เรียกได้ว่าช่วงที่ผ่านมาสำหรับวิกฤติ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลกเป็นวงกว้าง สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิตของผู้คน สังคม รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจ กลายเป็น New Normal ความปกติรูปแบบใหม่ที่ทำให้เหล่า Startup Thailand ต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่
เพื่อพัฒนาหาทางออกให้ธุรกิจอยู่รอดและเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วันนี้ AIS The StartUp จึงอยากพาทุกคนไปดูบทเรียนในการปรับตัวของเหล่า Startup Thailand ท่ามกลางวิกฤตนี้กันครับ
เมื่อวิกฤต COVID-19 เกิดขึ้นกระทันหันในแบบที่ไม่มีใครได้ทันวางแผนรับมือ ทำให้การดำเนินธุรกิจนั้นต้องอาศัยความระมัดระวัง เมื่อความไม่แน่นอนกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ บริษัท Startup Thailand จึงต้องเรียนรู้และประเมินสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร คิดพัฒนาค้นหาโซลูชันเพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไป
และปรับเข้าได้กับสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมสร้างความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ยิ่งเราปรับตัวได้เร็วตอบสนองลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ก็จะช่วยสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจมากยิ่งขึ้น
อย่างเช่น การปรับตัวของเหล่าแบรนด์เสื้อผ้าที่หันมาทำหมวกแบบพิเศษและหน้ากากอนามัยออกจำหน่ายตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดการแพร่ระบาด ทำให้มียอดขายถล่มถลาย เช่นเดียวกับร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าที่หาทางอยู่รอดด้วยการเพิ่มบริการส่งอาหารและสินค้าต่างๆ แบบ Delivery นั่นเอง
แน่นอนว่าภาคธุรกิจต้องเจอกับความท้าทายในเรื่องรายได้ที่ลดลง เกิดเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องหันความควบคุมต้นทุนกันเป็นอย่างหนัก แต่ถ้าหากมองให้ดีในวิกฤตมักมีโอกาสเกิดขึ้นกับเราได้เสมอ
จากช่วงที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงกลายเป็นโอกาสของกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี มีคนสนใจหันมาใช้งานมากขึ้น เช่น
เป็นอีกกลุ่มที่เติบโตโดดเด่น เพราะผู้คนสามารถปรึกษาเรื่องสุขภาพเบื้องต้นกับแพทย์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ต้องออกเดินทางไปโรงพยาบาล ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคและลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้
เมื่อผู้คนต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน จึงต้องการตัวช่วยที่จะทำให้การทำงานนั้นลื่นไหลไม่มีสะดุด อย่างแอปพลิเคชัน Zoom มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นถึง 610% นี่จึงกลายเป็นโอกาสของเหล่า Startup Thailand ในการคิดค้นและผลิตนวัตกรรมออกมาเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
โดยเน้นไปที่ความมีประสิทธิภาพและความยั่งยืน โดยอาจต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ให้ไปให้รูปแบบที่ใกล้เคียงกันรวมไปถึงคิดหากลยุทธ์ในการรับมือกับสถานการณ์ทั้งแผนการเงินและแผนธุรกิจ เนื่องจากบางครั้งการปรับมุมมองเพียงนิดเดียวก็อาจช่วยให้นักลงทุนหันมาสนใจธุรกิจของคุณได้
อย่างในกรณีของ Airbnb ที่แม้จะได้รับผลกระอย่างสาหัส ต้องคืนเงินให้ผู้ที่เข้ามาจองห้องพัก 100% แต่ก็ไม่ยอมแพ้หาโซลูชันใหม่ด้วยการเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยวออนไลน์ ปรับเปลี่ยนให้ลูกค้าคลิกเข้ามาเลือกซื้อกิจกรรมจากทุกมุมโลกในเว็บไซต์ แล้วสามารถเข้าร่วมได้แม้ตัวของทุกคนยังอยู่ที่บ้าน เช่น นั่งสมาธิกับพระญี่ปุ่นที่โอซาก้า ทำพาสต้าสูตรดั้งเดิม ฉบับคุณยายที่อิตาลี เรียนอบขนมปังที่ซานฟรานซิสโก เป็นต้น
แม้ตอนนี้สถานการณ์จะยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติและไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเมื่อไรพวกเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้ แต่จากบทเรียนของช่วงที่ผ่านมาได้บอกให้เราต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมปรับตัวและรู้จักสังเกตสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รวมไปถึงสร้างโอกาสรอดของธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น
บทความโดย
AIS The StartUp