โครงการ Future Makers Regional Program เป็นโครงการที่ทาง Singtel Group นำโดย Singtel และ Optus มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริม Startup ที่สร้างสรรค์สังคมในเรื่องของ SDGs (The Sustainable Development Goals) ในโลกปัจจุบัน จำนวน 17 เรื่อง โดยการนำ Innovation และ Technology เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสังคมโลก โครงการ Future Makers จะนำตัวแทนของ Startup ในแต่ละประเทศที่มีธุรกิจสอดคล้องกับ SDGs มารวมตัวและแชร์ความรู้ เทคโนโลยี สร้างความร่วมมือพร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าไปในตลาดต่างประเทศ
ซึ่ง Startup สาย SDGs นี้ นอกจากจะมีหน้าที่พัฒนาแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้ว การจะเป็น Startup สายนี้ต้องคิดต่อยอดไปถึงการมอบหรือคืนอะไรให้กับสังคมอีกด้วย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเข้าถึงชุมชน
ซึ่งในงานนี้ทาง AIS The StartUp นำโดย ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp ได้มีการคัดเลือกทีม Startup ไปร่วมงานในครั้งนี้ถึง 2 ทีมด้วยกัน ได้แก่ คุณสมศักดิ์ บุญคำ Co-Founder, Local Alike สตาร์ทอัพไทยกับโมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และ
คุณจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ CEO, VT Thai โมเดลธุรกิจน่าสนใจที่พาหัตถกรรมไทยโกอินเตอร์อย่างภาคภูมิใจ ซึ่ง AIS The StartUp ก็มีบทบาทสำคัญในงานนี้ด้วย จะมีอะไรกันบ้างตามไปดูกันเลย!!
สำหรับโครงการ Future Makers Regional Program ทาง AIS The StartUp มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุน Startup สาย SDGs นี้ ทั้งในฝั่งของ AIS เอง และฝั่งของโครงการอีกด้วย
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับ 2 Startup Thailand จาก AIS The StartUp ที่นอกจากจะได้รับโอกาสในการรวมตัวและแชร์ความรู้ด้านเทคโนโลยี สร้างความร่วมมือพร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าไปในตลาดต่างประเทศแล้ว ก็ยังได้รับรางวัลกลับมาด้วย
โดยทีม Local Alike ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ ทีม VT Thai ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ทางด้านทีม VT Thai หนึ่งในทีมสตาร์ทอัพไทยที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาครอง กับโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ โดยการพาหัตถกรรมไทยโกอินเตอร์สู่สากลด้วยการผสมผสานนำเอาวัตถุดิบจักสานของไทยผ่านการทำ Marketing ในรูปแบบ E-Commerce บนแนวคิด Thai Handicraft Marketplace ที่เว็บไซต์ www.vtthai.com พร้อมกับการสร้างแบรนด์สินค้าจักสานไทยนาม “VT Thai” พาหัตถกรรมไทยโกอินเตอร์
เข้ามาช่วยสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวบ้านในพื้นที่ให้มีรายได้มากพอที่จะดูแลครอบครัวอย่างต่อเนื่องและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหัตถกรรม
CEO, VT Thai
“รู้สึกดีใจที่ AIS The StartUp เลือกเรา ทั้งที่ทีมเราเป็นทีมเล็กๆ และเปิดมาได้แค่หนึ่งปี รู้สึกดีใจและตื่นเต้นเพราะว่าเป็นการ Pitch ภาษาอังกฤษครั้งแรกในต่างประเทศ และเป็นการ Pitch แค่ 3 นาที ขอขอบคุณ AIS The StartUp ที่ให้โอกาสให้ได้มีประสบการณ์ ในการ Pitch งานที่ต่างประเทศได้เจอกับธุรกิจที่มี Social Impact ในต่างประเทศและได้นำรางวัลกลับมาอีกด้วย”
สำหรับทาง VT Thai ในอีก 5 ปีข้างหน้า หากคุณมองหางาน Hand Craft ของไทย “คุณจะคิดถึงเราเป็น Top 3” และอีก 3 ปีข้างหน้า Designer ทั่วโลกที่อยากทำงานร่วมกับหัตถกรรมไทย “คุณจะนึกถึงเราเป็นอันดับแรก” และไม่ว่าคุณจะมองหา Traditional Hand Craft ของแบบดั้งเดิมหรือของที่เป็น Modern Hand Craft สมัยใหม่ที่สามารถใช้ได้ทุกวัน คุณก็สามารถหาได้ที่ VT Thai
ปัจจุบัน Startup Thailand มีเยอะมาก ต้องการให้ Startup รุ่นใหม่คิดถึงในเรื่องของ Social Impact ที่นอกจากการทำแล้วได้กำไร ให้คิดถึงสิ่งที่ทำอยู่ว่าได้สร้างอะไรที่ดีให้กับสังคมบ้างหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ในต่างประเทศค่อนข้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมากสุดท้ายก็เพื่อการอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง
มาต่อกันที่ทีม Startup Thailand ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาครอง นั่นก็คือทีม “Local Alike” กับโมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยชุมชนเพื่อชุมชน ที่ให้มากกว่าความสุข การท่องเที่ยวในแบบของ Local Alike คือ การจัดทัวร์ที่ให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการออกแบบทริปและนำเที่ยวเองของแต่ละชุมชน โดยมีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์อย่างมี “คุณภาพ” จากการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
1. Village Tour
2. Day Tour
3. Activity-Based Tourism
โดยทั้งหมดสามารถจองผ่านทางเว็บไซต์ www.localalike.com ได้
Co-Founder, Local Alike
“ขอขอบคุณ AIS The StartUp ที่ให้โอกาสเราและให้คำแนะนำมากมาย ทำให้เราได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กลับมาด้วย การที่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ได้ความรู้เกี่ยวกับ Network ที่อยู่ในเครือ Singtel Group ทั้งหมด รวมถึงได้รู้จัก Future Maker ในอีก 5 ประเทศที่มาร่วมโครงการนี้ด้วยกัน ทำให้ได้ทราบถึง Impact Investment หรือการลงทุนเพื่อสังคมในระดับโลก ว่าประเทศอื่นๆ ไปถึงไหนกันแล้ว และแวดวงในการลงทุนเพื่อสังคมมีอะไรกำลังเกิดขึ้นบ้าง”
ปัจจุบัน Local Alike ขยายพื้นที่ของชุมชนได้มากกว่า 100 ชุมชนแล้ว และยังขยายไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย ในอนาคต Local Alike ต้องการที่จะสเกลธุรกิจไปยังต่างประเทศให้มากขึ้น
ในแวดวงของการลงทุน สุดท้ายเราต้องมองที่ Financial Return ถ้าคุณต้องการเป็น Startup สาย Social Enterprise คุณก็ต้องมี Social Return ด้วย จึงทำให้ยากต่อการได้เงินทุน เพราะฉะนั้นการที่นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุน ไม่ใช่มีแค่ Factor เดียวบางทีมีหลาย Factor เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้มัน Cover ที่สุด
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ทีมได้รางวัลกลับมาซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจเป็นอย่างมาก นี่อาจเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า Startup ไทยตอนนี้เริ่มมีความสามารถที่จะเติบโตสู่ตลาดต่างประเทศได้ในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับในปีหน้าถ้าคุณต้องการจะส่งผลงานเข้ามา ให้ถามกับตัวเองว่าอยากเป็น Startup เพราะ Fashion หรือเพราะ Passion และเรามีความรู้พอที่จะทำหรือไม่ ถ้ามีไม่พอให้ศึกษาหาความรู้ให้เพียงพอ รวมถึงคุณต้องลงมือเพราะไม่ว่าจะมีความรู้แค่ไหนก็ไม่มีทางรู้เลยว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิดหากไม่ทดลองและวัดผล และสุดท้าย คือ ในขั้นตอนการลงมือทำ คุณต้องไม่ทำคนเดียว จงออกไปหา Connection หรือประสบการณ์ข้างนอกเยอะๆ
ทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องการได้รับการสนับสนุนทางธุรกิจแบบ VT Thai และ Local Alike ทาง AIS The StartUp ก็ได้เปิดโอกาสให้กับทุกคนสามารถเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ AIS The StartUp ได้ และพร้อมสนับสนุน Startup ในตลอดเส้นทางการเดินทางของธุรกิจในการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผนธุรกิจทางการตลาด และรับสิทธิพิเศษมากมายในฐานะ Partnership ไม่ว่าจะเป็นการได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ การเข้าร่วม Workshop ต่างๆ คุณก็สามารถเป็นอย่าง VT Thai และ Local Alike ได้ เพียงส่งผลงานมาได้ที่
บทความโดย
AIS The StartUp