How to ฮีลหัวใจในเช้าวันจันทร์ น็อกเอาต์ภาวะ Monday Blues


“พรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้วหรอ”

“ทำไมวันหยุดผ่านไปไวจัง”

คำถามสุดฮิตที่มนุษย์ออฟฟิศแบบเราพูดถึงบ่อย ๆ ไม่ใช่อาการขี้เกียจแต่เรียกว่าภาวะ


“Monday Blues” ต่างหากล่ะครับ Monday Blues หรือ ภาวะเกลียดวันจันทร์ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่ม มนุษย์ออฟฟิศไม่แพ้ออฟฟิศซินโดรมเลยล่ะครับ ทำให้เมื่อถึงเช้าวันจันทร์ทีไรบางคนอาจขอลางานกะทันหัน เพราะจิตใจยังรับไม่ได้จนร่างกายสั่งให้มีความรู้สึกเหมือนกำลังป่วยอยู่นั่นเอง

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

ที่สำคัญอาการ Monday Blues หรือความรู้สึกเกลียดวันจันทร์ ยังสามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยนะครับ โดยมีผลการวิจัยพบว่า พนักงานออฟฟิศที่ต้องมาทำงานในเช้าวันจันทร์นั้นมีอัตราความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ทำให้เกิด Emotional Shift จากวันหยุดแสนสบาย กลับเปลี่ยนเป็นวันทำงานที่เคร่งเครียด จนสมองของเราปรับตัวไม่ทันนั่นเองล่ะครับ


ซึ่งอาการของภาวะ Monday Blues ก็หลากหลายมาก ๆ ครับ ไม่ว่าจะเป็น

✔️ รู้สึกเบื่อหน่าย

✔️ เครียด วิตกกังวล

✔️ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง

✔️ รู้สึกเศร้ากว่าปกติ

✔️ ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น

✔️ ปวดหัว เหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม

ซึ่งอาการเหล่านี้หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากสะสมไปนาน ๆ โดยไม่มีการฮีลใจ ก็อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิตได้เช่นกันครับ


‘เบื่อวันจันทร์’ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ระวังโดนน็อก!

รู้ไหมครับ...เคยมีงานวิจัยพบว่า พนักงานจะรู้สึกไม่มีความสุขมากที่สุดในเวลา 11:17 น. ของวันจันทร์ และจะแฮปปี้ที่สุดในเวลา 15:47 น. ของวันศุกร์ แล้วถ้าเราปล่อยให้ Monday Blues อยู่กับเรานาน ๆ มันจะน็อกเราได้ยังไงบ้าง มาดูกันเลยครับ

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

ผลกระทบต่อการทำงาน : ก็มีมากมายเลยครับไม่ว่าจะเป็น

- ขาดความกระตือรือร้น จนทำให้งานผิดพลาดได้

- ไม่มีความสุขในการทำงาน อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟได้

- ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

- ขาดความคิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาได้ไม่ดี

ซึ่งทั้งหมดนี้ยังส่งผลกระทบไปต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการเข้าสังคมอีกด้วยครับ


ผลกระทบต่อการเข้าสังคม : ผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากการทำงานและภาวะ เบื่อหน่าย ที่ทำให้เราเข้าสังคมได้ยากขึ้น เช่น

- ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

- จิตใจเปราะบาง อ่อนไหวง่าย เข้าสังคมยาก

- อารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา หงุดหงิดกับคนรอบข้างง่าย


ซึ่งผลกระทบทางจิตใจทั้งหมดนี่แหละครับ ก็ส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียด ที่จะหลั่งออกมาเยอะและนำมาสู่ปัญหาสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการนอนไม่หลับ โรคเครียด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัวบ่อยขึ้น เป็นต้น เรียกว่าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่เราจะมองข้ามเลยจริง ๆ ใช่ไหมล่ะครับ


How To ฮีลหัวใจ เอาชนะวันจันทร์ยังไงไม่ให้โดนสู้กลับ
เรื่องดี ๆ อย่างหนึ่งของ Monday Blues ก็คือเราสามารถฮีลอาการได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องพบแพทย์นั่นเองครับ เพียงแค่ปรับ Mindset และจัดระเบียบการทำงานให้ง่ายขึ้น เช่น

1. จัดระเบียบการทำงาน ทำ To Do List ก่อนถึงเช้าวันจันทร์

เพราะอาการเกลียดวันจันทร์ อาจมาจากภาระงานที่มากจนเกินไป ดังนั้น วิธีที่จะจัดการได้ดีที่สุดคือการทำ To Do List เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของงานได้ง่ายและรู้ว่างานไหนควรทำก่อน - หลังนั่นเองครับ โดยใช้ทริกการจัดลำดับความสำคัญตามรูปข้างล่างได้เลยครับ

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

2. ตกแต่งโต๊ะทำงานให้สะอาด สบายตา


เพราะการจัดโต๊ะให้เป็นระเบียบ ดูสบายตา ช่วยเพิ่มเอเนอจี้ให้เราได้นั่นเองครับ รวมทั้งแสงที่ส่องเข้ามา สีสันบนโต๊ะทำงาน ไอเทมต่าง ๆ ก็ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่ช่วยลดความเครียด และส่งผลที่ดีกับงานของเราได้ครับผม

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

3. แบ่งการทำงานเป็นช่วง ให้สมองได้พักระหว่างวัน

โดยเราอาจนำทริก Pomodoro เพื่อเบรกความเครียด โดยวิธีการก็ง่ายมากเพียงแค่ แบ่งเวลาทำงานเป็นรอบ ๆ รอบละ 25 นาที และพักอีก 5 นาที ก็ช่วยผ่อนคลายความล้า แถมยังเพิ่มสมาธิในการทำงานได้อีกด้วยครับ

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

4. สร้าง Work Life Balance ไม่เอางานกลับไปทำที่บ้าน

นอกจากเราจะให้ความสำคัญกับการทำงาน ก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับช่วงเวลาพักผ่อนด้วยนะครับ เพียงเคลียร์งานที่ต้องทำให้เสร็จตั้งแต่ในช่วง Office Hours เมื่อเลิกงานแล้วก็ควรชัตดาวน์โหมด Working แล้วให้เวลาตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชอบ หรือออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน เพื่อบรรเทาความเครียดระหว่างวันครับผม

Monday ก็มันส์ได้ แค่รับมือให้ถูกทริก

นอกจากนี้ อย่าลืมให้รางวัลตัวเองหลังจบโปรเจกต์ใหญ่ หรือหลังการทำงานหนักด้วยนะครับ ให้กำลังใจตัวเองบ่อย ๆ ไม่งั้นความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาวได้ ที่สำคัญหากเพื่อน ๆ ลองฮีลหัวใจด้วยตัวเองแล้ว แต่ยังมีอาการซึมเศร้าหรือยังมีความเครียดอยู่ ควรพบแพทย์เพื่อค้นหาแนวทางรักษาที่ตรงจุดจะดีที่สุดนะครับ


และจงจำไว้ว่า...แล้วอย่าลืมดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ อย่าให้งานต้องย้อนกลับมาสู้ตัวเราเองได้นะครับ :)