จะเชื่อมต่อตรง จาก 5G/4G network ไปยังแอปพลิเคชันของลูกค้าที่ติดตั้งอยู่บน AIS MEC (Paragon platform)ที่ลูกค้าเปิดใช้บริการ โดยไม่ออก internet ทำให้สะดวก ปลอดภัยจากการถูกโจมตีได้ง่าย พร้อมแพ็กเกจที่ให้เลือกความเร็วได้ตามความเหมาะสมการใช้งาน
AIS The StartUp พาร์ทเนอร์คู่สตาร์ทอัพไทย สนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ช่วยให้สามารถพัฒนาโซลูชันและสร้างการเติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล