‘JUMP THAILAND 2021’ by AIS NEXT ระดมสมองคนไทยผ่าน Online Hackathon ที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรกของไทย ร่วมสร้างนวัตกรรมแก้วิกฤตรอบตัวอย่างยั่งยืน

AIS โดย AIS NEXT หน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของเอไอเอส เดินหน้าโครงการ "JUMP THAILAND 2021" ชวนคนไทยกระโดดเข้าแก้ไขปัญหาและวิกฤตรอบตัวด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างบิ๊กอิมแพคต่อสังคมและโลกอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการเฟ้นหาสุดยอดไอเดียแบบสตาร์ตอัพ พร้อมกิจกรรม Online Hackathon ครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้มีส่วนร่วมระดมไอเดียกู้โลก ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท โดยโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับ AIS NEXT และพาร์ทเนอร์ พร้อมงบประมาณสนับสนุนสูงสุดถึง 100 ล้านบาท

AIS Jump Thailand

ท่ามกลางกระแส Digital Disruption และสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ มากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งปัญหาสภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้สร้างแรงกระตุ้นให้มนุษย์เร่งนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาแก้ปัญหาแทบทุกรูปแบบ

AIS Jumptopia

ปัญหาระดับ Global ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างมาถึงชีวิตของเราทุกคนในวันนี้ และต้องการพลังในการร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน มีทั้ง...

  1. สิ่งแวดล้อม: PM 2.5 / ไมโครพลาสติก / ขยะพลาสติก / มลภาวะ / ภาวะโลกร้อน
  2. สุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข: การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 / โอกาสการเข้าถึงการรักษา / การบริการทางการแพทย์ / ราคาค่ารักษา
  3. การศึกษา: ความเท่าเทียม / รายได้ / คุณภาพบุคลากรผู้สอน / ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
  4. สภาพเศรษฐกิจและสังคม: อัตราการว่างงาน / การจ้างงาน / ค่าครองชีพสูง / แรงงานต่างด้าว / ยาเสพติด
  5. การคมนาคม ขนส่ง: การเข้าถึงการขนส่งสาธารณะ / คุณภาพการบริการ/ ราคา / รถติด
  6. สวัสดิภาพความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต: ไฟส่องสว่างทางเดิน / ยาเสพติด / คอรัปชัน
AIS top 5 Mega trend

เชื่อว่าเราต่างเห็นตรงกันถึงปัญหาเร่งด่วนดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังมีเทรนด์ที่ท้าทายอีกหลายข้อซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางบริบทจากการมาถึงของดิจิทัล (Digital Disruption) ซึ่ง AIS NEXT ได้คัดสรรเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล, องค์กร และประเทศ มาไว้ เพื่อย้ำเตือนให้เห็นถึงความท้าทายและการเตรียมความพร้อมรับมือพร้อมเปลี่ยนความท้าทายมาเป็นโอกาสสำหรับการก้าวกระโดดไปข้างหน้า ประกอบด้วย

  1. Digital Identity Foundation Initiative: ภาพรวมของความเป็นตัวตนของตัวบุคคลในแพลตฟอร์มต่างๆ ความเป็นเจ้าของของตัวตน และความง่ายในการอนุญาติ รวมทั้งการควบคุมความเป็นตัวตนในยุคดิจิทัล ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการไทย
  2. Digital Archive & Intelligence Initiative: การเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์และอุปกรณ์ไอโอที การนำเอาข้อมูลไปเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อการสร้างข้อมูลเชิงลึก รวมถึงรากฐานของการจัดเก็บกระบวนการในกลุ่มเมฆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสากล
  3. Phygital Exchange Market Initiative: การรวมกันของสิ่งของในโลกความเป็นจริงและโลกเสมือน การสร้างและควบคุมตลาดซื้อขายระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์จริง และการสร้างการระบบการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ระหว่างสินทรัพย์ในโลกจริงและโลกเสมือนที่เป็นรากฐานให้กับประเทศไทย
  4. Future Workforce Platform Initiative: ภาพรวมของความสามารถและสกิลของกลุ่มคนในสังคมต่างๆจากภาวะสังคมผู้สูงอายุ การแยกกันทางวิชาความรู้ระหว่างกลุ่มดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Natives) และกลุ่มผู้อพยพทางดิจิทัล (Digital Immigrants) เทรนด์ของการเรียนรู้แบบทีละเล็กละน้อย (Micro-Learning) หลักการเรียน และการอัพเดทความรู้ในยุคดิจิทัล รวมทั้งโครงสร้างของสังคมการทำงานแบบฟรีแลนซ์ของไทย
  5. Digital Police Initiative: การบังคับใช้กฎหมายในโลกดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงการใช้กฎหมายดิจิทัลกับโลกของอุปกรณ์ไอโอทีในยุค 5G ความปลอดภัยและอาชญากรรมไซเบอร์ที่ควรระวัง
AIS JUMP Timeline

จากปัญหาและวิกฤตรอบตัวที่เกิดขึ้น รวมถึงเทรนด์แห่งความท้าทายนี้ หากคนไทยรวมพลังกันระดมไอเดีย นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จะสามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ไม่มากก็น้อย เอไอเอส ในฐานะพลเมืองของโลกเป็นแกนกลางในการเปิดรับฟังมุมมองปัญหาจากทุกคน และชวนคนไทยทั้งชาติ ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นวัตกร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา มาร่วมระดมกำลัง ระดมความคิด สร้างสรรค์โซลูชันในการแก้ไขปัญหาสำคัญ ด้วยกระบวนการแบบสตาร์ตอัพ ที่มุ่งหาโซลูชันในการแก้ Pain point พร้อมจัด Online Hackathon ครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในโครงการ JUMP THAILAND by AIS NEXT เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้

  1. Problem Submission: ส่งโจทย์ปัญหาเพื่อโหวตหัวข้อที่ต้องการเห็นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 ก.พ. 2564 ที่เฟซุบ๊กเพจ: JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth
  2. Team Registration: รับสมัครทีม ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.- 15 มี.ค. 2564 ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth และประกาศรายชื่อทีมที่ได้เข้าแข่งในวันที่ 27 มี.ค. 2564
  3. Online Hackathon: ช่วงการแข่งขัน Hackathon ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
  4. Incubation: ภายหลังจากโครงการจะมีการรับโครงการที่ผ่านเกณฑ์ เพื่อนำมาบ่มเพาะนวัตกรรมกับ AIS NEXT
AIS JUMP hackathon

ทีมที่เข้าร่วม JUMP THAILAND Online Hackathon ครั้งนี้ นอกจากจะมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Blockchain, Cloud, XR, Big Data รวมถึงได้ใช้พื้นที่ AIS PLAYGROUND ในการทดลองทดสอบนวัตกรรมต้นแบบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริง ทีมผู้ชนะมีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดรวมกว่า 1 ล้านบาท นอกจากนี้โครงการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาต่อยอด ขยาย Scale ได้ ก็จะได้โอกาสในการเข้าร่วมการบ่มเพาะนวัตกรรมร่วมกับทีม AIS NEXT เพื่อทดลองทดสอบโซลูชันในตลาดจริง ด้วยงบประมาณสนับสนุนที่มากที่สุดถึง 100 ล้านบาทอีกด้วย


ผู้สนใจโครงการ JUMP THAILAND สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และร่วมส่งหัวข้อปัญหาที่คิดว่าควรเร่งแก้ไขที่สุดได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 14 ก.พ. 2564 ที่เฟซบุ๊กเพจ JumpThailand และเว็บไซต์ jumpthailand.earth