Startup Thailand และองค์การใหญ่มีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ องค์กรใหญ่ใช้ประสบการณ์ทำงานอย่าง มืออาชีพมากกว่า มีระเบียบแบบแผนและมีขั้นตอนการทำงานที่กำหนดชัดเจน หลายๆ ครั้งแบบแผนถูกกำหนดด้วยกลุ่มที่ปรึกษา มากกว่ามาจากคำแนะนำจากพนักงานที่อยู่หน้างานจริงๆ แบบแผนที่ได้รับการคิดวิเคราะห์จากกลุ่มที่ปรึกษาจะถูกส่งมอบให้ พนักงานเป็นผู้ปฏิบัติ ส่งผลให้พนักงานโดนฝึกฝนให้เป็น “ผู้ทำ” ที่เป็นมืออาชีพ มากกว่าการเป็น “ผู้คิด” ที่มีวิสัยทัศน์ในระยะยาว
ในขณะที่ บริษัท Startup ที่อยู่ใน Market-Proven Stage หรือบริษัทมีการเติบโตมาระยะหนึ่งและมีฐานลูกค้าที่ยอมรับใน สินค้าและบริการ มีการทำงานกึ่งแบบแผน กึ่งความเป็นมืออาชีพ นั่นคือ พวกเขาเริ่มมีข้อตกลงการทำงานในองค์กรอย่างสมเหตุ สมผล แต่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นเพื่อ ริเริ่มและปรับปรุงกระบวนการทำงาน ด้วยสไตล์การทำงานที่ แตกต่างจากองค์กรใหญ่ ทำให้ Startup Thailand หลายเจ้า มีโอกาสในการขยับตัวเพื่อสร้างนวัตกรรม หลายๆ ครั้งนวัตกรรมของบริษัท Startup ก็เกิดขึ้นจากการเห็นปัญหาที่แท้จริงของการทำงานของพนักงาน แล้วนำเทคโนโลยีมาสร้าง Solution เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ ให้ตัวเอง จากนั้นจึงขยายเป็นสินค้าและบริการเพื่อนำขายสู่ตลาด ยกตัวอย่างเช่น FlowAccount (www.flowaccount.com) เป็นต้น
FlowAccount เป็นระบบบัญชีแบบง่ายๆ สำหรับผู้ประกอบการ Startup Thailand รายเล็กที่สามารถจดบัญชีเข้าระบบได้ภายใน 1 นาที FlowAccount เริ่มต้นมาจากที่นาย กฤษฎา ชุตินธรและกลุ่มผู้ก่อตั้ง ดำเนินธุรกิจและ ก่อตั้งบริษัทขนาดเล็กมาร่วมกันเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี เมื่อมีรายจ่าย -ยอดขาย พวกเขาต้องทำบัญชี แต่ระบบบัญชีที่มีรองรับในตลาดล้วนเป็น ระบบบัญชีที่มีราคาแพง มีความสมบูรณ์ในฟังก์ชันการใช้งาน มีความ ซับซ้อน เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานขององค์กรใหญ่ และระบบ เหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นบริการจากต่างประเทศที่ไม่รองรับภาษาไทย ทำให้ ผู้ประกอบการรายเล็ก Freelance หรือนักศึกษาที่มีอาชีพเสริม ที่เรา มักเรียกพวกเขาว่าเถ้าแก่วันหยุด ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานระบบบัญชี ราคาแพงเหล่านั้นได้
ในขณะที่นายกฤษฎาได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงจากการทำงาน ก็ได้สังเกตแนวคิดการทำธุรกิจของสินค้า Life style อื่นๆ ว่า จริงๆ แล้วมีสินค้าในกลุ่ม Life style ได้แก่ MUJI และ IKEA ที่มีการออกแบบที่สวยงาม มีความความง่ายในการใช้ง่าย แล้วอยู่ใน ราคาที่เอื้อมถึง ทำให้ทุกๆ คนสามารถมีของสวยและดีใช้ ในขณะเดียวกันในกลุ่มสายการบิน ในอดีตจะมีแต่สายการบินราคาแพง ที่เป็น Full Service แต่ปัจจุบันสายการบิน Lowcost ตัดการบริการที่ไม่จำเป็นออก ทำให้ราคาลดลงเพื่อให้ทุกๆ คนมีโอกาสที่จะ เดินทางโดยเครื่องบินและถึงที่หมายได้เช่นกัน
จากการสังเกตดังกล่าว กลุ่มผู้ก่อตัง FlowAccount ตั้งคำถามว่า
“ทำไมจึงไม่มีระบบบัญชีที่มีแนวคิดเช่นเดียวกับ Muji, IKEA, หรือ สายการบิน Lowcost ที่มี สไตล์การออกแบบ ใช้งานง่าย และราคาไม่แพง ให้กับ Freelance ธุรกิจคนเดียว หรือ ธุรกิจที่มีขนาดเล็ก”
กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นนักบัญชี หลายครั้งไม่มีความรู้เรื่องบัญชี ไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์ของฟังก์ชั่น 100% แต่ต้อง การฟังก์ชันการใช้งานที่พวกเขาเข้าใจ และ เพียงพอต่อความจำเป็นใช้งานเท่านั้น
จากความเข้าใจในปัญหาผนวกกับคุณสมบัติการช่างสังเกต จากนั้นเริ่มตั้งปัญหาและหากลุ่มคนที่มีปัญหานั้นจริงๆ ว่ามี ใครบ้าง จึงได้ออกสร้าง FlowAccount เพื่อมาเป็น Solution เพื่อมาแก้ปัญหานั้นจริงๆ
ในปี 2015 FlowAccount เข้าร่วมประกวดของ AIS The StartUp และจากการนำเสนอที่ตรงประเด็น FlowAccount ได้รับคัดเลือกเป็น ผู้ชนะ AIS The StartUp 2015 ในวันนั้นเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น จากวันนั้น FlowAccount โฟกัสที่ลูกค้าเป็น หลักทำการออกแบบระบบยึดถือความง่ายของผู้ใช้เป็นหลัก ลูกค้าจึงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณอย่างรวดเร็ว และทำให้ FlowAccount เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
และในวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา FlowAccount ได้ประกาศการร่วมทุนระดับ Pre-Serie A กับ SBI Investment ซึ่งเป็นนักลงทุนที่ชำนาญด้าน Fintech จากประเทศญี่ปุ่น และ นักลงทุนร่วมอื่นๆ ได้แก่ Beacon Venture Captital, Golden Gate Venture และ 500Tuktuks
FlowAccount เป็นรุ่นพี่ AIS The StartUp ที่นำประสบการณ์ต่างๆ มาถ่ายทอดให้กับรุ่นน้องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้และมีตัวอย่างในการดำเนินธุรกิจ สร้าง Community ที่อบอุ่นด้วยกัน
หากคุณมีไอเดีย มีผลงานสามารถมาร่วมเป็นหนึ่งในครอบครัว AIS The StartUp โดยส่งผลงานเพื่อรับโอกาสเข้าร่วม Monthly Pitching ได้ที่ https://www.ais.th/thestartup/connect.html
บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp