ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา AIS จัดงาน AIS The StartUp International Networking Night ซึ่งเป็นการ เปิดบ้าน AIS D.C ครั้งแรกเพื่อต้อนรับเหล่า Startup Thailand นักลงทุน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ ที่มีส่วนร่วมสนับสนุน ระบบนิเวศน์ Startup Thailand ของไทย ความสำเร็จของงานนี้ได้รับการกล่าวขวัญท่ามกลางกลุ่มผู้คนในวงการเป็นอย่างมาก แม้จะเป็นงาน ที่จัดขึ้นโดยองค์กรใหญ่แต่รูปแบบของงานทำได้แตกต่าง อบอุ่น และเข้าถึงง่าย มีคนในวงการมาร่วมงานอย่างล้นหลามกว่า 250 ราย และได้รับเกียรติจากผู้บริหารของนักลงทุนระดับโลกอย่าง Edgar Hardless (CEO, Singtel Innov8) และ Dan Siazon (SVP & Treasurer, Globe – Kickstart) มาร่วมงาน
งาน Networking หรืองานสร้าง Connection อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เห็นได้โดยทั่วไปในสังคมของ Startup Thailand แต่โดยส่วน ใหญ่งานลักษณะนี้ถูกจัดขึ้นด้วยสมาคมหรือคอมมูนิตี้ย่อยๆ แต่การที่องค์กรใหญ่จะลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพจัดงานลักษณะนี้ถือว่า หาได้ไม่ง่ายนัก และสำหรับองค์กรใหญ่เองการฉีกแนวการจัดงานรูปแบบเดิมๆ ก็ถือเป็นความท้าทาย เราจึงรวบรวม 10 เคล็ดลับ ความสำเร็จของการจัดงาน AIS The StartUp International Networking Night มาไว้ดังนี้
งานรูปแบบ Networking ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือนำเสนอบริการขององค์กร คุณค่าที่แท้จริงของ งานคือ การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดงานและคนมาร่วมงาน รวมถึงการเชื่อมโยงคนที่มาในงานที่ด้วยกัน สร้างโอกาสให้กลุ่มคน ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้แลกเปลี่ยนแนวคิดหรือสร้างความร่วมมือบางอย่างร่วมกันในอนาคตได้
เป้าหมายที่ชัดเจนช่วยให้ทีมงานรังสรรค์กิจกรรมในงานให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่คาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของงานสร้างความน่าจดจำให้กับคนที่ไปร่วมงาน งาน Networking ที่น่าตื่นเต้นควรมีกิจกรรมบางอย่างที่เป็น เอกลักษณ์ของตนเอง หรือมีผู้ร่วมงานบางท่านที่เป็นบุคคลที่มีโอกาสพบเจอได้ยาก
ชื่อเสียง ธุรกิจ หรือ กิจกรรมหลักขององค์กรเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเข้ามาร่วมงานเช่นกัน ดังนั้น ในงานควรมี เรื่องราวที่ร้อยเรียงให้เกิดความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับองค์กรด้วยเช่นกัน
เนื่องจากงานในลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมงาน คุณภาพของผู้เข้าร่วมงานจึงเป็น ตัวแปรสำคัญในความสำเร็จของงาน ผู้จัดงานต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากในการทำรายชื่อแขก การเรียนเชิญแขก ตลอดจนการ ติดตามการตอบรับของแขก
สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ไม่ดูเป็นทางการ และเชื่อมโยงผู้ฟังและกิจกรรมบนเวทีให้ได้
งาน Networking ส่วนใหญ่จัดขึ้นในช่วงเวลาเย็นหลังเลิกงาน สถานที่ควรอำนวยความสะดวกในการเดินทั้งทาง รถส่วนตัวหรือบริการสาธารณะ
หลังงานเลิก ผู้จัดควรให้ความใส่ใจในการสอบถามความเห็นของผู้เข้าร่วมงาน และทำการวิเคราะห์ว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือได้ผลลัพท์ตามที่คาดหวังหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาในการจัดงานครั้งต่อๆ ไป
แผนงานจะดีแค่ไหนก็เป็นเพียงตัวอักษรที่อยู่ในกระดาษ แต่การสร้างงาน Networking ที่ประสบความสำเร็จออกมานั้น เป็นผลลัพธ์จากการลงมือทำงานของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ มีการวางเป้าหมายไปในทางเดียวกัน แบ่งหน้าที่กันชัดเจน แต่ละคน ก็ดำเนินงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่เมื่อถึงเวลาที่เพื่อนร่วมทีมต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ทุกคนในทีมต่างร่วมแรง ร่วมใจกันเพื่อให้ผลลัพธ์ของงานออกมาให้ดีที่สุด
สุดท้ายทีมงานต้องสนุกไปงานกับงานที่ทำ เมื่อทีมงานทำด้วยความสนุก พลังในตัวทีมงานจะถูกส่งต่อไปยังผู้ร่วมงาน ทำให้ภาพรวมของงานสนุกไปด้วย
AIS The StartUp. มีกิจกรรมเพื่อให้ Startup ได้มาร่วมตลอดทั้งปี หากใครสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ สามารถติดตาม ข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/AISTheStartup/
บทความโดย ดร. ศรีหทัย พราหมณี
Head of AIS The StartUp